แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid Scars)

เมื่อผิวหนัง (Keliod Scars) คือการรับบาดเจ็บเนื้อเยื่อที่เรียกว่า เนื้อเยื่อแผลเป็นจะก่อตัวขึ้นเหนือบาดแผล เพื่อซ่อมแซม และป้องกันการบาดเจ็บ  บางครั้งเนื้อเยื่อนั้นจะก่อตัวและเจริญขึ้นเป็นลักษณะเรียบแข็ง เราเรียกว่า แผลเป็นคีลอยด์ 

แผลเป็นคีลอยด์ หรือแผลเป็นแข็งอาจมีขนาดใหญ่กว่าแผลเดิมมาก พบได้บ่อยที่หน้าอก ไหล่ ติ่งหู และแก้ม อย่างไรก็ตามแผลเป็นคีลอยด์ อาจพบในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

แม้ว่าแผลเป็นคีลอยด์จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็สร้างความไม่พึงพอใจ ในเรื่องความสวยงามได้

สาเหตุ แผลเป็นคีลอยด์

การได้รับบาดเจ็บที่สามารถทำให้เกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้แก่

  • รอยแผลเป็นจากสิว
  • แผลไฟไหม้
  • แผลเป็นอีสุกอีใส
  • เจาะหู
  • รอยขีดข่วน
  • แผลจากการผ่าตัด
  • แผลจากการฉีดวัคซีน

โดยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีแผลเหล่านี้ พบว่า เป็นแผลเป็นคีลอยด์ ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็นแผลเป็นคีลอยด์เท่า ๆ กัน แต่คนที่มีโทนสีผิวเข้มมีแนวโน้มที่จะเป็นแผลเป็นคีลอยด์ได้มากกว่า

ความเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้แก่

  • เชื้อสายเอเชีย
  • มีเชื้อสายลาติน
  • สตรีตั้งครรภ์
  • อายุน้อยกว่า 30 ปี

อาการ แผลเป็นคีลอยด์

แผลเป็นคีลอยด์มีแนวโน้มที่จะสืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งหมายความว่าถ้าคุณมีพ่อหรือแม่ที่เป็นแผลเป็นคีลอยด์คุณก็มีความเสี่งที่จะเป็นแผลเป็นคีลอยด์ได้

จากการศึกษาพบว่า ยีนที่เรียกว่ายีน AHNAK มีบทบาทในการพัฒนาแผลเป็นคีลอยด์ นักวิจัยพบว่า คนที่มียีน AHNAK มีความเสี่ยงที่เป็นแผลเป็นคีลอยด์มากกว่าคนที่ไม่มี

หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ ต้องหลีกเลี่ยงการเจาะตามร่างกาย การผ่าตัดที่ไม่จำเป็น และการสัก

แผลเป็นคีลอยด์เกิดการเติบโตของเนื้อเยื่อแผลเป็น แผลเป็นคีลอยด์มักจะมีขนาดใหญ่กว่าแผลเดิม และใช้เวลาในการพัฒนานานถึงหลายสัปดาห์

อาการของแผลเป็นคีลอยด์มีดังนี้

  • แผลเป็นมีเนื้อสีชมพูหรือสีแดง
  • แผลเป็นนูนขึ้น
  • แผลเป็นขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
  • คันบริเวณแผลเป็น

แม้ว่าแผลเป็นคีลอยด์จะทำให้มีอาการคัน แต่ก็ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของ อาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวหรือระคายเคืองบ้าง เมื่อแผลเป็นสัมผัสกับเสื้อผ้า

แผลเป็นคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในร่างกาย แต่ไม่ได้พบได้ง่ายนัก  เมื่อเกิดจะทำให้แผลเป็นนั้นมีลักษณะแข็ง

แผลเป็นคีลอยด์ไม่ใช่ปัญหาด้านสุขภาพ แต่เป็นปัญหาเรื่องความสวยงามบนร่างกาย อาจทำให้กังวลได้หากเกิดในบริเวณติ่งหูหรือใบหน้าที่มองเห็นได้ชัดเจน

การรักษา แผลเป็นคีลอยด์

วิธีรักษาแผลคีลอยด์อาจเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะแผลเป็นคีลอยด์เป็นผลมาจากการที่ร่างกายพยายามซ่อมแซมตัวเอง หลังจากเอาแผลเป็นคีลอยด์ออกไปแล้ว เนื้อเยื่อแผลเป็นก็อาจกลับมาเติบโตอีกครั้งและบางครั้งก็กลับมามีขนาดใหญ่กว่าเดิม

ก่อนดำเนินการแก้ไขแผลเป็นคีลอยด์ด้วยวิธีการทางการแพทย์ให้ลองพิจารณาการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน น้ำมันให้ความชุ่มชื้นที่มีจำหน่ายทั่วไปสามารถช่วยให้เนื้อเยื่ออ่อนนุ่มลง สิ่งเหล่านี้อาจช่วยลดขนาดของแผลเป็น และแผลเป็นคีลอยด์มีโอกาสจะหดตัว และราบเรียบเมื่อเวลาผ่านไป แม้ไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ก็ตาม

เบื้องต้นแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาเช่นการใช้แผ่นซิลิโคนใส่แผลกดทับ หรือการฉีดยาหากเป็นแผลเป็นคีลอยด์ใหม่ๆ การรักษาเหล่านี้ต้องใช้บ่อย และระมัดระวัง ต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อย 3 เดือน จึงจะเห็นผลลัพธ์

[Total: 0 Average: 0]