ไข้หวัดหมู

ไข้หวัดหมู H1N1 (Swine flu) เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา โดยไวรัสชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากหมูหรือสุกร แต่แพร่ระบาดจากคนสู่คนเป็นหลัก

ไข้หวัดหมูเริ่มเป็นข่าวพาดหัวในปี 2552 เมื่อมีการพบครั้งแรกในคน ก่อนที่จะกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ในภายหลัง ซึ่งโรคระบาดเป็นโรคติดต่อที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกหรือในหลายทวีปในเวลาเดียวกัน

องค์การอนามัยโลก (WHO)  ประกาศว่า การระบาดของไวรัส H1N1 สิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม 2553 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไวรัส H1N1 ได้รับการขนานนามว่าเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ในคน ทั้งนี้ ไข้หวัดหมูยังคงแพร่ระบาดในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ เช่นเดียวกับไข้หวัดสายพันธุ์อื่น ๆ อนึ่ง มีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขึ้นในแต่ละปีโดย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)  ซึ่งมักจะรวมถึง วัคซีนป้องกันไวรัส H1N1 ด้วย

เช่นเดียวกับไข้หวัดสายพันธุ์อื่น ๆ ไวรัส H1N1 เป็นไวรัสที่ติดต่อกันง่าย จนทำให้สามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้อย่างรวดเร็ว แค่จามก็อาจทำให้เชื้อโรคหลายพันชนิดแพร่กระจายไปในอากาศได้ ทั้งนี้ ไวรัสสามารถเกาะอยู่บนโต๊ะและบริเวณพื้นผิวต่าง ๆ ได้ เช่น ลูกบิดประตู และเมื่อมีการจับลูกบิดก็สามารถติดเชื้อได้เลย

สาเหตุ โรคไข้หวัดหมู

โรคไข้หวัดหมูเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่มักติดเชื้อในหมูเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก ไข้รากสาดใหญ่ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้จาก เหา หรือ เห็บ การแพร่เชื้อมักเกิดจากคนสู่คน ไม่ใช่สัตว์สู่คน

ทั้งนี้ การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดหมูสามารถทำได้โดยการรับประทานผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

อาการ โรคไข้หวัดหมู

อาการของโรคไข้หวัดหมูจะเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ซึ่งได้แก่:

  • มีอาการหนาวสั่น
  • มีไข้
  • มีอาการไอ
  • รู้สึกเจ็บคอ
  • มีน้ำมูกไหลหรือ คัดจมูก 
  • รู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย
  • มีอาการท้องเสีย
  • มีอาการคลื่นไส้ 
  • อาเจียน

การรักษาโรคไข้หวัดหมู

การรักษาโรคไข้หวัดหมูส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ยา ทั้งนี้ หากเป็นในระยะแรก ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เว้นแต่จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดจากไข้หวัดหมู โดยผู้ป่วยควรเน้นดูแลตัวเองแบบประคับประคอง และป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส H1N1 ไปยังผู้อื่น

แพทย์วินิจฉัยโรคไข้หวัดหมู โดยการสุ่มตรวจตัวอย่างของเหลวจากร่างกาย โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างของเหลวจากจมูกหรือลำคอของผู้ที่ติดเชื้อ

ตัวอย่างของเหลวที่เก็บได้จะนำมาวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคตรวจสอบพันธุกรรมของเชื้อ และวิธีทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อระบุชนิดของไวรัสว่าเป็นชนิดใด

ทั้งนี้ แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสสองชนิดในการรักษาไข้หวัดหมู ได้แก่ ยารับประทานโอเซลทามิเวียร์ และซานามิเวียร์ เนื่องจากไวรัสไข้หวัดอาจดื้อยาเหล่านี้ได้ จึงมักสงวนยาเหล่านี้ไว้ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้หวัดได้ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไป หากเกิดการติดเชื้อไข้หวัดหมู ร่างกายจะยังสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับเชื้อไข้หวัดได้

[Total: 0 Average: 0]