การผ่าตัดไส้ติ่งโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic Appendectomy)

การผ่าตัดไส้ติ่งโดยการส่องกล้อง คือ การรักษาโดยการเจาะรูเล็ก ๆ และสอดกล้องเข้าไปในท้องตรงใต้สะดือ เพื่อทำการรักษาด้วยการตัดไส้ติ่งออกผ่านบริเวณแผลขนาดไม่เกิน 2 ซม.ข้อดีของการรักษาโดยวิธีนี้ คือ แผลเล็ก ฟื้นตัวไว ดูแลแผลง่ายไม่ต้องกลัวการติดเชื้อจากการเปิดแผล แผลเป็นน้อย หลังการผ่าตัดคนไข้ก็จะเจ็บแผลน้อย สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำได้อย่างรวดเร็วมากกว่าการผ่าตัดใหญ่รูปแบบเก่า

หรือ Keyhole Surgery แพทย์จะผ่าตัดเปิดช่องเล็ก ๆ บริเวณหน้าท้อง แล้วสอดท่อขนาดเล็กที่เรียกว่า แคนนูล่า (Cannula) เข้าไปตามช่องเพื่อขยายช่องท้องด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากนั้นจะสอดอุปกรณ์ที่เรียกว่า แลพพาโรสโคป (Laparoscope) ซึ่งเป็นท่อบาง ๆ ที่มีความยาว มีหลอดไฟและมีกล้องความละเอียดสูงอยู่ที่ปลายท่อ ซึ่งจะคอยส่งสัญญาณภาพให้แพทย์ผ่าตัดพบบริเวณที่เป็นไส้ติ่ง แล้วแพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษขนาดเล็กสอดเข้าไปในช่องเล็ก ๆ ที่ผ่าบริเวณหน้าท้อง เพื่อทำการตัดแล้วนำไส้ติ่งออกมา จากนั้นจึงทำความสะอาด เย็บปิด และตกแต่งบาดแผลทั้งหมด เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม เนื่องจากวิธีนี้จะลดความเสี่ยงที่อวัยวะภายในอาจได้รับผลกระทบจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ทำให้เกิดแผลเล็กกว่า และผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหมาะกับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน

การเตรียมตัวก่อน การผ่าตัดไส้ติ่งโดยการส่องกล้อง

  • การทดสอบ แพทย์จะถามประวัติอาการและตรวจร่างกายด้วยการกดบริเวณท้องตามจุดต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดท้อง และประเมินว่าเป็นลักษณะไส้ติ่งอักเสบหรือไม่ และอาจแนะนำให้ตรวจเลือดหรือฉายภาพรังสีเพิ่มเติมเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • อาหารการกิน ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่ง
  • ประวัติทางการแพทย์ แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนว่ากำลังใช้ยารักษาชนิดใด กำลังเจ็บป่วยหรือรักษาอาการป่วยใดอยู่ หรือแพ้ยาชนิดใด เคยเจ็บป่วย หรือเคยได้รับการรักษาประเภทใด
  • เตรียมความพร้อม หากทราบล่วงหน้าว่าต้องผ่าตัดไส้ติ่ง ควรแจ้งให้ครอบครัว เพื่อน และบุคคลใกล้ชิดทราบ เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นคอยดูแล หรือขับรถรับส่งผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด เนื่องจากนอกเหนืออาการเจ็บปวดที่แผลผ่าตัด อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาสลบ ผู้ป่วยอาจมีอาการง่วงซึมและไม่สามารถดูแลตนเองได้

ขั้นตอน การผ่าตัดไส้ติ่งโดยการส่องกล้อง

  • การใช้ยาชาและยาสลบ ในการผ่าตัดไส้ติ่ง แพทย์จะใช้ยาสลบและยาระงับความรู้สึกบางชนิดฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวตลอดระยะเวลาที่ทำการผ่าตัด แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดบริเวณที่ต้องทำการผ่าตัดเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความเจ็บปวด แต่จะยังคงรู้สึกตัวอยู่ตลอดระยะเวลาที่ผ่าตัด
  • การผ่าตัด แพทย์จะมีดุลยพินิจเลือกใช้วิธีการผ่าตัดตามความเหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย ความรุนแรงของการอักเสบ รวมถึงประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย โดยมีการผ่าตัดไส้ติ่ง 2 วิธี ดังต่อไปนี้
  • การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง (Open Appendectomy) แพทย์จะผ่าเปิดช่องท้องบริเวณช่วงท้องด้านล่างขวาเป็นความยาวประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วตัดไส้ติ่งซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่เชื่อมติดกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้นออก จากนั้นแพทย์จะเย็บปิดแผล วิธีการนี้เป็นวิธีที่สะดวกต่อการทำความสะอาดเนื้อเยื่อและอวัยวะบริเวณใกล้เคียงหากมีการอักเสบของไส้ติ่งจนไส้ติ่งแตก และเป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ที่เคยผ่าตัดหน้าท้องมาก่อน
  • การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Appendectomy หรือ Keyhole Surgery) 
[Total: 1 Average: 5]