ไทยแชมป์อาเซียนอุบัติเหตุทางถนน ชวนสร้างวัฒนธรรมงานเลี้ยงใหม่ สนุกได้ไร้แอลกอฮอล์

สสส.จับมือ ภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมเตือนสติ ฮาโลวีน หยุดผีซิ่ง ดื่ม-แล้วขับ สลดคนไทยยืนหนึ่งแชมป์อาเซียนสังเวยอุบัติเหตุบนท้องถนน วัยโจ๋เสี่ยงสุด ชวนสร้างวัฒนธรรมงานเลี้ยงใหม่ สนุกได้ไร้แอลกอฮอล์ ด้านพ่อผู้สูญเสียวอนเพิ่มโทษโชว์เฟอร์ดื่มขับ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่ลานกิจกรรมเกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กทม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ เครือข่ายเยาวชนพัฒนาคุณภาพชีวิต เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมรณรงค์รับวันฮาโลวีน ภายใต้แนวคิด Halloween 2019 NO AL Party #หยุดผีซิ่ง ภายในงานมีกิจกรรมของกลุ่มเยาวชนตลอดทั้งวัน อาทิ แต่งกายเป็นผี กิจกรรมหยุดผีซิ่ง บูธรณรงค์ ส่วนช่วงเย็นมีเวทีการแสดงจากเครือข่ายเยาวชน อาทิ น้องมิกซ์ เดอะแรปเปอร์ ซิน เดอะวอยซ์ แดเนียล ไมค์ทองคำ วง PENTATONIC และ DS.RU Band น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส.กล่าวว่า การเฉลิมฉลองฮาโลวีนมักมาพร้อมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นำไปสู่พฤติกรรมการดื่มแล้วขับПродолжитьПродолжить чтение “ไทยแชมป์อาเซียนอุบัติเหตุทางถนน ชวนสร้างวัฒนธรรมงานเลี้ยงใหม่ สนุกได้ไร้แอลกอฮอล์”

คณะกรรมาธิการยุโรปอนุมัติยาใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวที่กลับมาเป็นซ้ำและพบกลายพันธุ์

คณะกรรมาธิการยุโรป อนุมัติยา XOSPATA™ ของ Astellas สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ที่กลับมาเป็นซ้ำหรือดื้อยา และตรวจพบการกลายพันธุ์โดยใช้วิธี LeukoStrat® CDx FLT3 Mutation Assay ของ Invivoscribe ซานดิเอโก, 30 ต.ค. 2019 — Invivoscribe, Inc. ประกาศในวันนี้ว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้อนุมัติยา XOSPATA™ (gilteritinib) ของ Astellas สำหรับใช้เป็นยาเดี่ยวในการรักษา (Monotherapy) ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ที่กลับมาเป็นซ้ำหรือดื้อต่อการรักษา (relapsed/refractory AML) โดยมีการกลายพันธุ์ของยีน FLT3 (FLT3mut+) ซึ่งถูกตรวจพบโดยใช้วิธีการตรวจ LeukoStrat® CDx FLT3 Mutation Assay ของบริษัท Invivoscribe การตรวจด้วยวิธี LeukoStrat เป็นรายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (test menu) ที่ให้บริการผ่านทางบริษัทในเครือของ Invivoscribe ได้แก่ LabPMM LLCПродолжитьПродолжить чтение “คณะกรรมาธิการยุโรปอนุมัติยาใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวที่กลับมาเป็นซ้ำและพบกลายพันธุ์”

