แพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy)

แพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy) คือการที่ร่างกายมีปฎิกริยาตอบสนองกับผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองหลังจากรับประทานทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายในรูปแบบของอาการแพ้ และในรายที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองอย่างรุนแรงอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทำจากพืชตระกูลถั่ว ซึ่งพืชตระกูลถั่วยังรวมถึง ถั่วดำหรือถั่วแดง ถั่วฝัก ถั่วเลนทิล และถั่วลิสง

ทั้งนี้ ถั่วเหลืองที่ยังไม่สุกเต็มที่เมื่อนำมาต้ม เราเรียกกันว่า ถั่วแระ ส่วนที่แก่และสุกเป็นเมล็ดสีเหลืองแล้ว มักนำมาทำเป็นเต้าหู้ แต่ก็สามารถนำมาทำเป็นอย่างอื่นได้ด้วย เช่น:

  • เครื่องปรุงรส เช่น ซอสถั่วเหลืองและมายองเนส
  • เครื่องปรุงรสทั้งแบบใช้ถั่วเหลืองโดยตรงหรือทำเทียม
  • น้ำซุปผักและแป้งถั่วเหลือง
  • ใช้แทนเนื้อสัตว์
  • ผสมกับเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น นักเก็ตไก่
  • ทำเป็นอาหารแช่แข็ง
  • เป็นส่วนผสมในอาหารเอเชียส่วนใหญ่
  • ซีเรียลบางยี่ห้อ
  • เนยถั่ว

ดังนั้น ถั่วเหลืองจึงแทบจะพบได้ตามเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ทำให้คนที่แพ้ถั่วเหลืองจำเป็นต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก

อาการแพ้ถั่วเหลืองเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจผิดว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองซึ่งจริง ๆ แล้วไม่มีอันตรายเลย เป็นสารอันตรายและรุกรานระบบในร่างกาย ดังนั้น ร่างกายจึงสร้างแอนติบอดีเพื่อต้านโปรตีนจากถั่วเหลืองขึ้น และเมื่อมีการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองครั้งต่อไป ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะปล่อยสาร เช่น ฮิสตามีน เพื่อ “ปกป้อง” ร่างกาย การปล่อยสารเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแพ้

ถั่วเหลืองเป็น 1 ใน 8 อาหารที่ก่อภูมิแพ้ โดยอาหารอื่น ๆ ที่แก้ภูมิแพ้อีกได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วลิสง เมล็ดจากผลไม้ต่าง ๆ ข้าวสาลี ปลา และหอย อาการแพ้ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในอาการแพ้อาหารหลายชนิด ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของชีวิต โดยปกติสามารถเกิดขึ้นได้ก่อนอายุ 3 ขวบและมักจะหายได้เองเมื่ออายุ 10 ขวบ

สาเหตุ แพ้ถั่วเหลือง

สาเหตุของการแพ้ถั่วเหลืองนั้นอาจเกิดมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารบางอย่างในถั่วเหลืองรุนแรงมากกว่าปกติ จึงกระตุ้นให้ร่างกายผลิตแอนติบอดีซึ่งมีหน้าที่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมในร่างกายเพื่อกำจัดสารประกอบของถั่วเหลืองที่อยู่ในร่างกายและเป็นเหตุให้เกิดอาการผิดปกติขึ้น แต่ในอีกกรณี อาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วงหลังจากการรับประทานถั่วเหลืองอาจมีสาเหตุมาจากการทำงานที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ในการจัดการกับโปรตีน ซึ่งอาจไม่ใช่อาการแพ้ถั่วเหลืองโดยตรง

โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ถั่วเหลือง ได้แก่ ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติการแพ้ถั่วเหลือง ทารกหรือเด็กเล็ก และผู้ที่แพ้อาหารชนิดอื่น ๆ

อาการ แพ้ถั่วเหลือง

อาการแพ้ถั่วเหลืองอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรง และอาจรวมถึง:

การรักษา แพ้ถั่วเหลือง

การรักษาอาการแพ้ถั่วเหลืองประการสุดท้ายคือ การเลี่ยงไม่ทานถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทั้งหมด ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองและผู้ปกครองของเด็กที่แพ้ถั่วเหลืองต้องอ่านฉลากเพื่อทำความคุ้นเคยกับส่วนผสมที่มีถั่วเหลืองในอาหาร และนอกจากนี้ ควรสอบถามถึงส่วนผสมในรายการอาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหารด้วย

ปัจจุบัน ยังมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ถึงศักยภาพของโปรไบโอติกในการป้องกันโรคภูมิแพ้ หอบหืด และโรคเรื้อนกวาง ทั้งนี้ ยังมีการศึกษาในห้องปฏิบัติการที่พอดูมีความหวังว่า จะช่วยผู้ที่มีอาการแพ้อาหารเหล่านี้ได้ แต่การศึกษาก็ยังมีไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ ให้ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ดูว่า โปรไบโอติกจะมีประโยชน์กับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนหรือทารกที่มีอาการแพ้โปรตีนหรือไม่

[Total: 0 Average: 0]