ไอ

เสียงแค็กๆ ที่เปล่งออกมาโดยแรงและอย่างฉับพลันเพื่อไล่อากาศและสิ่งที่สร้างความระคายเคืองในลำคอหรือทางเดินหายใจออกมา

สาเหตุทั่วไปของอาการ ไอ

การไออาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น การกำจัดสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจตามปกติ สารระคายเคือง เช่น ควันและแก๊ส การเสพยาสูบ หรือการกลืนอาหารและของเหลวอย่างไม่ถูกต้อง

การรักษาอาการ ไอ ด้วยตนเอง

ของเหลว ยาอม ลูกอมแก้ไอ เครื่องทำไอระเหย และการอาบน้ำร้อน อาจช่วยบรรเทาอาการไอได้ ยาแก้ไออาจช่วยได้เช่นกัน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะให้ยาแก่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ

ไอ เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้

  • มีไข้สูง 38°C (100°F) ขึ้นไป
  • ไอมีเสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว
  • หายใจมีเสียงหวีด

ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้

  • สำลักและพูดไม่ได้
  • หายใจลำบาก
  • กลืนลำบาก
  • สังเกตเห็นเลือดปนในเสมหะ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน มีไข้ และน้ำหนักลดต่อเนื่อง

โรคที่เกี่ยวข้องกับการ ไอ

การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน

การติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยซึ่งส่งผลกระทบต่อจมูก ลำคอ และทางเดินหายใจ การแสดงอาการ:

หอบหืด

ภาวะที่ทางเดินหายใจอักเสบ ตีบตัน บวม และมีการสร้างเมือกเสมหะมากกว่าปกติซึ่งทำให้หายใจไม่สะดวกการแสดงอาการ:

กลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

การติดเชื้อไวรัสที่พบมากในจมูกและลำคอ การแสดงอาการ:

  • จาม
  • น้ำตาไหล
  • คัดจมูก

ครุป

การติดเชื้อในทางเดินอากาศหายใจส่วนบนที่ขัดขวางการหายใจและทำให้ไอเสียงก้องที่มีลักษณะเฉพาะ การแสดงอาการ:

  • ไอเสียงก้อง
  • น้ำลายไหล
  • หายใจไม่อิ่ม

น้ำมูกไหลลงคอ

สารคัดหลั่งจากจมูกที่ไหลลงไปในคอ ทำให้เกิดการคั่งและการไอ การมีน้ำมูกไหลลงในคอมักเกิดจากอาการภูมิแพ้หรืออาการหวัดทั่วไป


[Total: 0 Average: 0]