การรักษา เบาจืด

  หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล

มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจปัสสาวะ จะพบว่ามี ความถ่วงจำเพาะต่ำ (<1.010) และอาจต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น การทดสอบที่เรียกว่า “Water deprivation test” ในรายที่สงสัยมีสาเหตุเกี่ยวกับสมองอาจต้อง ตรวจสมอง ด้วยการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษา  ถ้าทราบสาเหตุชัดเจน และแก้ไขได้ ก็ให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ

 ส่วนอาการปัสสาวะมาก ก็ให้ดื่มน้ำทดแทนให้เพียงพอในรายที่เป็นไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องให้ยา

แต่ในรายที่เป็นรุนแรง จำเป็นต้องให้ยาลดปริมาณ และจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะ อาจใช้ยาชนิดกิน เช่น คลอร์โพรพาไมด์  (chlorpropamide) โคลไฟเบรต (clofibrate) ยาขับปัสสาวะไทอาไซด์ (thiazide diuretic) อินโดเมทาซิน เป็นต้น หรือใช้ยาในกลุ่มฮอร์โมนเอดีเอช (เวโซเพรสซิน) ชนิดฉีดเข้ากล้ามหรือพ่นจมูก ซึ่งต้องใช้เป็นประจำทุกวันตลอดไป จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกระจำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

[Total: 0 Average: 0]