มะเร็งปอด: คุณรู้จักดีแค่ไหน

ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ คุณจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดหรือไม่? นอกจากการไอ สัญญาณเตือนเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดมีอะไรบ้าง? เมื่อถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอด โรคนี้สามารถรักษาหายได้หรือไม่? มะเร็งปอดแบ่งเป็นกี่ระยะ และคีโม คือ ทางรักษาเดียวของโรคนี้หรือไม่? หากคุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ถูกต้อง สิ่งนี้สามารถบ่งบอกได้ว่าคุณมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคมะเร็งปอดเป็นอย่างดี แต่หากคุณยังไม่สามารถตอบได้หรือตอบได้ไม่หมด นี่จะเป็นบทความที่ทำให้คุณรู้จักโรคมะเร็งปอด ภัยร้ายใกล้ตัวคุณและคนที่คุณรักได้ดียิ่งขึ้น คนส่วนมากมีความเข้าใจว่า ผู้ที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดได้นั้นต้องเป็นผู้สูบบุหรี่หรือผู้สูดดมควันที่เป็นมลพิษมาเป็นระยะเวลายาวนานเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหลายสาเหตุที่คุณไม่คาดคิดซึ่งสามารถนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งปอดได้ เช่น การสูดดมควันจากการทำอาหาร ควันที่มาจากธูปหรือเทียน และการเกิดยีนกลายพันธุ์ขึ้นในร่างกาย หลังจากทำความรู้จักกับสาเหตุของการเป็นโรคมะเร็งปอดแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณควรทำ คือ การหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองและคนรอบข้าง การไอถือเป็นสัญญาณเตือนหนึ่งที่คนทั่วไปรับรู้กันดีว่าผู้ที่มีอาการไออาจจะมีปัญหาสุขภาพบางอย่างเกิดขึ้นที่ปอด แต่สำหรับโรคมะเร็งปอดนั้นจำเป็นต้องสังเกตอาการ อื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตนร่วมด้วยโดยหากคุณมีอาการไอเรื้อรัง ไอปนเลือด น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ เหนื่อยง่าย เสียงแหบ หากคุณมีอาการเหล่านี้แสดงว่า ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องไปหาหมอเพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจว่ามีเนื้อร้ายอยู่ในปอดของคุณหรือไม่เพื่อทำการรักษาให้ทันท่วงที เนื่องจากโรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่ยิ่งรู้ไว รักษาเร็ว คุณจะมีโอกาสหายได้มากขึ้นหากถูกวินิฉัยว่าเป็นเพียงในระยะที่หนึ่งหรือสอง การวินิฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอดหรือไม่ ต้องใช้วิธีการเอกซเรย์ที่ปอด หรือส่องกล้องเข้าไปดูในหลอดลมแล้วพบว่ามีก้อนอยู่ จากนั้นจึงตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจเพื่อดูผลว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ และอีกวิธี คือ การตรวจวินิฉัยด้วยรังสีโดยโรคมะเร็งปอดสามารถแบ่งความรุนแรงของโรคออกเป็น 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะจะมีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ระยะที่ 1 นั้นเป็นระยะที่จะพบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอดซึ่งในระยะนี้ โรคมะเร็งปอดมักจะไม่มีการแสดงอาการความผิดปกติของร่างกายออกมาระยะที่ 2 นั้นเป็นระยะที่มะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดПродолжитьПродолжить чтение “มะเร็งปอด: คุณรู้จักดีแค่ไหน”

ความเครียด: ไทยใช้เงินรักษาโรคน้อยที่สุด เหตุระบบสุขภาพเข้มแข็ง ผู้ป่วยนิยม รพ.รัฐ

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมา ซิกน่า บริษัทประกันชีวิตชื่อดังระดับโลก จากสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่รายงานการศึกษาเรื่อง “CHRONIC STRESS: ARE WE REACHING HEALTH SYSTEM BURN OUT? หรือ “ความเครียดแบบเรื้อรัง: เรากำลังเข้าสู่ระบบสุขภาพที่มอดไหม้หรือไม่?” โดยศึกษาปรากฏการณ์ “ความเครียด” และผลที่เกิดจากความเครียดในระบบสุขภาพ ในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเกาหลีใต้ ทั้งนี้ พบว่าโรคที่เกิดจากความเครียด กำลังเป็นปัญหาสำคัญของระบบสุขภาพในทุกประเทศ และค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคเหล่านี้ ล้วนอยู่ใน “ขาขึ้น” สำหรับความเครียดเรื้อรังไม่เพียงเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตเช่น “ความวิตกกังวล” “โรคแพนิค” และ “ภาวะซึมเศร้า” เท่านั้น แต่สามารถแสดงออกในอาการทางกายภาพ โดยส่งผลบ่อยที่สุดใน 4 อาการ ได้แก่ 1.อาการเจ็บหน้าอก 2.ปัญหาการไหลเวียนโลหิต 3.ปัญหาระบบทางเดินอาหาร 4.ปัญหาระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal Pain)ПродолжитьПродолжить чтение “ความเครียด: ไทยใช้เงินรักษาโรคน้อยที่สุด เหตุระบบสุขภาพเข้มแข็ง ผู้ป่วยนิยม รพ.รัฐ”

