โรคกระดูกงอก

กระดูกงอก คือ เกิดจากความพยายามตามธรรมชาติของร่างกาย ที่จะซ่อมแซมรักษาส่วนที่บาดเจ็บ ฉีกขาด มีการอักเสบ หรือ มีการเสื่อมสภาพ โดยมีแคลเซี่ยมมาเกาะในบริเวณนั้น ถ้าแคลเซี่ยมเกาะกันมากเข้าก็จะกลายเป็น กระดูกงอกขึ้นมา …

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องปกติ ตามธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นสิ่งแปลก หรือ เป็นสิ่งเลวร้ายอะไรที่ เอกซเรย์ แล้วเห็นว่ามีกระดูกงอก แต่ถ้าพบว่า มีกระดูกงอกแล้วจะต้องรักษา โดยการผ่าตัด

สาเหตุ กระดูกงอก

1.กระดูกงอก เป็นปลายเหตุ

มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดการอักเสบ การบาดเจ็บ แล้วร่างกายก็ตอบสนอง พยายามรักษาตัวเอง เช่น เส้นเอ็นร้อยหวาย เส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ กระดูกสันหลังเสื่อมในระยะข้อหลวม กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาด กล้ามเนื้อฉีกขาด เป็นต้น …

ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอกออกไป นอกจาก จะไม่ดีขึ้น แล้วยังอาจ แย่ลงกว่าเดิมเสียอีก

2.กระดูกงอก เป็นต้นเหตุ

กระดูกงอก ทำให้เกิดการอักเสบ อาการปวด เนื่องจาก กระดูกงอกที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายนั้น มีขนาดใหญ่มากเกินไป จนไปกดเบียดเนื้อเยื่อใกล้เคียง เช่น กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น…

ถ้าเป็นกรณีนี้ การผ่าตัด เอากระดูกงอกออกไป ก็จะทำให้ดีขึ้น

ดังนั้น เมื่อเอกซเรย์ พบว่า มีกระดูกงอก ก็ต้องแยกให้ได้ก่อนว่า กระดูกงอกนั้น เป็นต้นเหตุ หรือ ปลายเหตุ ของอาการที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ว่า เห็นกระดูกงอก แล้วต้องผ่าตัดออก ทุกครั้งไป กระดูกงอกก็มีทั้งเป็น พระเอก และ เป็นผู้ร้าย ต้องคิดพิจารณาให้รอบคอบก่อนเสมอ

อาการ กระดูกงอก

ได้แก่ อาการเจ็บปวดทรมาน ใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้คล่องแคล่วเหมือนปกติ มีการงอกโปนของกระดูก ไม่สามารถใช้งานอวัยวะนั้นได้ตามปกติ แต่บางรายอาจไม่มีอาการปวดร่วม

การรักษา กระดูกงอก

  • การรับประทานยา ประเภทยาแก้ปวดและลดการอักเสบ
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่แข็งแรง
  • การฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณเอ็นที่อักเสบ
  • การผ่าตัด หากมีอาการเจ็บ ปวด และมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด เพื่อให้การเคลื่อนไหวของเอ็นดีขึ้น และลดการอักเสบ
[Total: 0 Average: 0]