การรักษา ไข้เลือดออก

1. ถ้าอาการไม่รุนแรง (มีอาการในขั้นที่ 1) คือเพียงแต่มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร โดยยังไม่มี อาการเลือดออกหรือมีภาวะช็อก ควรให้การรักษาตามอาการ ดังนี้

  • ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมาก ๆ
  • หากมีไข้สูง ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และให้ยาลดไข้-พาราเซตามอล คำนวณขนาดตาม น้ำหนักตัวหรือตามอายุ ให้ได้ไม่เกิน 4 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง ห้ามให้แอสไพรินเพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น หรืออาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรมได้อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ให้ยาลดไข้ บางครั้งไข้ ก็อาจจะไม่ลดก็ให้ได้ ระวังอย่าให้พาราเชตามอลถี่กว่า กำหนดอาจมีพิษต่อตับได้  
  • ให้อาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม  น้ำหวาน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ จนปัสสาวะออกมากและใสอาจเป็นน้ำเปล่า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม (ควรเขย่าฟองออกก่อน)หรือละลาย น้ำตาล เกลือแร่
  • ควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อาจต้อง นัดผู้ป่วยมาตรวจดูอาการทุกวัน ควรจับชีพจร วัดความดัน และตรวจดูอาการเลือดออก รวมทั้งการทดสอบ ทูร์นิเคต์ ถ้าวันแรกๆ ให้ผลลบ ก็ต้องทำซ้ำในวันต่อๆ มา

เมื่อพ้น 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็มักจะทุเลา และฟื้นตัวได้ หากมีเลือดออกหรือสงสัยเริ่มมีภาวะช็อก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน

2. ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมากหรือมีภาวะขาดน้ำ ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ควรให้น้ำเกลือชนิด 5% D/1/2 NSS หรือ5% D/Ringer acetate ประมาณ 6-10 มล./กก./ ชั่วโมง ไประหว่างทางด้วย ผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์จะทำการเจาะเลือดตรวจวัดระดับฮีมาโทคริต นับจำนวนเม็ดเลือดขาวและจำนวนเกล็ดเลือด (พบว่าต่ำกว่าปกติทั้งคู่) เพื่อประเมินความรุนแรง เป็นระยะๆ พร้อมทั้งในน้ำเกลือเป็นระยะเวลา 24-48  ชั่วโมง (ปริมาณน้ำเกลือคำนวณตามน้ำหนักตัว และปรับลดปริมาณและความเร็ว ตามระดับฮีมาโทคริตที่ตรวจพบโดยทั่วไป ปริมาณน้ำเกลือที่ควรได้รับใน 24 ชั่วโมง สำหรับน้ำหนักตัว 10, 15, 20, 25, 30, 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 กก.ประมาณ 1,500, 2,000, ,500, 2,800,3,200, 3,500, 3,800, 4,000, 4,200, 4,400, และ 4,600มล ตามลำดับ) 

3. ถ้าผู้ป่วยมีภาวะช็อกหรือเลือดออก (ขั้นที่ 3 และ 4) ควรส่งโรงพยาบาลด่วนโดยให้ 5% D/NSS หรือ 5% D/Ringer ประมาณ 10-20 มล./กก./ชั่วโมง ไประหว่างทางด้วย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดตรวจฮีมาโทคริต เพื่อดูความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ ถ้าเลือดข้นมากไป เช่น ฮีมาโทคริตมีค่ามากกว่า 50% ขึ้นไปก็แสดงว่าปริมาตรของเลือดลดน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุ ของภาวะช็อกได้ ควรให้น้ำเกลือจนกว่าความเข้มข้นของเลือดกลับลงเป็นปกติ (ฮีมาโทคริตประมาณ 40-45%)

นอกจากนี้ อาจต้องตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด เริ่มต่ำประมาณวันที่ 3-4 ของไข้ โรคยิ่งรุนแรงเกล็ด เลือดจะยิ่งต่ำ) ตรวจอิเล็กโทรไลต์ในเลือด ตรวจการทำงานของตับ มักพบ AST และ ALT สูง ตรวจภาวะการแข็งตัวของเลือด (congulation study) ตรวจปัสสาวะเอกซเรย์ปอด เป็นต้น

ในรายที่ยังวินิจฉัยไม่ได้แน่ชัด อาจต้องทำ การทดสอบทางน้ำเหลือง เพื่อดูสารภูมิต้านทานต่อเชื้อไข้เลือดออกโดยวิธี (สามารถทราบผลจากการตรวจเพียงครั้งเดียว) หรือวิธี  hemagglutination inhibition (HI ซึ่งต้องตรวจ 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์) โรงพยาบาลบางแห่งอาจทำการตรวจหาเชื้อในเลือดหรือปัสสาวะโดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง

การรักษา ให้น้ำเกลือรักษาภาวะช็อก ถ้าจำเป็น อาจให้พลาสมาหรือสารแทนพลาสมา (เช่น แอลบูมิน หรือเดกซ์แทรน) และให้เลือดถ้ามีเลือดออก

[Total: 0 Average: 0]