ต้องเจออะไรบ้างในช่วงฟื้นตัวจากภาวะขาหัก

การรักษาภาวะขาหักอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน ระยะเวลาในการพักฟื้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ และวิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยภาวะกระดูกหักตามแพทย์สั่ง

หากใส่เฝือกอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ไม้ค้ำยันหรือไม้เท้า เพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ทิ้งลงที่ขาข้างที่หักเป็นเวลา 6 ถึง 8 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น

หากใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายนอก แพทย์มักถอดออกหลังจากใส่ประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์

ในช่วงพักฟื้นนี้ อาการปวดอาจมีโอกาสหยุดหรือหายใปก่อนที่กระดูกที่หักจะกลับมาแข็งแรงพอที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามปกติ

หลังจากถอดเฝือกหรืออุปกรณ์ยึดกระดูกต่าง ๆ แล้ว แพทย์อาจแนะนำให้จำกัดการเคลื่อนไหวจนกว่ากระดูกจะแข็งแรงพอที่จะกลับไปทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

หากแพทย์แนะนำให้ทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือนานขึ้น ในกรณีที่มีการแตกหรือหักอย่างรุนแรง

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของกระดูก:

  • อายุของผู้ป่วยกระดูกแตกหรือหัก
  • การบาดเจ็บอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะขาหัก
  • การติดเชื้อ
  • โรคประจำตัวหรือภาวะอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะขาหัก เช่น  โรคอ้วน  การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป  โรคเบาหวาน  การสูบบุหรี่ การขาดสารอาหาร ฯลฯ

หากคิดว่าหรือรู้ว่า ตัวเองมีภาวะกระดูกขาแตกหัก ให้รีบพบแพทย์ทันที

ภาวะขาหักและการใช้เวลาพักฟื้นที่นานจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความคล่องตัวและการใช้ชีวิตตามปกติของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม ผู้ป่วยมักจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะขาหัก

ผู้ป่วยที่มีภาวะขาหักอาจพบภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังกระบวนการรักษา เช่น :

  • กระดูกอักเสบ  (เกิดการติดเชื้อที่กระดูก)
  • เส้นประสาทถูกทำลายจากกระดูกแตกและได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาท
  • ความเสียหายของกล้ามเนื้อจากการที่กระดูกแตกใกล้กับกล้ามเนื้อข้างเคียง
  • อาการปวดข้อ
  • เป็นภาวะแทรกซ้อนจาก  โรคข้อเข่าเสื่อม  ที่มีต่อเนื่องเป็นเวลานาน จากการเรียงตัวของกระดูกที่ไม่ดีในระหว่างขั้นตอนการรักษา
[Total: 0 Average: 0]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading