ผู้ป่วย โรคมะเร็ง มักมีอาการน้ำท่วมปอดแทรกซ้อน จนถึงขั้นเสียชีวิต อาการภาวะน้ำท่วมปอด แบ่งเป็น 3 ลักษณะอาการ ดังนี้
1. ภาวะน้ำท่วมปอดแบบเฉียบพลัน (Acute pulmonary edema symptoms)
– ลมหายสั้นถี่มาก หรือ อาการหายใจลำบาก และอาการแย่ลงเมื่อนอน
– รู้สึกหอบเหนื่อย หายใจไม่ออก คล้ายอาการจมน้ำ
– หายใจเสียงดัง , หายใจแรง หรือต้องอ้าปากขณะหายใจ
– มีความวิตกกังวลกระสับกระส่าย
– มีอาการไอที่มีเสมหะเป็นฟอง หรือมีเสมหะปนเลือด
– มีอาการเจ็บหน้าอกถ้าภาวะน้ำท่วมปอดมีสาเหตุมาจากการเกิดโรคหัวใจ
– หัวใจเต้นผิดปกติ,ใจสั่น ,หัวใจเต้นเร็ว
หากมีอาการใดๆ ของอาการดังกล่าวควรรีบเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน
อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา
2. ภาวะน้ำท่วมปอดเรื้อรัง (Chronic pulmonary edema symptoms)
– มีอาการหายใจถี่ขึ้นมากกว่าปกติเมื่อมีการออกกำลังกาย หรือมีการใช้งานทางร่างกาย
– หายใจลำบากกับกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมา
– หายใจลำบากเมื่อนอนราบกับพื้น
– หายใจดังเสียงฮืดๆ
– ตื่นในเวลากลางคืนด้วยอาการหายใจหอบเหมือนหายใจไม่ทัน อาจบรรเทาอาการได้โดยการลุกขึ้นนั่ง
– น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมีภาวะน้ำท่วมปอดที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจล้มเหลว, ภาวะที่หัวใจปั๊มเลือด
ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาจากการสะสมของเหลวในร่างกายโดยเฉพาะที่ขา
ทำให้ขาบวม
– อาการบวมตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าจนถึงข้อสะโพก (Lower Extremities)
– มีอาการเมื่อยล้า
3. ภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง (High-altitude pulmonary edema symptoms)
– มีภาวะการณ์หายใจสั้นหลังจากมีการออกแรง ซึ่งจะพัฒนาอาการเป็นหายใจถี่ขึ้นขณะนั่งพัก
– อาการไอ
– มีปัญหาในการเดินขึ้นเขา หรือเดินขึ้นเนิน
– มีไข้
– ไอมีเสมหะเป็นฟอง และอาจปนเลือดออกมาด้วย
– หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีอาการใจสั่นอย่างรวดเร็ว
– มีความรู้สึกไม่สบายหน้าอก
– มีอาการปวดหัว ซึ่งอาจแสดงเป็นอาการแรกของภาวะน้ำท่วมปอดจากการอยู่ในที่สูง