หูตึง

หูตึง คือ ภาวการณ์ได้ยินเสียงลดลง ไปจนถึงสูญเสียการได้ยิน อาจเป็นเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ยินเลย (หูหนวกสนิท) มีสาเหตุได้มากมาย เช่น แล้วหูทะลุ หูอักเสบ โรคเมเนียส์  ซิฟิลิส หูหนวกมาแต่กำเนิด (เช่น ทารกที่เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด) ซึ่งมักจะมีอาการเป็นใบ้ร่วมด้วย พิษจากยา (เช่น สเตรปโตไมซิน คาน่าไมซิน เจนตาไมซิน) หูตึงใน ผู้สูงอายุ หูตึงจากอาชีพ เป็นต้น เรียกอีกอย่างว่า หูหนวก

สาเหตุ หูตึง

ในที่นี้จะขอกล่าวถึง หูตึงในผู้สูงอายุ และหูตึงจากอาชีพ

หูตึงในผู้สูงอายุ พบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าและมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง โดยมากจะเริ่มแสดง อาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไปเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย

หมายถึง ภาวะที่มีความบกพร่องในระบบการได้ยิน ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการฟัง หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด พบได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชรา และมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันตั้งแต่ไม่มีอาการ หูตึง หรือหูหนวกไม่ได้ยิน

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

1. การนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss: CHL) เกิดจากความผิดปกติที่หูชั้นนอก (external auditory canal) เยื่อแก้วหู (tympanic membrane) และหูชั้นกลาง (middle ear) ทำให้มีความผิดปกติของการส่งผ่านคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นใน

2. ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง (Sensorineural hearing loss: SNHL) เกิดจากความผิดปกติในหูชั้นใน (cochlea) ตรงส่วนของเซลล์ประสาทรับเสียงที่พบบ่อยคือouter hair cell หรือความผิดปกติที่ประสาทรับฟังเสียง (acoustic nerve)

3. การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (mixed hearing loss) เกิดจากความผิดปกติในระบบการนำเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง พบในโรคที่มีความผิดปกติที่หูชั้นกลางและหูชั้นในร่วมกัน

4. ความบกพร่องที่สมองส่วนกลาง (Central hearing loss) เกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนที่ทำหน้าที่แปลความหมายของเสียง ทำให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงแต่ไม่สามารถแปลความหมายของสัญญาณนั้นได้

5. การรับฟังเสียงบกพร่องจากสภาวะทางจิตใจ (Functional hearing loss) เป็นภาวะที่มีปัญหาการได้ยินเนื่องจากความผิดปกติทางจิตใจ ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของระบบการได้ยิน

อาการ หูตึง

  • รู้สึกเหมือนว่าทุกๆ คนรอบๆ ตัวคุณ พูดงึมงำฟังไม่ค่อยเข้าใจ บางครั้งต้องขอให้อีกฝ่ายพูดซ้ำ
  • ประสบกับความยากลำบากในการพยามทำความเข้าใจคู่สนทนา  ในสถานที่ๆ ที่มีเสียงจอแจ เช่น ตลาด, สถานีรถไฟ, ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • ได้ยินเสียงสนทนา แต่ไม่สามารถเข้าใจในคำสนทนาได้โดยเฉพาะหากผู้พูดเป็น เด็ก หรือ ผู้หญิงที่มีเสียงเล็กแหลม เสียงของตัวอักษร  เช่น ส, ฟ, S, H, F, TH เป็นต้น
  • คุณไม่ได้ยินเสียงในธรรมชาติบางอย่าง มานานมากแล้ว เช่น เสียงนกร้อง เสียงฝนตก

การรักษา หูตึง

ไม่มียาที่ใช้รักษาให้การได้ยินดีขึ้น ถ้าจำเป็นอาจต้องใช้เครื่องช่วยฟัง

[Total: 2 Average: 5]