Targeted cancer therapy เป็นการใช้ ยา หรือ สารบางตัวที่ไปยับยั้งการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
โดยการรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้น เนื่องมาจากนัก
วิทยาศาสตร์เรียกโมเลกุลที่มีความจำเพาะนี้ว่า “molecular targets” ดังนั้นการรักษาใดใดที่ใช้ “molecular targets” นี้จึงถูกเรียก
ว่า “molecularly targeted drugs” หรือ “molecularly targeted therapies” เมื่อพิจารณาในระดับโมเลกุล หรือ การเปลี่ยนแปลง
ระดับเซลล์แล้วกล่าวได้ว่า targeted cancer therapy นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่นๆ รวมไปถึงการรักษาด้วย
ยาเคมีบำบัด หรือ การฉายแสง ซึ่งนอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีความปลอดภัยกับเซลล์ปกติในร่างกายอีกด้วย
ในปัจจุบันมี targeted cancer therapy หลายตัวที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของประเทศอเมริกา (US FDA)
แต่ก็ยังมีอีกหลายตัวที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการวิจัยซึ่งมีตั้งแต่ระดับการศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในคน
ในการวิจัยเหล่านี้มีทั้งการวิจัยเพื่อใช้ในการรักษาโดยใช้ยา molecularly targeted drugเพียงตัวเดียว หรือใช้รักษาควบคู่ไปกับ
ยา molecularly targeted drug ตัวอื่น หรือคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น.
targeted cancer therapy นั้นจะไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และ การกระจายของเซลล์มะเร็ง โดยเป้าหมายคือโปรตีน
ที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ที่มีผลกระทบต่อการแบ่งตัว การเคลื่อนที่ การตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก หรือแม้แต่การ
ตายของเซลล์เอง ซึ่งผลจากกระบวนการเหล่านี้จะมีผลทำให้เกิดการหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และบางครั้งจะไปกระตุ้นให้เซลล์
มะเร็งตายโดยตัวของมันเองโดยกระบวนการที่เรียกว่า “apoptosis” นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยทางอ้อมโดยไปกระตุ้น
ระบบภูมิคุ้มกันให้มาทำลาย หรือ กระตุ้นการส่งสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้นเอง ดังนั้นการพัฒนา targeted
therapy นั้นจึงเป็นการหากลยุทธ์ เพื่อที่จะหาว่าเป้าหมายใดที่เป็นตัวกุญแจสำคัญต่อ การเจริญเติบโตของเซลล์ และ การอยู่รอดของเซลล์
นั่นเอง
ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือ chronic myeloid leukemia (CML) ซึ่งเป็นผลมาจากการมียีน BCR-ABL ภายในร่างกายโดยยีนดังกล่าว
เกิดขึ้นเมื่อมีการแตกตัวของโครโมโซมคู่ที่ 9 และ 22 แล้วเกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างกันในช่วงนั้น หลังจากนั้นผลที่ได้คือโครโมโซม
คู่หนึ่งที่มีทั้ง ABL gene จากโครโมโซมคู่ที่9 และ BCR gene จากโครโมโซมคู่ที่ 22 อยู่ด้วยกัน ซึ่งโดยปกตินั้นโปรตีนที่สร้างโดย ABL
gene (Abl) จะสามารถไปควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิกิริยากับ signaling molecule อื่นๆ แต่ในกรณีที่โปรตีนชนิด
นี้ถูกสร้างออกมาในรูปของ Bcr-Abl จาก BCR-ABL fusion gene ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนโครโมโซมดังกล่าวข้างต้น โปรตีนนั้น
จะสามารถทำงานได้ทันที ดังนั้น Bcr-Abl จึงเป็น molecular target ที่ดีตัวหนึ่งเพื่อนำไปพัฒนาใน targeted cancer therapy ต่อไป
การรักษาแบบ Targeted Therapy มีกระบวนการอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Precision Medicine ซึ่งจะนำตัวอย่างเซลล์มะเร็งของคนไข้หลายๆ คนมาวิเคราะห์โมเลกุลโปรตีนและลักษณะความผิดปกติของยีน เพื่อออกแบบตัวยาที่เข้ากับคนไข้
ปัจจุบันก็มีตัวยาเกิดขึ้นมากมาย แม้จะไม่สามารถรักษามะเร็งได้ทุกชนิด แต่ก็เป็นวิธีการที่ตอบสนองต่อโรคได้ครอบคลุมมากขึ้น โดยตัวยาจะเข้าไปหยุดมะเร็งที่เซลล์ตั้งต้น ตั้งแต่หยุดกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หยุดการเคลื่อนที่ลุกลาม และทำให้เซลล์มะเร็งไม่ตอบสนองสิ่งกระตุ้นอีกต่อไป
Targeted Therapy เป็นแนวทางการรักษาที่ลดผลข้างเคียงที่มีต่อเซลล์ปกติ เมื่อใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆ จะช่วยยืดอายุผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และเพิ่มโอกาสหายในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก