โรคหยุดหายใจขณะหลับ

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะอุดกั้น Obstructive sleep apnea (OSA) คือ การหยุดหายใจโดยที่ไม่รู้ตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ขณะหลับ โดยปกติแล้ว อากาศจะไหลเวียนอย่างสม่ำเสมอจากปากและจมูกเข้าสู่ปอด ช่วงเวลาที่การหายใจนั้นหยุดไป เรียกว่า ภาวะหยุดหายใจชั่วคราว หรือ อาการหยุดหายใจชั่วคราว อาการนี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในช่วงเวลากลางคืน การที่การไหลเวียนของอากาศนั้นหยุดเป็นผลมาจากทางเดินหายใจนั้นแคบเกินไป การนอนกรนคือลักษณะเด่นของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะอุดกั้น การกรนนั้นมีสาเหตุมาจากการที่อากาศถูกบีบให้ผ่านทางเดินหายใจที่แคบ ๆ ทำให้หายใจติดขัดเวลานอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อันตรายได้ ดังนี้:

การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องจำเป็นอย่างยิ่งต่อการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน

สาเหตุ โรคหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมีหลายประเภท แต่โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนั้นพบได้บ่อยที่สุด โรคนี้พบได้มากในผู้สูงอายุและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า การลดน้ำหนักทำให้อาการจากโรคนี้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การนอนหงายนั้นทำให้อาการของโรคนี้แย่ลง

อาการ โรคหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง เมื่อประสิทธิภาพในการนอนไม่ดี จึงส่งผลให้ง่วงนอนตอนกลางวันและรู้สึกไม่ปลอดโปร่งในตอนเช้า ผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจมีอาการเหล่านี้:

  • อาการปวดหัวที่รักษาหายยาก
  • อารมณ์เสีย
  • ขี้หลงขี้ลืม
  • ง่วงเหงาหาวนอน

อาการอื่น ๆ ได้แก่

  • โรคสมาธิสั้นในเด็ก
  • ภาวะซึมเศร้าแย่ลง
  • ประสิทธิภาพในการเรียน และ การทำงานลดลง
  • ความสนใจในเรื่องเซ็กส์หายไป
  • ขาบวม ( เรียกว่า อาการบวมน้ำ ซึ่งจะปรากฏขึ้นเมื่อภาวะหยุดหายใจนั้นรุนแรง )

การรักษาโรคหายใจขณะหลับ

เป้าหมายของการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นคือการทำให้อากาศไหลผ่านโดยที่ไม่มีสิ่งกีดกัน วิธีรักษามีดังนี้:

การลดน้ำหนัก

การลดน้ำหนักช่วยบรรเทาอาการจากโรคหยุดหายใจขณะหลับจากสิ่งอุดกั้น

ยาลดอาการคัดจมูก Nasal Decongestants

ยาลดอาการคัดจมูกนั้นมีออกฤทธิ์ดีกับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง มันช่วยบรรเทาอาการนอนกรน

เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก Continuous Positive Airway Pressure (CPAP)

Continuous positive airway pressure (CPAP) therapy การรักษาแบบ Continuous positive airway pressure (CPAP) เป็นการรักษาวิธีแรก ๆ สำหรับโรคหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น CPAP ทำงานผ่านหน้ากากที่ถูกสวมใส่ขณะหลับในตอนกลางคืน เครื่องจะส่งอากาศดีเข้าไปอย่างแผ่วเบาเพื่อที่จะเปิดทางเดินหายใจในช่วงกลางคืน เครื่อง CPAP นั้นมีประสิทธิภาพมากสำหรับการรักษา OSA เครื่องมือทางทันตแพทย์ก็มีความสำคัญเช่นกันในการทำให้ขากรรไกรเลื่อนไปข้างหน้า

เครื่องช่วยหายใจ Bilevel Positive Airway Pressure (BiPAP หรือ BPAP)

ในบางครั้ง BiPAP จะถูกใช้เมื่อเครื่อง CPAP รักษาไม่ได้ผล เครื่อง BiPAP นั้นมีระบบตั้งค่าสูงและต่ำเพื่อที่จะตอบสนองต่อการหายใจของเราได้ นั่นหมายถึงความดันเปลี่ยนไปมาระหว่างการหายใจเข้าและหายใจออก

การรักษาโดยการจัดท่านอน

การนอนหงายสามารถทำให้อาการแย่ลงได้ในผู้ป่วยบางคน วิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ที่จะนอนท่านอนแบบใหม่ ๆ การรักษาโดยการจัดท่านอน และการใช้เครื่อง CPAP นั้นสามารถไปปรึกษากับผู็เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์การนอน

การผ่าตัด

การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่และเพดานอ่อน Uvulopalatopharyngoplasty (UPPP) คือ ชนิดของการผ่าตัดที่มักใช้รักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นโดยการนำเนื้อเยื้อส่วนเกินออก การรักษาโดยวิธีนี้ช่วยให้กรนน้อยลง อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการผ่าตัดชนิดนี้ยังไม่ไดเรับการพิสูจน์ว่าสามารถทำให้โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหายไปอย่างสิ้นเชิง และสามารถมีอาการแทรกซ้อนจากการรักษาได้

การเจาะคออาจถูกใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาคนไข้ วิธีการผ่าตัดวิธีนี้ทำได้โดยการผ่าตัดเปิดหลอดลมในคอ เพื่อที่อากาศจะสามารถเดินทางอ้อมสิ่งที่อุดกั้นอยู่ในคอได้

[Total: 0 Average: 0]