วัยหมดประจำเดือน

โรคของหญิงวัยหมดประจำเดือน (กลุ่มอาการสตีวัยหมดระดู ก็เรียก) เป็นภาวะที่พบในช่วงใกล้และหลังวัยหมดประจำเดือน คือใช้ช่วงอายุระหว่าง 40-49 ปี ซึ่งนิยมเรียกว่า วัยทอง

                วัยหมดประจำเดือน (menopause) จะนับตั้งแต่ ระยะเวลา 12 เดือน หลังมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยทั่วไปมักอยู่ในช่วงอายุประมาณ 51-55 ปี (เฉลี่ย 51.3 ปี) บางรายอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 40 ปี ถ้าเกิดขึ้นก่อนอายุ 40 ปี เรียกว่าวัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด (premature menopause)  

สาเหตุ วัยหมดประจำเดือน

                เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของผู้หญิงในวัยนี้ที่รังไข่ค่อย ๆ ลดจนกระทั่งหยุดทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน เอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนอย่างถาวร ทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือน (ระดู) ที่เคยเกิดขึ้นเป็นวงจรในแต่ละเดือน

                เนื่องจากความแปรปรวนของระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน และการลดลงของเอสโทรเจนอย่างมากในช่วงหลังวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจต่าง ๆ ซึ่งค่อย ๆ เป็นมากขึ้น และทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะพร่องเอสโทรเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรยะต่อมาอีกหลายปีจนเข้าสู่วัยสูงอายุ

                ส่วนวัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด อาจมีความ สัมพันธ์กับปัจจัยทางกรรมพันธุ (มีมารดาที่เกิดภาวะ (เดียวกัน) หรือเกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านตนเองก็ได้ และ บางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน

อาการ วัยหมดประจำเดือน

                ระยะใกล้ถึงวัยหมดประจำเดือนซึ่งเรียกว่าวัยใกล้ หมดประจำเดือน (perimenopause) อยู่ในช่วงอายุ ระหว่าง 40-50 ปีผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติซึ่งมีความ รุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป ก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำ เดือนประมาณ 2-8 ปี บางรายอาจไม่มีอาการแสดงให้เห็นเด่นชัด
ก็ได้

                อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เกี่ยวเนื่องกับความแกร่ง ขึ้นลงของระดับฮอร์โมนแอสโทรเจน รวมทั้งภาวะพร่องเอสโทรเจนในที่สุด โดยมักมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเป็นอาการแรกเริ่ม อาจมาก่อนหรือช้ากว่า ปกติ อาจออกน้อยหรือมากไม่แน่นอน บางรายประจำ เดือนอาจหายไปหลายเดือนแล้วกลับมามีประจำเดือนเป็นปกติใหม่ หรืออาจมีประจำเดือนสม่ำเสมอทุกเดือนจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนก็ได้

                ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการร้อนซู่ซ่าตามผิวกาย ซึ่งพบได้ประมาณ 3 ใน 4 คนโดยมีอาการร้อนตามใบหน้า ต้นคอหัวไหล่แผ่นหลังในช่วงสั้นๆ ประมาณ 30 วินาที ถึง 5 นาที (เฉลี่ยประมาณ 2-3 นาที) อาจเป็นทุกชั่วโมง หรือทุก 2-3 วัน และมักจะเป็นในช่วงกลางคืน ในราย ที่เป็นมากอาจทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย หงุดหงิด หรือนอนไม่หลับ อาการร้อนซู่ซ่ามักเป็นอาการชักนำให้ผู้ป่วยมา ปรึกษาแพทย์  มักมีอาการนำมาก่อนจะถึงวัยหมดประจำเดือน 1-2 ปี และจะหายไปหลังจากหมด ประจำเดือน แล้วประมาณ 1-2 ปี มักไม่เกิน 5 ปี แต่บางรายอาจนานเกิน 5 ปีขึ้นไป ความถี่และความรุนแรงของอาการร้อนซู่ซ่าจะแตกต่างกันไปในหญิงแต่ละคน นอกจากนี้ยังขึ้นกับปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการถี่ขึ้นได้ เช่น การกินอาหารเผ็ดการดื่มกาแฟหรือแอลกอฮอล์ อากาศร้อน ความเครียด ปัญหาครอบครัว เป็นต้น

