การเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีการแช่แข็ง (OOCYTE CRYOPRESERVATION) เป็นกระบวนการหรือ เทคโนโลยีที่ได้ยินกันบ่อยและเริ่มมีคนให้ความสนใจมากขึ้น แต่เดิมการเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีแช่แข็ง ทำในคนไข้ที่มีจำนวนไข่มากหลังการกระตุ้นไข่จากการทำเด็กหลอดแก้ว หรือ แช่แข็งไข่ที่ได้รับการ บริจาค แต่เนื่องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคในการแช่แข็งให้ดีขึ้น ทำให้อัตราความสำเร็จหลัง การละลายไข่จนสามารถปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนและตั้งครรภ์สูงขึ้นไม่ต่างจากการใช้ไข่ที่ไม่ได้ผ่านการแช่ แข็ง จึงได้มีการเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีแช่แข็งเพิ่มมากขึ้น
การเก็บรักษาไข่ด้วยวิธีแช่แข็ง เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตรในขณะนี้ ด้วยเหตุผลทางการแพทย์หรือเพื่ออนาคต เนื่องจากผู้หญิงเมื่ออายุมากขึ้นโอกาสของการตั้งครรภ์จะลดลง โอกาสแท้งและโอกาสตั้งครรภ์ทารก ที่มีโครโมโซมผิดปกติ เช่น โรค Down Syndrome เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการแช่แข็งไข่ ณ ช่วงอายุที่เหมาะสมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยหยุดอายุไข่ไว้ ณ เวลาที่แช่แข็ง ช่วยเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์ในอนาคต เมื่อมีความพร้อม
การแช่แข็งที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ
ในปัจจุบันนิยมใช้วิธี Vitrifcation ในการแช่แข็งไข่มากกว่าวิธี Slow freezing เพราะสะดวกรวดเร็วกว่า อีกทั้งยังลดความเสียหายภายในเซลล์ที่เกิดจากผลึกน้ำแข็ง โดยมีอัตราการรอดชีวิตหลังการละลาย (Survival rate) มากกว่าวิธี Slow freezing และอัตราความสำเร็จ (Clinical Pregnancy Rate: CPR) ไม่ต่างกับไข่ในรอบเก็บสด (Fresh oocyte) (Argyle et al., 2016) แต่อย่างไรก็ตาม อัตราความสำเร็จหลังละลายนี้จะขึ้นอยู่กับอายุของไข่เป็นสำคัญ เพราะการแช่แข็งไข่ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 48.6% ขณะที่ผู้หญิงมีอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อัตราความสำเร็จก็จะลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน และพบว่าที่อายุ 41-43 ปี อัตราความสำเร็จนี้จะเหลือเพียง 22.2% เท่านั้น
สามารถทำได้ทุกช่วงอายุ โดยพบว่าเมื่อทำการแช่แข็งไข่ เมื่ออายุน้อยกว่า 35 ปี จะทำให้ได้จำนวนไข่และคุณภาพสูง หากอายุมากขึ้นเท่าไร อัตราการความสำเร็จของการมีบุตรจากการแช่แข็งไข่ จะลดน้อยลง และอาจจำเป็นต้องได้จำนวนไข่มากขึ้น เนื่องจากคุณภาพที่ได้ก็จะลดลงด้วย
ขั้นตอนการเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ต้องการฝากแช่แข็งไข่ จะคล้ายการทำเด็กหลอดแก้วปกติ คือ ต้องทำการตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง และมีการฉีดยากระตุ้นไข่ทุกวัน แล้วมีการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของไข่เมื่อไข่ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วจะฉีดฮอร์โมน HCG เพื่อทำให้ไข่สุก หลังจากฉีดแล้ว 36 ชั่วโมงจะทำการเจาะและดูดไข่ออกมาผ่านทางช่องคลอด จากนั้นนักวิทยาศาสตร์เลี้ยงตัวอ่อนจะทำการคัดเลือกเฉพาะไข่สุก(Mature oocyte: MII) ที่มีคุณภาพดีและสมบูรณ์ไปแช่แข็ง