โรคความดัน

ความดันโลหิต

คือ ค่าแรงดันเลือดที่วัดได้ ณ หลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งตำแหน่งที่ใช้วัดกันเป็นมาตรฐาน จะเป็นที่ต้นแขน สูงกว่าข้อพับบริเวณข้อศอกเล็กน้อย 
ความดันโลหิตจะสูงหรือต่ำ มีปัจจัยที่สำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ การบีบตัวของหัวใจ สภาพของหลอดเลือด และปริมาณของเลือด 

ค่าความดันโลหิตแบ่งออกเป็น 2 ค่า คือ

  1. ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือค่าความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว
  2. ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Blood Pressure) คือค่าความดันของเลือดที่ขณะที่หัวใจคลายตัว

โดยในประเทศไทยกำหนดค่าความดันโลหิตปกติคือค่าความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 140 และตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท โดยค่าความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

  • ระดับที่ 1 ตัวบนเกิน 140 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 90 มม.ปรอท
  • ระดับที่ 2 ตัวบนเกิน 160 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 100 มม.ปรอท
  • ระดับที่ 3 ตัวบนเกิน 180 มม.ปรอท หรือตัวล่างเกิน 110 มม.ปรอท

ทั้งนี้ การวัดค่าความดันโลหิตเพียงครั้งเดียวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องวัดซ้ำ 2 – 3 ครั้ง และตรวจติดตามเป็นระยะเพราะค่าความดันโลหิตเป็นตัวเลขที่มีปัจจัยหลายอย่างมากระทบได้ง่าย เช่น ความเหนื่อย ความเครียดหรือกังวล เป็นต้น

โรคความดัน มี 2 ประเภท

[Total: 0 Average: 0]