                ผู้ป่วยอาจมีอาการเหงื่อออก โดยเฉพาะตอนกลางคืน และอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และจิตใจ (อาการทางจิตประสาท) เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล ซึมเศร้าจิตใจห่อเหี่ยว ความจำเสื่อม หลงๆ ลืม ๆ ไม่มีสมาธินอนไม่หลับ เป็นต้น

                นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ บ้านหมุน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายใจสั่น ปวดตามข้อ เป็นต้น

                ในระยะต่อมา เมื่อเกิดภาวะพร่องเอสโทรเจน ก็อาจมีอาการเยื่อบุช่องคลอดแห้ง อาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ ผิวหนังแห้ง ริมฝีปากแห้ง ผมแห้ง ผมร่วงเป็นต้น

การป้องกัน วัยหมดประจำเดือน

1.ข้อควรปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย ควรแนะนำ ผู้ป่วยปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะหมดประจำเดือน  

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผ่อนคลายความเครียด ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
  • การฝึกโยคะ มวยจีน ทำสมาธิ เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย
  • ไม่สูบบุหรี่
  • กินถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำเต้าหู เป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ออกร้อนตามผิวกาย เช่น อาหารเผ็ด กาแฟ แอลกอฮอล์  เป็นต้น

                  2.ผู้หญิงที่ผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่ก่อนวัยหมดประจำเดือน จะมีภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโทรเจน ซึ่งเกิดอาการแบบโรคของวัยหมดประจำเดือนได้ แพทย์อาจต้องให้ผู้ป่วยกินแอสโทรเจนทดแทน อย่างต่อเนื่องจนถึงวัยหมดประจำเดือน

                  3.ผู้หญิงในวัยใกล้หมดประจำเดือน (อายุ 40-50 ปี) ถ้าหากมีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริดกะปรอย หรือออกนานกว่าปกติ หรือกลับมีประจำเดือนครั้งใหม่หลังจากหมดไปนานกว่า 6 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ โดยเร็ว อาจเป็นอาการของมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุมดลูกก็ได้ อย่าคิดว่าเป็นเพียง อาการของภาวะใกล้หมดประจำเดือน

                4.ในปัจจุบันพบว่า การใช้ฮอร์โมนเอสโทรเจนร่วม กับโพรเจสเทอโรนติดต่อกันนาน ๆ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วน้ำดี โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง  มะเร็งเต้านม ภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด ดังนั้น แพทย์จะใช้ฮอร์โมนทดแทนในการบำบัดกลุ่มอาการของหญิงวัยหมดประจำเดือนเท่าที่จำเป็นและใช้เป็นเพียงระยะไม่นาน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนเอสโทรเจนในรายที่มีภาวะที่เป็นข้อห้ามใช้

การรักษา วัยหมดประจำเดือน

                1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างใด ควรให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า อาการที่ เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติ และจะค่อย ๆ หายไปได้เอง

                2. ถ้ามีอาการไม่สุขสบายมาก ให้ยารักษาตามอาการถ้าปวดศีรษะหรือปวดข้อ ให้ยาแก้ปวดถ้ามีความรู้สึกวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า  นอนไม่หลับให้ยาทางจิตประสาท  เป็นต้น

                3. ถ้ามีอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมาก (เช่น ออกร้อนซู่ซ่ามากเจ็บปวดเวลาร่วมเพศปัสสาวะเล็ดเป็นต้น)ไม่เคยตรวจสุขภาพมาก่อน หรือสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุอื่น (เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดมาก สงสัยว่าอาจเกิดจากมะเร็งปากมดลูกหรือโพรงมดลูก) ควรส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

