หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว คืออัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของคนทั่วไป ทำให้รู้สึกเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก ใจเต้นแรง และอื่น ๆ เป็นสัญญาณหนึ่งของโรคหัวใจ แต่ถึงอย่างนั้นภาวะหัวใจเต้นเร็ว อาจไม่ใช่สัญญาณของโรคหัวใจเสมอไป แต่อาจหมายถึงโรคอื่น ๆ ได้ด้วย โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ทำให้ เมื่อ มีอาการหัวใจเต้นเร็วจึงเข้าใจว่าตนเองป่วยเป็นโรคหัวใจเท่านั้น

หัวใจเต้นเร็ว ที่อาจเต้นสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอ แต่ไม่ได้สัดส่วนกับอายุและระดับของการออกกำลังหรือกิจกรรม

หัวใจเต้นเร็ว มี 3 ประเภทดังนี้

  • หัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia) เกิดจากความผิดปกติหรือความผิดพลาดของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หัวใจห้องบน ซึ่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • หัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องล่าง (Ventricular Tachycardia) เกิดจากความผิดพลาดของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หัวใจห้องล่าง ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เมื่อหัวใจเต้นเร็วมากก็ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้
  • หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (Sinus Tachycardia) จะเกิดขึ้นเมื่อส่วนการควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจตามธรรมชาติของร่างกายได้ส่งคลื่นไฟฟ้าที่มีความเร็วกว่าปกติและทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ

สาเหตุ หัวใจเต้นเร็ว

อัตราการเต้นของหัวใจ หมายถึง จังหวะการบีบตัวของหัวใจเพื่อส่งเลือดแดงที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายในบางภาวะหรือโรคบางโรคสามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติได้ โดยอัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติ ขณะพักจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที กรณีที่หัวใจเต้นเร็วจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติจะมีอาการเหนื่อยหอบหายใจไม่สะดวก และรู้สึกใจเต้นแรงได้ ซึ่งอาจเป็นอาการที่แสดงถึงสัญญาณหนึ่งของโรคหัวใจ หรืออาจไม่ใช่สัญญาณของหัวใจ แต่อาจหมายถึงโรคอื่นๆได้ด้วย

          โดยปัจจัยที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วมีหลายปัจจัย ได้แก่ เกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา มีภาวะซีดหรือภาวะโรคเลือดอื่นๆ โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ มีความเครียด วิตกกังวล การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ชา การรับประทายาบางชนิด เช่น ยาลดอาการคัดจมูก

กลุ่มเสี่ยงของคนที่มีโอกาสเกิดโรคหัวใจ

การรักษา หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาด้วยตนเองการหลีกเลี่ยงยากระตุ้น ซึ่งรวมถึงคาเฟอีนและนิโคตินอาจช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงได้ ถ้าอาการเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลายอาจช่วยได้เช่นกัน

มองหาการดูแลทางการแพทย์ไปพบแพทย์ทันทีในกรณีต่อไปนี้เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือเป็นลมหายใจไม่อิ่มเจ็บหน้าอกไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้มีอาการหัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้อง หัวใจเต้นเร็ว

การติดเชื้อ

โรคนี้เกิดจากจุลชีพที่โจมตีเนื้อเยื่อ

โรควิตกกังวล

อาการทางจิตที่มีลักษณะกังวล วิตกกังวล หรือหวาดกลัวมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย


การใช้ยาในทางที่ผิด

การใช้ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทมากเกินไป เช่น แอลกอฮอล์ ยาแก้ปวด หรือยาผิดกฎหมาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย สังคม หรืออารมณ์


โลหิตจาง

ภาวะที่เลือดมีเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงไม่เพียงพอ หรือโลหิตจาง

การแสดงอาการ

หัวใจเต้นเร็ว

[Total: 0 Average: 0]