รักษามะเร็งแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์ (Targeted Therapy)

Targeted cancer therapy เป็นการใช้ ยา หรือ สารบางตัวที่ไปยับยั้งการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

โดยการรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้น เนื่องมาจากนัก

วิทยาศาสตร์เรียกโมเลกุลที่มีความจำเพาะนี้ว่า “molecular targets” ดังนั้นการรักษาใดใดที่ใช้ “molecular targets” นี้จึงถูกเรียก

ว่า “molecularly targeted drugs” หรือ “molecularly targeted therapies” เมื่อพิจารณาในระดับโมเลกุล หรือ การเปลี่ยนแปลง

ระดับเซลล์แล้วกล่าวได้ว่า targeted cancer therapy นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่นๆ รวมไปถึงการรักษาด้วย

ยาเคมีบำบัด หรือ การฉายแสง ซึ่งนอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีความปลอดภัยกับเซลล์ปกติในร่างกายอีกด้วย

ในปัจจุบันมี targeted cancer therapy หลายตัวที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของประเทศอเมริกา (US FDA)

แต่ก็ยังมีอีกหลายตัวที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการวิจัยซึ่งมีตั้งแต่ระดับการศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในคน

ในการวิจัยเหล่านี้มีทั้งการวิจัยเพื่อใช้ในการรักษาโดยใช้ยา molecularly targeted drugเพียงตัวเดียว หรือใช้รักษาควบคู่ไปกับ

ยา molecularly targeted drug ตัวอื่น หรือคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น.

targeted cancer therapy ทำงานอย่างไร?

targeted cancer therapy นั้นจะไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และ การกระจายของเซลล์มะเร็ง โดยเป้าหมายคือโปรตีน

ที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ที่มีผลกระทบต่อการแบ่งตัว การเคลื่อนที่ การตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก หรือแม้แต่การ

ตายของเซลล์เอง ซึ่งผลจากกระบวนการเหล่านี้จะมีผลทำให้เกิดการหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และบางครั้งจะไปกระตุ้นให้เซลล์

มะเร็งตายโดยตัวของมันเองโดยกระบวนการที่เรียกว่า “apoptosis” นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยทางอ้อมโดยไปกระตุ้น

ระบบภูมิคุ้มกันให้มาทำลาย หรือ กระตุ้นการส่งสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้นเอง ดังนั้นการพัฒนา targeted

therapy นั้นจึงเป็นการหากลยุทธ์ เพื่อที่จะหาว่าเป้าหมายใดที่เป็นตัวกุญแจสำคัญต่อ การเจริญเติบโตของเซลล์ และ การอยู่รอดของเซลล์

นั่นเอง

ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือ chronic myeloid leukemia (CML) ซึ่งเป็นผลมาจากการมียีน BCR-ABL ภายในร่างกายโดยยีนดังกล่าว

เกิดขึ้นเมื่อมีการแตกตัวของโครโมโซมคู่ที่ 9 และ 22 แล้วเกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างกันในช่วงนั้น หลังจากนั้นผลที่ได้คือโครโมโซม

คู่หนึ่งที่มีทั้ง ABL gene จากโครโมโซมคู่ที่9 และ BCR gene จากโครโมโซมคู่ที่ 22 อยู่ด้วยกัน ซึ่งโดยปกตินั้นโปรตีนที่สร้างโดย ABL

gene (Abl) จะสามารถไปควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิกิริยากับ signaling molecule อื่นๆ แต่ในกรณีที่โปรตีนชนิด

นี้ถูกสร้างออกมาในรูปของ Bcr-Abl จาก BCR-ABL fusion gene ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนโครโมโซมดังกล่าวข้างต้น โปรตีนนั้น

จะสามารถทำงานได้ทันที ดังนั้น Bcr-Abl จึงเป็น molecular target ที่ดีตัวหนึ่งเพื่อนำไปพัฒนาใน targeted cancer therapy ต่อไป

การรักษาแบบ Targeted Therapy มีกระบวนการอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Precision Medicine ซึ่งจะนำตัวอย่างเซลล์มะเร็งของคนไข้หลายๆ คนมาวิเคราะห์โมเลกุลโปรตีนและลักษณะความผิดปกติของยีน เพื่อออกแบบตัวยาที่เข้ากับคนไข้ 

ปัจจุบันก็มีตัวยาเกิดขึ้นมากมาย แม้จะไม่สามารถรักษามะเร็งได้ทุกชนิด แต่ก็เป็นวิธีการที่ตอบสนองต่อโรคได้ครอบคลุมมากขึ้น โดยตัวยาจะเข้าไปหยุดมะเร็งที่เซลล์ตั้งต้น ตั้งแต่หยุดกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หยุดการเคลื่อนที่ลุกลาม และทำให้เซลล์มะเร็งไม่ตอบสนองสิ่งกระตุ้นอีกต่อไป

Targeted Therapy เป็นแนวทางการรักษาที่ลดผลข้างเคียงที่มีต่อเซลล์ปกติ เมื่อใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆ จะช่วยยืดอายุผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และเพิ่มโอกาสหายในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก

[Total: 1 Average: 4]