เนื้องอกไขมัน (Fatty Tumor)

เนื้องอกไขมัน (Fatty Tumor) คือเนื้อเยื่อไขมันเจริญเติบโตขึ้นบริเวณใต้ผิวหนังอย่างช้าๆ สามารถพบเห็นในทุกเพศทุกวัย แต่พบได้น้อยในเด็ก เนื้องอกไขมันสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆส่วนของร่างกาย แต่โดยมากมักจะพบเห็นได้ที่บริเวณเช่น เป็นก้อนไขมัน โดยก้อนไขมันเหล่านี้จะปรากฏบริเวณที่พบได้มากคือ:

  • คอ
  • หัวไหล่
  • ปลายแขน
  • แขน
  • ต้นขา

เนื้องอกไขมันสามารถจำแนกแยกแยะเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงหรือเนื้องอก ตุ่มก้อนไขมัน นั่นหมายความว่าเนื้องอกไขมันจึงไม่ใช่เนื้อร้ายและไม่ค่อยเป็นอันตราย บางครั้งอาจจะเป็นก้อนเนื้อแข็งใต้ผิวหนังเท่านั้น

การดูแลรักษาเนื้องอกไขมันไม่มีความจำเป็นนอกเสียจากว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะรบกวนผู้ป่วย

สาเหตุ เนื้องอกไขมัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดเนื้องอกไขมันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีแนวโน้มว่าอาจเกิดขึ้นจากทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของการเกิดเนื้องอกไขมันหลายแบบ ความเสี่ยงที่จะเกิดก้อนที่ผิวหนังจะมีเพิ่มมากขึ้นหากพบว่ามีคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมาก่อน

ภาวะที่เกิดขึ้นมักปรากฎให้เห็นในผู้ใหญ่วัยระหว่าง 40 ถึง 60ปี

การเกิดเนื้องอกไขมันอาจจะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากผู้ป่วยมีโรคดังต่อไปนี้:

  • โรคอะดิโปซิส โดโลโรซา เป็นความผิดปกติที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดเนื้องอกไขมันที่มีอาการเจ็บปวด
  • กลุ่มอาการคาวเดน
  • กลุ่มอาการการ์ดเนอร์
  • โรคมาเดอลัง
  • โรค Bannayan-Riley-Ruvalcaba syndrome

อาการ เนื้องอกไขมัน

เนื้องอกผิวหนังมีมากมายหลายชนิด แต่เนื้องอกไขมันที่พบมักมีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน โดยสังเกตลักษณะของเนื้องอกไขมันได้จากสิ่งต่อไปนี้:

  • เวลาสัมผัสจะนุ่มนิ่ม หยุ่น
  • สามารถเคลื่อนไหวได้ตามแรงกด
  • อยู่ใต้ชั้นผิวหนัง
  • ไม่มีสี
  • เติบโตอย่างช้าๆ

เนื้องอกไขมันโดยมากมักพบเห็นได้บริเวณคอ ท่อนแขนส่วนบน ต้นขา ปลายแขนแต่ก็อาจเกิดขึ้นในส่วนอื่นได้บ้างเหมือนกันเช่นที่หน้าท้องและแผ่นหลัง

เนื้องอกไขมันอาจรู้สึกเจ็บได้ก็ต่อเมื่อมีการกดเจ็บที่เส้นประสาทใต้ผิวหนัง หรืออย่างที่รู้จักกันว่าเนื้องอกไขมันชนิดมีเส้นเลือด Angiolipoma ที่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือกดเจ็บได้มากกว่าเนื้องอกไขมันทั่วไป

ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังของผู้ป่วยเอง เพราะเนื้องอกไขมันเองก็ทีส่วนคล้ายคลึงกับมะเร็งที่หาได้ยากชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไลโปซาร์โคม่า(มะเร็งของเนื้อเยื่อไขมัน)

การรักษาเนื้องอกไขมัน

ตามปกติแล้วเนื้องอกไขมันสามารถทิ้งไว้ได้โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาใดๆ แต่หากว่าเนื้องอกไขมันสร้างความรำคาญใจให้ผู้ป่วยแพทย์ก็จะทำการรักษา โดยดูจากปัจจัยที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้:

  • ขนาดของเนื้องอกไขมัน
  • จำนวนของเนื้องอกที่มี
  • ประวัติมะเร็งผิวหนังของผู้ป่วย
  • ประวัติคร่อบครัวว่าเคยเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • อาการเจ็บปวดของเนื้องอกไขมัน

การผ่าตัด

การรักษาทั่วไปในการรักษาเนื้องอกไขมันคือการผ่าตัดก้อนไขมันออกไป จะช่วยได้ในกรณีที่พบว่าเนื้องอกมีขนาดใหญ่และมีท่าว่าจะโตขยายต่อไปอีก

เนื้องอกไขมันบางครั้งอาจกลับมาเป็นได้อีกครั้งแม้จะหลังจากผ่าตัดเอาออกไปแล้วก็ตาม การผ่าตัดโดยทั่วไปมักทำผ่านการดมยาสลบที่เรียกว่าการเลาะต่อม

การดูดไขมัน

การดูดไขมันเป็นทางเลือกในการรักษาอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเนื้องอกไขมันก็มีพื้นฐานมาจากไขมันมาก่อน การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้ได้ผลดีในเรื่องของการลดขนาด การดูดไขมันนี้แพทย์จะใช้เข็มฉีดยาเจาะลงไปที่บริเวณตุ่มไขมันจากนั้นจึงค่อยๆดูดไขมันออกไป

การฉีดสารสเตียรอยด์

การฉีดสเตียรอยด์เป็นการรักษาที่ตรงจุดในบริเวณที่เป็น ช่วยทำให้เนื้องอกเล็กลงได้ดีแต่ยังไม่ใช้เป็นการนำส่วนที่เป็นออกทั้งหมด

[Total: 0 Average: 0]