ขนดก (Hirsutism)

ภาวะขนดก (Hirsutism) คือ โรคที่ผู้หญิงมีขนขึ้นตามร่างกายมากเกินไป มีลักษณะคล้ายเพศชาย มักพบว่า มีขนขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง

ภาวะขนดก คือการมีขนขึ้นมากเกินจากการที่ร่างกายมีฮอร์โมนเพศชาย (ฮอร์โมนแอนโดรเจน)มากเกินไป รวมถึงฮอร์โมนเทสทอสเทอโรนด้วย

สาเหตุภาวะขนดก

ภาวะขนดกอาจมีสาเหตุมาจาก:

  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) คือ โรคที่มักเกิดขึ้นในวัยผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ สาเหตุเกิดมาจากภาวะฮอร์โมนเพศไม่สมดุล เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ภาวะ PCOS อาจจะค่อยๆแสดงอาการด้วยการมีขนขึ้นมากเกินไป รอบเดือนผิดปกติ โรคอ้วน ภาวะมีบุตรยาก และบางครั้งอาจเกิดถุงน้ำเพิ่มทวีมากขึ้นที่รังไข่
  • กลุ่มอาการคุชชิง เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง อาจเป็นเพราะต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป หรืออาจมาจากการใช้ยาบางชนิด เช่น เพรดนิโซโลนมาเป็นระยะเวลานาน
  • โรค Congenital adrenal hyperplasia เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการผลิตสเตรอยด์ฮอร์โมน ที่รวมไปถึงคอร์ติซอล และแอนโดรเจนที่ผลิตจากต่อมหมวกไตของเราเอง
  • เนื้องอก พบเห็นได้ไม่บ่อยมากนัก เกิดมาจากเนื้องอกที่หลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจนในรังไข่ หรือการทำงานของต่อมหมวกไตก็เป็นสาเหตุของภาวะขนดกได้เช่นกัน
  • การใช้ยาบางชนิด การได้รับยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะขนดกได้ เช่น ไมนอกซิดิล (ไมนอกซิดิน ,โรเกน) ดานาซอล เป็นยาไว้รักษาผู้หญิงที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ยาเทสโทสเตอโรน (Androgel, Testim) และ Dehydroepiandrosterone (DHEA)เป็นฮอร์โมนต้านความชรา หากคู่ของคุณใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอนโดรเจน คุณอาจได้รับผลกระทบจากสิ่งนี้ด้วยโดยผ่านการสัมผัส

หลายครั้งพบว่าภาวะขนดกอาจเกิดขึ้นโดยไม่สามารถหาสาเหตุได้.

อาการของภาวะขนดก

ภาวะขนดก คือ การที่มีขนแข็งๆ และมีขนสีดำงอกขึ้น และปรากฎตามร่างกายในส่วนที่ผู้หญิงปกติไม่ควรมี เช่น บนใบหน้า หน้าอก หน้าท้องช่วงล่าง ต้นขาด้านใน และแผ่นหลัง

เมื่อระดับของแอนโดรเจนสูงขึ้นจึงเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะขนดกขึ้น ส่วนสัญญาณบ่งชี้อย่างอื่นอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะแสดงออกมาให้เห็น กระบวนการนี้เราเรียกว่า virilization สัญญาณ ของกระบวน virilization คือ:

  • เสียงห้าว
  • หัวล้าน
  • เป็นสิว
  • เต้านมมีขนาดลดลง
  • มีกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น
  • คลิตอริสมีขนาดใหญ่ขึ้น

การรักษาภาวะขนดก

การรักษาโรคขนดกที่ไม่มีอาการของโรคต่อมไร้ท่ออาจไม่มีความจำเป็นต้องรักษา สำหรับผู้หญิงที่มีความต้องการ หรือมองหาวิธีการรักษา อาจรักษาตามอาการ รักษาด้วยการดูแลตนเองเป็นประจำกับขนที่ไม่พึงประสงค์ และอาจลองใช้วิธีบำบัดที่มีหลายรูปแบบ และการรับประทานยา

การรับประทานยา

หากเครื่องสำอาง หรือการกำจัดขนด้วยตนเองไม่ได้ผล ลองปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาในการรักษาโรคขนดก การรักษาโรคมักจะใช้เวลานานประมาณ 6 เดือน เป็นค่าเฉลี่ยของวงจรรูขุมขน เช่น

  • การใช้ยาคุมกำเนิด การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเกสตินสำหรับการรักษาโรคขนดกที่มีสาเหตุมาจากการผลิตแอนโดรเจน การใช้ยาคุมกำเนิดเป็นการรักษาทั่วไปของโรคขนดกในผู้หญิงที่ไม่ต้องการตั้งครรถ์ ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ คือ อาการคลื่นไส้ และปวดศีรษะ
  • ยาต้านแอนโดรเจน เป็นยาที่จะไปยับยั้งแอนโดรเจนจับกับตัวรับในร่างกาย ยาดังกล่าวจะถูกนำมาใช้กับผู้ป่วยที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมากกว่า 6 เดือน แต่ยังมีผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจ
    ยาต้านแอนโดรเจนที่ถูกนำมาใช้ทั่วไปในการรักษาโรคขนดก คือ ยาสไปโรโนแลคโตน (Aldactone, CaroSpir) เป็นยาที่ใช้ได้ผลพอประมาณและเห็นผลการรักษาหลังจากใช้ยาอย่างน้อย 6 เดือน ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้รอบเดือนมีปัญหา เพราะตัวยาจะเป็นสาเหตุทำให้การตั้งครรถ์ผิดปกติ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากหากสตรีที่ใช้ยานี้ควรมีการคุมกำเนิดอย่างเคร่งครัด
  • ยาทาเฉพาะที่ ครีม Eflornithine (วานิก้า) คือ ยาทาเฉพาะที่สำหรับรักษาภาวะขนดกในสตรี โดยทาลงบริเวณใบหน้าที่มีอาการอย่างน้อยวันละสองครั้ง เป็นยาที่ช่วยชะลอการเกิดขนขึ้นมาใหม่ แต่จะไม่สามารถกำจัดขนที่ขึ้นมาก่อนได้ หรืออาจใช้ยาร่วมกับการรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
[Total: 0 Average: 0]