บุหรี่ไฟฟ้า: พระเอกหรือผู้ร้าย

หลายคนคงปวดหัวกับสงครามสื่อเถียงกันเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมา จะเชื่อใครก็ดูจะไม่แน่ใจ เพราะต่างมีจุดยืนสุดโต่ง ควักข้อมูลมาสู้กันจากแหล่งที่สนับสนุนจุดยืนของตนเอง ไอ้เราคนกลางจึงมีหน้าที่ตีแผ่ข้อมูลล่าสุดจากงานวิชาการทบทวนงานวิจัยทั่วโลกโดย National Academy of Sciences ของอเมริกาที่เผยแพร่เดือนนี้ มกราคม 2561 จะได้รู้กันให้ชัดว่าอะไรควรเชื่อ อะไรไม่ควรเชื่อ เพราะเค้ารีวิวแบบงานต่องานกันให้เห็นจะๆ สังคมปัจจุบันบอกตามตรงว่าเชื่อใครได้ยากเข้าไปทุกที ดีที่สุดคือหาเอง อ่านเอง กลั่นกรองเอง และเชื่อตัวเอง จะขอนำเสนอให้เราเข้าใจกันง่ายๆ โดยแบ่งความจริงเป็น 3 ประเภท ดังนี้ “ความจริงประเภทฟันธงได้ (Conclusive evidence)” โดยปราศจากข้อสงสัยเคลือบแคลงใดๆ เนื่องจากมีงานวิจัยทั่วโลกมากมายหลายชิ้นยืนยัน แถมงานเหล่านั้นออกแบบวิจัยได้ดี จนสามารถสรุป เชื่อ นำไปปฏิบัติได้ ไม่ต้องมาแย้งอะไรอีกแล้ว”ความจริงประเภทน่าเชื่อถือได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริง (Substantial evidence)” โดยมีโอกาสแย้งได้ยาก เพราะมีงานวิจัยคุณภาพดีหลายชิ้นมายืนยัน โอกาสแย้งแล้วถูกมีน้อย”ความจริงประเภทที่มีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้น (Moderate evidence)” โดยมีโอกาสแย้งได้บ้างว่าอาจเกิดจากปัจจัยอื่นมามีอิทธิพลทำให้เกิดผลเช่นนั้นได้ ทั้งนี้ความจริงประเภทนี้มีงานวิจัยสนับสนุนที่มีคุณภาพระดับพอใช้เท่านั้น ส่วนความจริงประเภทที่มีงานวิจัยจำนวนจำกัด หรือคุณภาพด้อยไปกว่านี้จะไม่นำมาเล่าให้ฟัง เพราะไม่น่าเชื่อถือ พร้อมหรือยังครับ? มา…มาดูกัน “ความจริงประเภทฟันธงได้” ข้อมูลวิชาการชี้ชัดว่า 1.บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดฝุ่นละออง และนิโคตินในสิ่งแวดล้อมโดยรอบเพิ่มขึ้น 2.บุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่นั้นนอกจากมีนิโคตินแล้ว ยังมีสารพิษที่อาจมีผลเสียต่อร่างกายจำนวนหลายต่อหลายชนิดПродолжитьПродолжить чтение “บุหรี่ไฟฟ้า: พระเอกหรือผู้ร้าย”

เบาหวาน: สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ประเมินทั่วโลกมีผู้ป่วย 425 ล้านราย

