พูดไม่ชัด

ปัญหาลูกพูดไม่ชัดเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ปกครองหลายคนมองข้าม เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยจึงไม่ได้ให้ความสำคัญ ขณะเดียวกันปัญหาดังกล่าวอาจเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลเสียต่อเด็กได้ในระยะยาวและการใช้ชีวิตในสังคม

โดยปกติแล้วเด็กจะเริ่มพูดได้เป็นคำที่มีความหมาย

  • ในช่วงอายุ 1 ปี เช่น แม่ หม่ำ ไป มา เป็นต้น
  • และจะเริ่มพูดได้เป็นประโยคในช่วงอายุ 2 ปี
  • พอเริ่มเข้าสู่อายุ 3-4 ปี ลิ้นจะทำงานได้ดีขึ้น เด็กก็จะเริ่มออกเสียง ร.เรือ ล.ลิง ได้
  • โดยเด็กจะเริ่มออกเสียงชัดเจนในพยัญชนะต่างๆ ตามช่วงวัย ได้แก่
  • ช่วงอายุ 2.1-2.6 ปี เสียงพยัญชนะที่พูดได้ชัดคือ ม, น, ห, ย, ค, อ
  • ช่วงอายุ 2.7-3 ปี เสียงพยัญชนะที่พูดได้ชัดจะเพิ่มเสียง ว, บ, ก, ป เข้าไป
  • ช่วงอายุ 3.1-3.6 ปี เพิ่มเสียง ท, ต, ล, จ, ผ
  • ช่วงอายุ 3.7-4 ปี เพิ่มเสียง ง, ค ช่วงอายุ 4.1-4.6 ปี เพิ่มเสียง ฟ
  • ช่วงอายุ 4.7-5 ปี เพิ่มเสียง ช
  • ช่วงอายุ 5.1-5.6 เพิ่มเสียง ส และอายุ 7 ปีขึ้นไป เพิ่มเสียง ร

สาเหตุ พูดไม่ชัด

3 สาเหตุของการพูดไม่ชัด พร้อมการแก้ไข เพราะฉะนั้นหากพบว่าบุตรหลานของท่านอายุเกิน 3 ขวบครึ่งแล้วยังพูดไม่ชัด ควรส่งพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ

  1. มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น ริมฝีปากแหว่ง เพดานโหว่ มีเส้นยึดที่ปลายลิ้น ลิ้นโตคับปาก ลิ้นเล็กเกินไป รูปฟันผิดปกติ โพรงปากผิดปกติ ประสาทหูพิการ( หูตึง ) ปัญญาอ่อน สมองพิการ หรือมีความผิดปกติของระบบประสาทควบคุมอวัยวะออกเสียง

ความผิดปกติดังกล่าวสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง จะทำให้ผู้นั้นไม่สามารถพูดชัดได้ อาการผิดปกติจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ละบุคคลไป

  1. ความไม่พร้อมของอวัยวะในการเปล่งเสียง ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ของร่างกาย เราจะพบได้มากในเด็กเล็กที่เริ่มหัดพูดเกือบทุกราย แต่เมื่อเขาโตขึ้น อายุมากขึ้น มีความพร้อมของการทำหน้าที่ของอวัยวะดีพอ เขาก็สามารถพูดได้ชัดเหมือนคนปกติ แต่ก็มีบางรายเหมือนกันที่โตแล้วก็ยังพูดไม่ชัด
  2. การเลียนแบบผิด ๆ คือเคยได้ยินและจำเสียงพูดผิด ๆ นั้น แล้วหัดพูดตามจนเป็นความเคยชินกับเสียงนั้น เช่น การพูดตามเสียงของคนใกล้ชิด การพูดตามสำเนียงท้องถิ่น แล้วนำเสียงพูดนั้นมาใช้กับภาษากลาง หรือมีบางรายที่พูดไม่ชัดแล้ว ได้รับความเอ็นดูจากผู้ใหญ่ ๆ เห็นเป็นอาการน่ารัก เด็กเลยไม่เปลี่ยนการพูดให้ถูก เพื่อเรียกร้องความสนใจต่อไป

อาการ พูดไม่ชัด

สามารถจำแนกออกได้ 4 ประเภท ไว้ดังนี้

  1. ฟังและอ่านไม่เข้าใจ แต่พูดคล่อง เกิดจากรอยโรคที่บริเวณเวอร์นิเก (Wernicke’s) หรือตอบโต้ไม่ตรงเรื่องที่พูด ถามอย่างจะตอบอีกอย่าง นั่นเพราะผู้ป่วยไม่เข้าใจคำพูดของตัวเอง การอ่าน การเขียน ตกหล่น ถ้าเป็นมากจะอ่านหรือเขียนไม่ได้
  2. มีปัญหาด้านการพูด แต่ฟังอ่านเข้าใจ เกิดจากรอยโรคบริเวณโบรคา (Broca’s) ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัด พูดผิดไวยากรณ์ นึกคำศัพท์นาน มักใช้คำง่ายๆ หากอาการรุนแรงจะพูดไม่ได้ แต่เขียนบอกได้ ทำตามคำสั่งได้ เช่น บอกให้ยกมือ ผู้ป่วยสามารถยกมือได้เพราะฟังรู้เรื่อง
  3. นึกคำศัพท์ไม่ออก แต่ฟังเข้าใจ พูดได้ถูกหลักไวยากรณ์ แต่มักใช้คำพูดอ้อมค้อมเนื่องจากนึกคำศัพท์ไม่ออก เช่น “สิ่งที่ใช้เขียน” แทนที่จะพูดว่า “ปากกา” ทำให้พูดช้าลง
  4. มีปัญหาทั้งด้านการพูดสื่อสารและรับรู้ภาษา ผู้ป่วยจะฟังไม่เข้าใจ พูดไม่ได้แสดงออกไม่ได้ ทำตามคำบอกไม่ได้เพราะไม่เข้าใจ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีสมาธิ กระวนกระวาย เนื่องจากสื่อสารกับใครไม่ได้ เกิดจากความผิดปกติของ Broca’s และ Wernicke’s Areas

การรักษา พูดไม่ชัด

เริ่มต้นจากการประเมินโครงสร้างภายในปากของเด็กก่อนว่าปกติหรือไม่ และตรวจการได้ยินของเด็ก จากนั้นจะทำการประเมินทีละเสียงและหาว่าเสียงไหนที่เด็กออกเสียงไม่ชัด เมื่อประเมินได้แล้วจะทำการฝึกทีละเสียง และถ้าหากผู้ปกครองมีการนำกลับไปฝึกที่บ้านด้วยก็จะทำให้เด็กพูดชัดได้เร็วขึ้น จากงานวิจัยพบว่าในหนึ่งเสียงจะใช้การฝึกฝนประมาณ 3 เดือนในการพูดให้ชัด

หากคุณหมอประเมินว่าลูกไม่ได้มีความผิดปกติแต่อย่างใด นักฝึกพูดอาจช่วยลูกได้โดยแนะนำทักษะการฝึกฝนให้แก่คุณ การฝึกเบื้องต้น เช่น การฝึกเคี้ยวอาจช่วยลูกได้เช่นกัน เช่น หากเป็นเด็กโตอายุมากกว่า 8 ขวบ ให้เคี้ยวหมากฝรั่งไร้น้ำตาล แต่ต้องแน่ใจว่าไม่ติดคอลูกหรือกลืนลงไป หรือฝึกเคี้ยวผักผลไม้ เช่น แครอทหรือเซอเลอรี่หั่นบางๆ

[Total: 0 Average: 0]