ปากแตก (Cracked Mouth)

ริมฝีปากแตกหรือปากแตก (Cracked Mouth) คือภาวะของริมฝีปากแห้ง อาการปากแตกสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่:

  • สภาพอากาศ
  • เลียริมฝีปากบ่อยเกินไป
  • การใช้ยาบางชนิด

ปากแตกเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป ในบางกรณีอาจมีอาการรุนแรง ซึ่งจะเรียกว่า “ปากนกกระจอก”  มีสาเหตุจากการติดเชื้อทำให้มีอาการผิวแตกแห้งที่มุมปาก 

ปากแตกสามารถรักษาหรือป้องกันได้ง่าย แต่หากยังมีอาการที่ต่อเนื่องและรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อขอคำแนะนำในการรักษาต่อไป 

สาเหตุ ปากแตก

ริมฝีปากของเราไม่มีต่อมน้ำมันเหมือนผิวหนังส่วนอื่นๆ จึงมีโอกาสที่จะแห้งและแตกได้ง่าย การขาดความชุ่มชื้นของริมฝีปากจะทำให้อาการหนักยิ่งขึ้น ทั้งจากสภาพอากาศที่แห้ง หรือการขาดความเอาใจใส่ดูแลของเราเอง 

ความชื้นที่ลดลงเพียงเล็กน้อยในช่วงฤดูหนาว เป็นสาเหตุของปากแตกได้ รวมทั้งการอยู่กลางแดดร้อนก็เป็นสาเหตุทำให้อาการปากแตกแย่ลงได้

สาเหตุที่พบบ่อยอีกอย่างหนึ่งคือนิสัยชอบเลียริมฝีปาก เมื่อน้ำลายที่เคลือบริมฝีปากแห้งจะทำให้ปากเราแตกยิ่งขึ้นในภายหลัง

อาการ ปากแตก

ปากแตกจะเกิดขึ้นบริเวณรอบๆ ริมฝีปาก โดยแสดงอาการดังต่อไปนี้ :

  • ริมฝีปากแห้ง
  • มีสะเก็ดหลุดลอก
  • เป็นขุย หรือเป็นเกล็ด
  • เจ็บ 
  • บวม
  • มีรอยแตก
  • มีเลือดออกที่ริมฝีปาก

การรักษา ปากแตก

โดยทั่วไป วิธีรักษาปากแตกสามารถดูแลรักษาได้หายได้เองที่บ้าน เบื้องต้นควรตรวจสอบและทำให้ริมฝีปากของเรามีความชุ่มชื้นเพียงพอ โดยวิธีการดังนี้:

  • ทาลิปบาล์มตลอดวัน
  • ดื่มน้ำมากๆ ใช้เครื่องทำความชื้นที่บ้าน (ในกรณีอยู่ในพื้นที่มีอากาศแห้ง)
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อากาศหนาวเย็น หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้ผ้าพันคอปิดบังบริเวณปากไว้ เพื่อป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นที่ริมฝีปาก

แสงแดดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปากแตกได้ โดยเฉพาะในคนที่มีอายุมาก หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป ลิปบาล์มสามารถช่วยลดความชุ่มชื้นที่จะระเหยออกจากริมฝีปากได้ และครีมกันแดดยังช่วยลดการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิวหนัง ซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องไปถึงริมฝีปากด้วย

[Total: 0 Average: 0]