ข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF: International Diabetes Federation) ในปี พ.ศ. 2560 มีการประเมินว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน รวม 425 ล้านรายทั่วโลก แบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 98 ล้านราย และช่วงอายุ 20-64 ปี จำนวน 327 ล้านราย และคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2588 จะมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 629 ล้านรายทั่วโลก โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 191 ล้านราย หรือมีอัตราการเพิ่มอยู่ที่ร้อยละ 94.8 และในช่วงอายุ 20-64 ปี จำนวน 438 ล้านราย หรือมีอัตราการเพิ่มอยู่ร้อยละ 33.9 ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุจะสูงกว่าช่วงวัยทำงาน โดยปัจจัยหนึ่งมาจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงทำให้ประชากรมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวถึงภาพรวมสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย รวมถึงให้โรงพยาบาล ทีมแพทย์และพยาบาลร่วมกันคิดวิเคราะห์และหาแนวทางรักษาผู้ป่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน เนื่องด้วยปัจจุบันอุบัติการณ์โรคเบาหวานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องПродолжитьПродолжить чтение “เบาหวาน: สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ประเมินทั่วโลกมีผู้ป่วย 425 ล้านราย”

เบาหวาน: ไทยป่วยพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน คาดถึง 5.3 ล้านคนในปี 2583

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมาจากวิถีชีวิตแบบเนือยนิ่ง โรคอ้วน และอายุที่มากขึ้น ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาเพียงร้อยละ 35.6 หรือเพียง 2.6 ล้านคน บรรลุเป้าหมายในการรักษาได้เพียง 0.9 คน ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในเมืองไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี 2583 ซึ่งหากดูแลรักษาได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต และการถูกตัดเท้าหรือขา นอกจากนี้พบว่า เบาหวานที่เกิดในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว และผู้ใหญ่วัยต้นนั้น มีข้อมูลชี้ชัดว่าโรคมีความรุนแรงกว่าเบาหวานที่เกิดในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ รวมถึงตอบสนองต่อการรักษาได้น้อยกว่า นำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ อย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่า สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรในวัยทำงาน “เยาวชนที่เป็นเบาหวานตั้งแต่วัยเด็กเล็กและวัยเรียน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ครอบคลุมอยู่ในรายการของสำนักง่านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีค่าใช้จ่ายอยู่ราว 13,000 ต่อปี ทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยที่มีฐานะยากจน ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์นี้ได้ หลายหน่วยงานจึงได้ร่วมมือจัดกิจกรรมระดมทุนช่วยเหลือเยาวชนกลุ่มนี้ที่มีอยู่ราว 100,000 คน ในประเทศไทย”ПродолжитьПродолжить чтение “เบาหวาน: ไทยป่วยพุ่งสูงต่อเนื่อง แตะ 4.8 ล้านคน คาดถึง 5.3 ล้านคนในปี 2583”

โรคหลอดเลือดสมอง: ไทยมีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 30,000 ราย

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคระบุว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก พบผู้ป่วยจำนวน 80 ล้านคน ผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคน และยังพบผู้ป่วยใหม่ถึง 13.7 ล้านคนต่อปี โดย 1 ใน 4 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป และร้อยละ 60 เสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชากรโลกปี 2562 พบว่า ทุกๆ 4 คน จะป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน โดยร้อยละ 80 ของประชากรโลกที่มีความเสี่ยงสามารถป้องกันได้ สำหรับประเทศไทย จากรายงานข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ปี 2556-2560 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2559 พบผู้ป่วย 293,463 รายในปี 2560 พบผู้ป่วย 304,807ПродолжитьПродолжить чтение “โรคหลอดเลือดสมอง: ไทยมีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 30,000 ราย”

