แพ็กเกจตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน ที่โรงพยาบาลพญาไท 1

(1 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

เครื่อง DEXA Scan ใช้รังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำ 2 พลังงาน ในการวิเคราห์ความหนาแน่นของมวลกระดูก มีความปลอดภัยสูง และได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน

รายละเอียดเพิ่มเติม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจนี้

  • แพ็กเกจนี้สำหรับผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ระยะเวลาตรวจประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
  • รอผลตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง โดยแพทย์จะเป็นผู้แจ้งผลให้ทราบ
  • ควรนัดหมายล่วงหน้า

การเตรียมตัวก่อนรับบริการ

  • ถอดอุปกรณ์ที่เป็นโลหะออกจากร่างกายก่อนตรวจ

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ

ข้อห้ามสำหรับการตรวจภาวะกระดูกพรุน

  • สตรีมีครรภ์ควรตรวจหลังจากคลอดแล้ว

ผู้ที่เหมาะสำหรับบริการนี้

  • ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 65 ปี และผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือมีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
  • มีประวัติเคยมีกระดูกสะโพกหัก กระดูกสันหลังหัก หรือกระดูกหักที่ตำแหน่งอื่นๆ จากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่มีส่วนสูงลดลงมากกว่า 3 เซนติเมตรจากความสูงเดิม
  • ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน เป็นโรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นโรคการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ และโรคต่อมพาราไทรอยด์
  • ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่อาการของภาวะขาดฮอร์โมนเพศชาย
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ที่เป็นมะเร็งเต้านม และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคไทรอยด์ ยารักษาโรคลมชัก ยารักษามะเร็ง เป็นต้น

สิ่งที่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ

  • มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น ใส่เหล็กดามกระดูก ข้อสะโพกเทียม เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
  • สงสัยว่ามีการตั้งครรภ์
  • มีประวัติการรักษาด้วยการกลืนแร่ หรือฉีดสารทึบแสงเพื่อการวินิจฉัยโรค

ข้อมูลทั่วไป

ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกขาดความแข็งแรง แตกหักได้ง่ายแม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย มักพบในหญิงหมดประจำเดือน และพบได้บ้างในผู้ชายและเด็ก

อาการ
ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักทราบเมื่อมีอาการออกมาแล้ว แต่ก็มีอาการบ่งชี้ที่สามารถสังเกตเพื่อให้รับการรักษาได้แต่เนิ่นๆ และยังมีอาการบ่งชี้อื่นๆ ที่ควรใส่ใจสังเกต เพื่อให้สามารถรักษาได้ทัน

  • กระดูกข้อมือ แขน สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่าย แม้ถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง
  • หลังค่อม หรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
  • ความสูงลดลง
  • อาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังด้วย

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก คืออะไร?
การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก เป็นการตรวจสุขภาพของกระดูกว่าอยู่ในระดับปกติดีหรือเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ โดยใช้เครื่องตรวจ DEXA Scan ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน ใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

การตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก มีข้อดีอย่างไร?

  • ทำให้ทราบว่ากระดูกยังมีความหนาแน่นปกติดี หรือมีภาวะกระดูกพรุน จำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือเสริมสร้างกระดูกอย่างไรหรือไม่
  • หลังจากตรวจ จะได้ทราบวิธีปฏิบัติตัวที่เหมาะสม หรือสิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
  • การตรวจด้วยเครื่อง DEXA Scan ทำได้ง่าย รวดเร็ว รังสีที่ใช้ไม่ตกค้างในร่างกาย และให้ผลแม่นยำ

เครื่อง DEXA Scan
เครื่อง DEXA Scan ใช้รังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำ 2 พลังงาน ในการวิเคราห์ความหนาแน่นของมวลกระดูก ปริมาณรังสีที่ใช้น้อยมาก มีความปลอดภัย และความแม่นยำสูง ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
เครื่อง DXA Scan แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแกนกลางร่างกาย (Central Device) ใช้ตรวจบริเวณกระดูกสันหลังและสะโพก ซึ่งวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัย
  • เครื่องตรวจบริเวณกระดูกแขน-ขา (Peripheral Device) ใช้ตรวจบริเวณ ข้อมือ ข้อเท้า ใช้ในการตรวจคัดกรอง

รู้จักสถานที่ให้บริการ

โรงพยาบาลพญาไท 1 ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ

[Total: 76 Average: 1]

แพ็กเกจตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน ที่โรงพยาบาลพญาไท 1 จาก 1 รีวิว

  1. healthmeth

    x

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *