การรักษาไซนัสอักเสบ

โรค | สาเหตุ | อาการ | การรักษา

1. ให้การรักษาตามอาการ เช่น ถ้าปวดหรือมีไข้ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ถ้าคัดจมูกมากให้ยาแก้คัดจมูก อาจช่วยลดการบวมของเนื้อเยื่อที่อักเสบ และช่วยระบายหนองออกจากไซนัส

 ส่วนยาแก้แพ้ ไม่ควรให้ อาจทำให้เมือกในโพรงไซนัสเหนียง  ระบายออกได้ไม่ดี ยกเว้นในรายที่มีอาการของภูมิแพ้มาก เช่น จาม น้ำมูกมาก อาจให้เพียง 2-3 วันเพื่อบรรเทาอาการ

ควรแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ สูดดมไอน้ำอุ่น และล้างจมูกด้วยน้ำเกลือนอร์มัลบ่อย ๆ เพื่อช่วยระบายหนอง

 2. ในรายที่เกิดจากแบคทีเรีย (น้ำมูกหรือเสมหะเป็นหนอง ปวดใบหน้า หายใจมีกลิ่นเหม็น หรือความรู้สึกในการรับรู้กลิ่นลดลง) ควรให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน อีริโทรไมซิน ร็อกซิโทรไมซิน หรือโรไตรม็อกซาโซล ถ้าตอบสนองต่อยอาการจะทุเลาหลังกินยา 48–72 ชั่วโมงในรายที่เป็นเฉียบพลัน ควรให้กินติดต่อกันนาน 10 – 14 วัน ในรายที่เป็นเรื้อรังควรให้นานอย่างน้อย 3 – 4 สัปดาห์ บางรายอาจนานถึง 12 สัปดาห์

 ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังให้ยาปฏิชีวนะ 72 ชั่วโมง กำเริบบ่อยเป็นเรื้อรัง มีภาวะแทรกซ้อน หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ(เช่น เอดส์)ควรส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจต้องเอกซเรย์ไซนัส ตรวจอัลตราซาวนด์ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ใช้กล้องส่งตรวจ (endoscopy) ทำการเจาะไซนัส (antral puncture) นำหนองไปตรวจหาชนิดของเชื้อ เป็นต้น

การรักษา  ถ้าพบว่ามีปัญหาเชื้อดื้อต่อยาปฏิชีวนะพื้นฐานดังกล่าว (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่มีการใช้ยาชนิดเดิมซ้ำหลายครั้ง) ก็จะเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ เช่น โคอะม็อกซิคลาฟ  ดอกซีไซคลีน ไซโพรฟล็อกซาซิน  อะซิโทรไมซิน (azithromycin) เซฟูร็อกไซม์ (cefuroxime) เป็นต้น

 ถ้ามีอาการรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์อาจทำการเจาะล้างโพรงไซนัส (antral irrigation)

 ในรายที่เป็นเรื้อรัง จำเป็นต้องตรวจหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุ และให้การรักษา เช่น โรคหวัดภูมิแพ้ โรคกรดไหลย้อน ติ่งเนื้อเมือกจมูก ผนังกั้นจมูกคด โรคทางทันตกรรม ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เช่น เบาหวาน เอดส์) เป็นต้น

 แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยการผ่าตัดในรายที่ไม่ตอบสนอง ต่อยา หรือตรวจพบว่าเกิดจากเชื้อรา (ซึ่งอาจมีอันตรายร้ายแรงในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหรือเอดส์ เช่น การติดเชื้อรุนแรง ในสมองหรือลูกตา เป็นต้น ส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง เชื้อรามักทำให้มีอาการไซนัสอักแสบเรื้อรัง) หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาหรือสมอง การผ่าตัดมีหลายวิธีรวมทั้งการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องเข้าไปในโพรงไซนัส (endoscopic sinus surgery)

ผลการรักษา ในรายที่เป็นเฉียบพลัน หากได้รับการรักษาอย่างถูก้อตงตั้งแต่แรก มักจะได้ผลดี ส่วนในรายที่เป็นเรื้อรัง ผลการรักษาขึ้นกับการได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกและการแก้ไขสาเหตุที่พบในรายที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด มักจะได้ผลดีในการบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

[Total: 0 Average: 0]