PM 2.5: คาด ธ.ค.นี้ ฝุ่นพิษ มาอีกระลอก สธ.วางเกณฑ์เปิดวอร์รูมสู้ 4 ระดับ

คาด ธ.ค.นี้ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 มาอีกระลอก สธ.เร่งให้ความรู้ 4 กลุ่มเสี่ยง “เด็ก-ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยติดเตียง-ผู้ป่วยโรคหอบ” สั่งสถานพยาบาลรับมือการเจ็บป่วย วางเกณฑ์เปิดวอร์รูมสู้ 4 ระดับ วอนประชาชนงดกิจกรรมเกิดฝุ่น ด้าน กรมการแพทย์ เล็งเปิดคลินิกมลพิษใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เพิ่ม เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมคณะได้มีการประชุมทางไกลร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 พร้อมมีข้อสั่งการรับสถานการณ์ นพ.สุขุม กล่าวภายหลังประชุมฯ ว่า จากการประเมินสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าในกรุงเทพและปริมณฑล เคยประสบปัญหาฝุ่นПродолжитьПродолжить чтение “PM 2.5: คาด ธ.ค.นี้ ฝุ่นพิษ มาอีกระลอก สธ.วางเกณฑ์เปิดวอร์รูมสู้ 4 ระดับ”

โรคหลอดเลือดและหัวใจ: ไลฟ์สไตล์มีอะไรบ้าง

สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย คือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมาจากไลฟ์สไตล์ผิดๆ ที่ทำให้คนไทยเสี่ยงเป็นโรคนี้มากขึ้น โรคหัวใจและหลอดเลือด นับเป็น 1 ใน 3 สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย นอกจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ เนื่องจากโรคหัวใจเรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าเป็น และไม่เคยเข้ารับการตรวจหรือการรักษามาก่อน ยังไม่นับรวมการที่โรคหัวใจมักเป็นโรคที่ต่อเนื่องมาจากโรคเรื้อรังอื่นๆ อย่างเบาหวาน ความดัน และไขมันในเลือดสูง โดยโรคหัวใจที่คนไทยเป็นมากที่สุดคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ซึ่งมักเกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด จนเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยในอดีตมักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่ในปัจจุบันจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม อาหารไขมันสูง ไปจนถึงการทานบุฟเฟ่ต์หรือปิ้งย่างเป็นประจำ ประกอบกับการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ มีความเครียดสูง รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีกลุ่มผู้อายุต่ำกว่า 40 ปี มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเฉลี่ยวันละ 150 คน อุบัติการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้นทุกปี โดยส่วนมากเป็นประชากรในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี นับเป็นอันดับต้นๆ และหากมองถึงสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจของคนทั้งประเทศ อาจกล่าวได้ว่าสูงถึงเฉลี่ย 150 คน/วัน โดยส่วนใหญ่เป็นอาการแบบเฉียบพลัน ซึ่งคาดว่าเกิดจากการที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงและไม่เคยเข้ารับการตรวจรักษาПродолжитьПродолжить чтение “โรคหลอดเลือดและหัวใจ: ไลฟ์สไตล์มีอะไรบ้าง”

เยลลี่กัญชา: อย.ชี้ผิดกฎหมาย ย้ำไทยให้ใช้กัญชาเฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น

จากกรณีมีข่าวผลิตภัณฑ์เยลลี่ที่มีส่วนผสมของกัญชา อย.ย้ำกัญชาถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถผลิต นำเข้า จำหน่าย ครอบครอง หรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาและไม่สามารถซื้อขายได้ทุกกรณี รวมทั้งผ่านทางออนไลน์ นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข่าวผลิตภัณฑ์เยลลี่ที่มีส่วนผสมของกัญชา เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย ครอบครอง หรือส่งออก และไม่สามารถซื้อขายผ่านทางออนไลน์ได้ หากพบการนำเข้าไม่ว่าจะนำเข้ามาด้วยตนเอง หรือสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท ส่วนผู้จำหน่ายและผู้ครอบครอง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งผู้โฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับในประเทศไทย อนุญาตให้ใช้กัญชาเฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น โดยต้องสั่งจ่ายยากัญชาในสถานพยาบาล แพทย์ผู้สั่งจ่ายยาได้ต้องเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน หรือแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมจากกระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ กรณีการตรวจสอบการนำเข้ามีมาตรการดูแลอย่างเข้มงวดПродолжитьПродолжить чтение “เยลลี่กัญชา: อย.ชี้ผิดกฎหมาย ย้ำไทยให้ใช้กัญชาเฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น”

