การรักษา หัด

  1. ให้ดูแลปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ พักผ่อนหรือห้ามอายน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้ขึ้นสูง ดื่มน้ำ  และน้ำหวานหรือน้ำผลไม้มาก ๆ
    ไม่ต้องงดของแสลง แต่ควรให้กินอาหารประเภทโปรตีน  (เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่ว ต่าง ๆ) มาก ๆ
  2. ให้การรักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ให้พาราเซตามอล ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรม ถ้าไอให้จิบน้ำผึ้งผสมมะนาวหรือยาแก้ไอ เป็นต้น
  3. ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะตั้งแต่ระยะแรกเป็นเพราะนอกจากไม่มีความจำเป็นเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสแล้วยังอาจทำให้เกิดโรคบอดบวมอักเสบชนิดร้ายแรงแทรกซ้อน (จากเชื้อสแตฟีโลค็อกคัส เข้าไปซ้ำเติม) ซึ่งยากแก่การรักษาได้
  4. ถ้ามีอาการท้องเดิน ให้การรักษาแบบท้องเดิน
  5. ถ้ามีอาการไอมีเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว หรือ ใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรม (crepitation) หรือเสียงอึ๊ด (rhonchi) ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลินวี อะม็อกซีซิลลิน หรือ อีริโทรไมซิน 
  6. ถ้ามีอาหารหอบมาก หรือนับการหายใจเร็วกว่าปกติ (สงสัยเป็นโรคปอดอักเสบอย่างรุนแรง) หรือท้องเดินจนมีอาการขาดขาดน้ำรุนแรง หรือซึม ชัก (สงสัยเป็นสมองอักเสบ) ควรส่งโรงพยาบาลด่วน อาจมีอันตรายถึงตายได้
  7. ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยโรคหัดให้แน่ชัดแพทย์จะทำการทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสหัดหรือตรวจหาเชื้อหัดจากจมูกเยื่อบุตา ปัสสาวะ หรือเลือดของผู้ป่วย
[Total: 0 Average: 0]