การรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ (Brachytherapy)

การรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ (ฺBrachytherapy) คือ การนำสารกัมมันตรังสีซึ่งปล่อยรังสีปริมาณสูง ไปไว้ในก้อน เนื้องอก หรือติดกับก้อนเนื้องอก เช่น การรักษามะเร็งปากมดลูก และการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยทั่วไปที่รู้จักกันก็คือ การใส่แร่ นั่นเอง

การรักษาโรคมะเร็งโดยการใส่แร่ หรือ รังสีระยะใกล้ (Brachytherapy) เป็นหนึ่งในวิธีการรักษามะเร็งที่เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1901 จนกระทั่งปัจจุบัน การใช้รังสีระยะใกล้มีข้อดี คือ ก้อนมะเร็งจะได้รับรังสีปริมาณมากในแต่ละ ครั้งที่ใส่แร่ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลาย ในขณะที่อวัยวะข้างเคียงต้องได้รับรังสีปริมาณน้อยเพื่อลดผลข้างเคียงหลังการ รักษา ทำให้การรักษาโดยวิธีนี้มีความซับซ้อนต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้องแม่นยำและทำโดยผู้ชำนาญการ

ข้อบ่งชี้การตรวจ

การรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ Brachytherapy สามารถใช้กับมะเร็งต่าง ๆ ดังนี้

  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งเยื่อบุมดลูก
  • มะเร็งที่ลิ้น
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • มะเร็งสมอง
  • มะเร็งรังไข่
  • มะเร็งโพรงมดลูก
  • มะเร็งหลอดอาหาร
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งเต้านม

ข้อดีของการรักษา

การรักษาวิธีนี้เป็นการรักษาที่ใช้รังสีเข้าไปใกล้ตำแหน่งที่ต้องการรักษาโดยตรง ทำให้ได้รับรังสีปริมาณมากและอวัยวะใกล้เคียงอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจะได้รับรังสีน้อยลง และสามารถใช้เป็นการรักษาร่วมกับการฉายรังสีจากภายนอกได้ทางเลือกอื่นในการรักษา

  • การรักษาที่ใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น
  • การผ่าตัด

เตรียมตัวก่อนใส่แร่

  • เย็นก่อนวันนัด แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม
  • เช้าวันนัดใส่แร่ แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม
  • มาถึงโรงพยาบาลตามเวลานัดหมาย หรือมาก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที
  • กรุณาพาญาติมาด้วยทุกครั้ง

การใส่แร่

  • การใส่แร่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา โดยแพทย์จะใส่เครื่องมือในช่องคลอด และ/หรือโพรงมดลูก จากนั้นจะเอกซเรย์เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของเครื่องมือ เมื่อเครื่องมืออยู่ในตำแหน่งที่ต้องการจึงจะมีการใส่แร่เข้าไปในเครื่องมือ
  • ในระหว่างการใส่แร่ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลา และไม่ควรกังวลมากเกินไปในขณะใส่แร่ เพื่อให้การใส่แร่ไม่ลำบากและลดความเจ็บปวดของผู้ป่วย
  • หลังใส่เครื่องมือเรียบร้อยแล้วต้องมีการคำนวณปริมาณรังสีโดยเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความถูกต้อง เมื่อคำนวณเรียบร้อยจึงเริ่มทำการรักษา โดยการใส่แร่เข้าไปในเครื่องมือซึ่งใช้เวลาในการรักษาไม่นาน ส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 15 – 30 นาที
  • เมื่อครบเวลาการรักษา เครื่องคอมพิวเตอร์จะนำแร่ออกจากคนไข้โดยอัตโนมัติ แล้วแพทย์จะนำเครื่องมือออกอีกครั้ง ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีแร่ติดตัวกลับไป
  • จำนวนครั้งในการใส่แร่ของผู้ป่วยแต่ละรายอยู่ที่ประมาณ 2 – 5 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับโรคของผู้ป่วย และการวินิจฉัยของแพทย์ผู้รักษาเป็นสำคัญ ดังนั้นควรมาใส่แร่ตามคำแนะนำของแพทย์ให้ครบ เพื่อประโยชน์ในการรักษาที่ดีที่สุดของผู้ป่วย
[Total: 0 Average: 0]