กำเนิด “แพทยสภา”

แพทยสภาถือกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2511 แม้ว่าต่อมา พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 จะถูกยกเลิกไปโดย พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ก็ตาม ในมาตรา 45 ของ พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 ให้คงเป็นแพทยสภาตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ต้นกำเนิดของแพทยสภา คือ “สภาการแพทย์” กฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉบับแรกในประเทศไทยคือ พระราชบัญญัติการแพทย์พุทธศักราช 2466 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้มีองค์กรการควบคุมการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์ขึ้น เรียกว่า “สภาการแพทย์” และประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวกับการแพทย์นั้นตามกฎหมายฉบับนั้นเรียกว่า “การประกอบโรคศิลปะ” รูปแบบของสภาการแพทย์ดังกล่าวมีฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงซึ่งมีหน้าที่บังคับบัญชากรมสาธารณสุขได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (ขณะนั้นกระทรวงสาธารณสุขมีฐานะเป็นกรมเช่นเดียวกัน) ดังนั้นสภาการแพทย์จึงมีฐานะทางราชการเท่ากับกรมสาธารณสุข มีลักษณะเป็นส่วนราชการของกระทรวงมหาดไทย และไม่เปิดโอกาสให้มี “สมาชิก” เข้าสังกัดเพราะในกฎหมายไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องของสมาชิกไว้เลย หากจะเปรียบเทียบกับเนติบัณฑิตยสภาซึ่งได้จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2457 แล้วจะเห็นว่า เนติบัณฑิตยสภาตามพระราชโองการนั้นมีสมาชิกได้หลายประเภท โครงสร้างของสภาการแพทย์กับเนติบัณฑิตยสภาจึงมีข้อแตกต่างกันอยู่ ต่อมาใน พ.ศ.ПродолжитьПродолжить чтение “กำเนิด “แพทยสภา””

Telemedicine: ดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยวิกฤต  ระหว่างการส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาล  เจ้าหน้าที่พยาบาลประจำรถพยาบาล ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ถูกต้อง และรวดเร็ว  โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หลายแห่ง จึงได้นำเทคโนโลยี Telemedicine มาใช้เพื่อดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล เทคโนโลยี “การดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาลด้วยการควบคุมจากระยะไกล” หรือ Telemedicine คือ การนำเทคโนโลยี มาใช้บริหารจัดการระบบ เปลี่ยนรถพยาบาลธรรมดาให้เป็น “รถพยาบาลอัจฉริยะ” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่บนรถพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย โดยรถพยาบาลอัจฉริยะ จะได้รับการติดตั้ง  เครื่องส่งสัญญาณต่างๆ เช่น ความดันโลหิต ค่าออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นหัวใจ  GPS ระบุตำแหน่งรถ และตำแหน่งผู้ป่วย  กล้อง CCTV ติดตามภาพการรักษา   เมื่อรถพยาบาลอัจฉริยะไปรับผู้ป่วยวิกฤต แพทย์ประจำศูนย์สั่งการ สามารถติดตามข้อมูลผู้ป่วยที่ถูกส่งเข้ามา ได้ แบบ Real time  ช่วยให้คำปรึกษา แนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีก่อนถึงโรงพยาบาล เสมือนมีแพทย์ฉุกเฉินเดินทางไปในรถด้วย  ประโยชน์ของการนำระบบ Telemedicine มาดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล ประโยชน์ของการนำระบบ“การดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาลด้วยการควบคุมจากระยะไกล”  หรือ Telemedicine มาใช้ มีดังนี้  เพิ่มขีดความสามารถของรถพยาบาลระดับสูงให้สามารถรองรับผู้ป่วยวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์ประจำศูนย์สั่งการของโรงพยาบาลได้รู้ข้อมูลผู้ป่วยแบบ Real time ทำให้มีการรักษาอย่างถูกจุด ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ช่วยลดอัตราตายและพิการได้ทางโรงพยาบาลได้ทราบข้อมูล ตำแหน่งของรถพยาบาลระหว่างปฏิบัติภารกิจ ทำให้สามารถควบคุมเส้นทางПродолжитьПродолжить чтение “Telemedicine: ดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาล”

