แพ้อาหารทะเล (Seafood Allergies)

อาการแพ้อาหารที่สำคัญส่วนใหญ่จะเริ่มในวัยเด็ก แต่การแพ้อย่างหนึ่งก็แตกต่างกัน การแพ้หอยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ และสามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าก่อนหน้านี้อาหารเหล่านั้นจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้มาก่อน

อาหารทะเลชนิดใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อมีอาการแพ้

อาหารทะเลเปลือกแข็งมี 2 ชนิด คือ กุ้งและหอย นี่คือตัวอย่างบางส่วนที่ควรระวังหากมีอาการแพ้

  • กุ้ง
  • ปู
  • กุ้งขาว
  • กั้ง
  • กุ้งลอบสเตอร์

พวกหอยต่างๆ ได้แก่

  • หอยกาบ
  • หอยแมลงภู่
  • หอยนางรม
  • ปลาหมึก
  • ปลาหมึก
  • ปลาหมึกยักษ์
  • หอยทาก
  • หอยเชลล์

มีความเป็นไปได้ที่จะแพ้หอยในบางสายพันธุ์ แต่ทางการแพทย์มักจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการรับประทานหอยทุกๆ สายพันธุ์

อาการแพ้หอยนั้นแตกต่างจากอาการแพ้อื่น ๆ เช่น อาการแพ้หอยนั้นไม่สามารถคาดเดาได้บางครั้งอาจเกิดขึ้นทันทีหลังรับประทานหรือสัมผัส และในบางครั้งก็เกิดหลังจากรับประทานไปแล้วเป็นเวลานาน

สาเหตุ แพ้อาหารทะเล

การแพ้อาหารทะเลเป็นกลไกการทำงานของร่างกาย เมื่อผู้ที่แพ้ทานอาหารทะเลเข้าไป จะมีการสร้างภูมิต้านทาน (Antibody) ที่ชื่อว่า Immunoglobulin E (IgE) ขึ้นมา เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมองว่าโปรตีนเหล่านี้เป็นอันตราย หรือที่เรียกว่าสารก่อภูมิแพ้ (Allergen)

ครั้งต่อไปเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้อีก หรือมีการกินอาหารทะเลที่แพ้เข้าไป ระบบภูมิคุ้มกันก็จะหลั่งฮีสตามีนและสารเคมีต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายแสดงอาการแพ้ออกมา ซึ่งการที่ร่างกายจะสร้าง Antibody ที่ชื่อว่า IgE ขึ้นมาได้นั้น ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยต่อไปนี้

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
  2. ปัจจัยทางสุขภาพในขณะที่รับประทานอาหารชนิดดังกล่าว
  3. ปัจจัยด้านเวลา เช่น ทานอาหารหลังจากเพิ่งออกกำลังกายเสร็จ อาจจะทำให้มีการหลังสารฮีสตามีนออกมาโดยไม่รู้ตัว

อาการ แพ้อาหารทะเล

การแพ้อาหารทะเลเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนที่พบในกล้ามเนื้อหอยหรืออาหารทะเล ที่เรียกว่า โทรไมโอซิน แอนติบอดีกระตุ้นการปล่อยสารเคมี เช่น ฮิสตามีนเพื่อโจมตีโทรโมไมโอซิน การปลดปล่อยฮีสตามีนทำให้เกิดอาการตอบสนองตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง แต่มักแสดงอาการที่รุนแรงออกมา

อาการสามารถเกิดได้ทันที หรือต้องทิ้งช่วงเวลาหลังการสัมผัสไปซักระยะ และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังนี้

  • รู้สึกชาในปาก
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย หรืออาเจียน
  • หายใจไม่ออก หรือหายใจลำบาก
  • ปฏิกิริยาทางผิวหนัง ได้แก่ อาการคันลมพิษ หรือขึ้นผื่น
  • อาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น คอ หู นิ้ว หรือมือ
  • วิงเวียนศีรษะ หรือเป็นลม

อาการแพ้ที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตเรียกว่า แอนาฟิแล็กซิส สามารถเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน และถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ โดยมีอาการดังนี้

  • คอบวม (หรือพบก้อนในลำคอ) ทำให้หายใจลำบาก
  • ชีพจรเต้นเร็ว
  • วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ
  • ความดันโลหิตลดลงอย่างรุนแรง (ช็อก)

การรักษา แพ้อาหารทะเล

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาอาการแพ้อาหารทะเล การรักษาที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงอาหาร เช่น กุ้ง ปู และหอย ซึ่งไม่รวมถึงปลา แต่การปนเปื้อนอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงอาการแพ้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลทั้งหมด

แพทย์หลายคนแนะนำให้ผู้ที่มีอาการแพ้อาหารทะเลพกพาอะดรีนาลีน (EpiPen, Auvi-Q หรือ Adrenaclick) เพื่อช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินที่รับประทานไปโดยไม่ได้ตั้งใจ Epinephrine (อะดรีนาลีน) ถือว่าเป็นการรักษาขั้นแรกสำหรับภาวะภูมิแพ้ สำหรับกรณ๊การแพ้ที่ไม่รุนแรง ทำให้เกิดผื่น หรืออาการคัน แพทย์จะแนะนำให้ใช้ Antihistamine เช่น Benadryl

การเสียชีวิตจากปฏิกิริยาแอนาไฟแล็กติกจากการรับประทานอาหารทะเลนั้นพบได้ยาก แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อาหารทะเลควรพกอะดรีนาลีนติดตัวไว้ในกรณีฉุกเฉิน เพื่อลดอาการที่รุนแรง และหากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์โดยทันที

[Total: 0 Average: 0]