                แพทย์จะวินิจฉัยโรคของหญิงวัยหมดประจำเดือนโดยการตรวจเลือดพบว่าระดับฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ (follicle timulating hormone/FSH) และฮอร์โมน แอลเอช (luteinizing ormone/LH) สูง และระดับเอสโทรเจน (ที่มีชื่อว่า estradiol) ต่ำนอกจากนี้อาจ ต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด (อาจพบไขมันในเลือดผิดปกติ) ตรวจ กรอง มะเร็งเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammography) มะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจแพ็ปสเมียร์ ตรวจ ชิ้นเนื้อเยื่อบุมดลูกในรายที่มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ ตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นต้น

การรักษา ในรายที่มีอาการมาก แพทย์จะให้กิน ฮอร์โมนเอสโทรเจนจนทดแทน (hormone replacement therapy/HRT) เพื่อลดอาการไม่สบายต่าง ๆ เช่น อาการร้อนซูซ่า ปัสสาวะเล็ด ภาวะเยื่อบุช่องคลอดและผิวหนัง บางและแห้ง อาการทางจิตประสาท เป็นต้น โดยอาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  • ให้เอสโทรเจน ร่วมกับโพรเจสเทอโรน ทุกวันอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการเว้น เหมาะสำหรับในราย ที่หมดประจำเดือนนานแล้ว หรือไม่อยากมีประจำเดือน อีกนิยมใช้ยาเม็ดที่มีฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดในเม็ดเดียวกัน ในช่วง 2-3 เดือนแรก อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย และในที่สุดจะหยุดออกไปเอง
  • ให้เอสโทรเจน ในวันที่ 1 ถึง 25 และโพรเจสเทอโรน ในวันที่ 16 ถึง 25 ของรอบเดือน วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกแบบประจำเดือนทุกเดือน เหมาะ สำหรับในรายที่ยังไม่ถึงวัยหมดประจำเดือน หรือเพิ่ง หมดประจำเดือนไม่เกิน 2 ปี 

                แพทย์จะเลือกใช้ขนาดยาที่ต่ำที่สุดที่ทำให้มีประ สิทธิผลในการรักษา นัดผู้ป่วยติดตามผลเป็นระยะ และ ปรับเปลี่ยนชนิดและขนาดของยาเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียง ระยะเวลาที่ให้ยาฮอร์โมนทดแทนขึ้นกับข้อบ่งชี้ที่ให้และการตอบสนองต่อการรักษาโดยทั่วไปถ้าให้เพื่อ ลดอาการร้อนซู่ซ่า อาการทางจิตประสาท หรือปวดข้อ และกล้ามเนื้อ อาจให้นานประมาณ 1-2 ปีไม่เกิน 2 ปี

                ในกรณีที่ไม่ให้ฮอร์โมนทดแทน แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการที่พบ เช่นในรายที่มีช่องคลอดอักเสบ จากเยื่อบุช่องคลอดบางและแห้ง ให้ใช้ครีมเอสโทรเจน (เช่น Premarin vaginal cream) ทาช่องคลอดทุกคืน หรือทาทุกคืนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ แล้วเว้น 1 สัปดาห์ สลับไปเรื่อย ๆ ในรายที่มีอาการเจ็บปวดเวลาร่วมเพศ  ก่อนร่วมเพศให้ใช้เจลลีหล่อลื่น เช่น เจลลีเค-วาย (K-Y jelly) ใส่ในช่องคลอด ในรายที่มีอาการร้อนซู่ซ่า  แพทย์อาจในยาฟลูออกซีทีน (fluoxetine) กาบาเพนทิน (gabapentin) หรือโคลนิดีน (clonidine) เป็นต้น

                นอกจากนี้ให้การรักษาภาวะอื่น ๆ ตามที่ตรวจพบ เช่นไขมันในเลือดผิดปกติ กระดูกพรุน  ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะ น้ำหนักเกิน เป็นต้น

[Total: 0 Average: 0]