Telemedicine: เร่งปฏิรูประบบสาธารณสุข

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อดีต รองประธาน กสทช. จากการที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข มีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล และปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข โดยนายอนุทิน ได้มอบหมายให้พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และยังควบตำแหน่งโฆษกของพรรคอีกด้วย ให้ช่วยงานผลักดันนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข คือ การปฏิรูประบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ระบบโทรเวชกรรม หรือ Telemedicine มาเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงาน พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขถือว่า เป็นแหล่งรวบรวมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เป็นผู้ช่วยชีวิตผู้คนและเป็นวีรบุรุษที่เสียสละ และต้องทำการตอบสนองผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา แต่ในปัจจุบันในประเทศไทยและในหลายๆประเทศทั่วโลก ล้วนประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยต่อแพทย์มากเกินไป ทำให้แพทย์มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาต้องใช้เวลารอคอยเป็นเวลานานหลายชั่วโมง และแพทย์เองก็อาจมีความเสี่ยงที่จะตัดสินใจผิดพลาด เนื่องจากความเหนื่อยล้า พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าเฉลี่ยแพทย์ 1 คน ต่อจำนวนประชากร 439 คน แต่ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยแพทย์ 1 คน ต่อจำนวนประชากร 2,065ПродолжитьПродолжить чтение “Telemedicine: เร่งปฏิรูประบบสาธารณสุข”

บริจาคอวัยวะ: ‘ไทย’ เอาจริง! ยกเครื่องระบบข้อมูล ‘ดวงตา’ ทั่วประเทศ

แม้ว่าการบริจาค “อวัยวะ-ดวงตา” จะช่วยเหลือต่อชีวิตให้กับผู้อื่นได้ แต่ทุกวันนี้ยังคงมีความเชื่อและความไม่รู้อีกมากมายที่เป็นอุปสรรคของการดำเนินการ ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 2562 พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ 6,311 ราย และผู้รอรับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา 13,510 ราย ทั้งหมดนี้กำลังเฝ้ารอคอยความหวังในการได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่อยู่นอกเหนือการเพิ่มจำนวนผู้ผู้บริจาค คือฐานข้อมูลของผู้ที่ได้แสดงเจตจำนงเอาไว้ยังไม่มีความชัดเจน มีหลายกรณีพบว่าแม้ผู้เสียชีวิตจะแสดงความจำนงไว้ แต่คนในครอบครัวไม่ทราบ หรือดำเนินการล่าช้าจนทำให้อวัยวะเหล่านั้นใช้การไม่ได้ อุปสรรคดังกล่าว นำมาสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงการนำข้อมูลผู้บริจาคอวัยวะและดวงตาไปใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข กรมการปกครอง สภากาชาดไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 13 พ.ย.62 ที่ผ่านมา การลงนามครั้งนี้ตั้งเป้าที่จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลการบริจาคอวัยวะและดวงตาในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้แสดงความจำนง บริจาคอวัยวะและดวงตาในการนำไปใช้ในทางการแพทย์ ช่วยสร้างชีวิตใหม่ให้กับผู้รอรับบริจาคอวัยวะและดวงตา ปัจจุบันการบริจาคมาจาก 2 ช่องทางหลักๆ หนึ่งคือระบบของสภากาชาดไทย ทั้งในส่วนของศูนย์บริจาคอวัยวะ และศูนย์ดวงตา อีกหนึ่งคือกรมการปกครอง ที่สามารถแสดงความจำนงไว้ได้ตอนทำบัตรประชาชน สำหรับตัวเลขในปัจจุบันมีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ 1,114,915 ราย แสดงความจำนงบริจาคดวงตา 1,311,696 ราย การบูรณาการความร่วมมือของ 5ПродолжитьПродолжить чтение “บริจาคอวัยวะ: ‘ไทย’ เอาจริง! ยกเครื่องระบบข้อมูล ‘ดวงตา’ ทั่วประเทศ”