ฝีในปอด

ฝีในปอด คือ การที่ปอดมีการอักเสบติดเชื้ออย่างรุนแรงแล้วมีการทำลายเนื้อปอดจนเกิดเป็นโพรงหนอง

สาเหตุ ฝีในปอด

  1. ทางหลอดลม เช่น การสำลักน้ำลายหรือเศษอาหาร สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
  2. ทางกระแสเลือด เช่น การติดเชื้ออย่างรุนแรงแล้วมีเชื้อเข้ามาในกระแสเลือด
  3. ปอดอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย
  4. ฝีที่เกิดแถวใต้กระบังลม เช่น ฝีในตับจะติดเชื้อลุกลามเข้าสู่ปอด

อาการ ฝีในปอด

ก่อนจะเกิดฝีในปอดผู้ป่วยจะมีอาการแบบปอดบวมทั่วไปเป็นเวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ เมื่อมีฝีในปอดเกิดขึ้น ผู้ป่วยจะไอมีเสมหะเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น และบ่อยครั้งที่เสมหะมีเลือดปน ผู้ป่วยจะมีไข้เกือบตลอดเวลา อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ หลอดลมพอง ฝีแตกเข้าช่องเยื่อหุ้มปอด และเชื้อกระจายเข้ากระแสโลหิตแล้วไปทำให้เกิดเป็นฝีที่อวัยวะอื่น ๆ อีก

การรักษา ฝีในปอด

การรักษาฝีในปอดประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะร่วมไปกับการระบายหนองออกจากปอด ซึ่งโดยมากจะใช้วิธีเคาะปอด ให้ยาขับเสมหะ และยาขยายหลอดลมก่อนการผ่าตัด ฝีในปอดที่แตกทะลุเข้าช่องเยื่อหุ้มปอดแล้วต้องทำการดูดออกหรือใส่สายระบายลงขวด

  1. ฝึกการหายใจ โดยเน้นปอดบริเวณที่มีหนองให้มาก เพื่อเป็นการเพิ่มการขยายตัวของปอดส่วนนั้นได้อย่างเต็มที่
  2. ทำ chest trunk mobilize คือ การหายใจเข้าออกพร้อมการขยับรยางค์บนอย่างเร็วๆ เพราหนองมีลักษณะเหนียวข้นกว่าเสมหะ การทำเร็วๆช่วยระบายหนองทางสายยางได้ดีขึ้น และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของทรวงอก เพราโรคนี้มักเรื้อรังจนทำให้เกิดพังผืดยึดรั้ง ทำให้การขยายตัวของทรวงอกลดลง
  3. Postural drainage คือการจัดท่าให้หนองไหลเข้าสู่ขวดระบายให้ได้มากที่สุด
  4. Percussion / vibration คือการเคาะปอดหรือการสั่นปอด เพื่อเป็นการเร่งระบายหนองออกทั้งนี้ สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดโดยใช้หลายวิธีร่วมด้วย เช่น เคาะปอดในท่าที่ต้องระบาย เมื่อเคาะเสร็จให้ผู้ป่วยทำ chest trunk mobilize เพื่อเป็นการรักษาทางกายภาพบำบัดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
[Total: 5 Average: 5]