น้ำท่วมปอด

ภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary Edema) คือ ภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด มีได้หลายสาเหตุที่พบบ่อย ทำให้การหายใจและแลกเปลี่ยนก๊าซลำบาก และมีอันตรายร้ายแรง ซึ่งน้ำที่ว่านี้คือน้ำเลือด โดยอาการน้ำท่วมปอดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะน้ำเกินในร่างกาย ความผิดปกติบางอย่างของหัวใจทำให้เลือดคั่งในปอดมาก เป็นต้น

สาเหตุ น้ำท่วมปอด

ส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว

  • เนื่องจากไม่สามารถปั๊มเลือดที่รับมาจากหัวใจห้องขวาออกไปได้ ทำให้มีปริมาณเลือดในหัวใจห้องขวาเพิ่มขึ้นเรื่อย จนกระทั่งล้นไปท่วมปอดนั่นเอง
  • นอกจากนี้ภาวะน้ำท่วมปอดยังสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคปอดบวม ปอดอักเสบ การสัมผัสกับสามารถผิดบางอย่าง การบาดเจ็บที่ การออกกำลังกายมากเกินไป การอยู่ในพื้นที่มีระดับความสูงมาก

อาการ น้ำท่วมปอด

ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้จะมีโรคประจำตัวอยู่แล้วก็คือ หลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ ทำให้เกิดโรคนี้ได้ คนไข้จะมีอาการเหนื่อย จะเป็นลักษณะเฉพาะ คือหายใจไม่ออก นอนราบจะยิ่งเหนื่อยมากขึ้นบางคนจะมีอาการคล้ายๆกับคนจมน้ำ เพราะปอดแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ได้ ถ้าอาการมากๆอาจจะไอออกมาเป็นฟองสีชมพู ซึ่งเป็นภาวะวิกฤตแล้วค่อนข้างร้ายแรง

  • ลมหายสั้นถี่มาก หรือ อาการหายใจลำบาก และอาการแย่ลงเมื่อนอนลง
  • รู้สึกหอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวก คล้ายอาการจมน้ำ
  • หายใจเสียงดัง , หายใจแรง หรือต้องอ้าปากขณะหายใจ
  • มีความวิตกกังวล กระสับกระส่าย
  • มีอาการไอที่มีเสมหะเป็นฟอง หรือมีเสมหะปนเลือด
  • มีอาการเจ็บหน้าอกถ้าภาวะน้ำท่วมปอดมีสาเหตุมาจากการเกิดโรคหัวใจ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ,ใจสั่น ,หัวใจเต้นเร็ว
  • หากมีอาการใดๆ ของอาการดังกล่าวควรรีบเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน
  • อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา

การรักษา น้ำท่วมปอด

เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เมื่อสังเกตพบว่ามีอาการน้ำท่วมปอด แพทย์จะเริ่มทำการตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของภาวะน้ำท่วมปอดว่ามาจากอะไร แล้วจึงดำเนินการรักษาตามอาการอีกที เช่น

  • การเอ็กซเรย์ปอดเพื่อตรวจดูหัวใจ ว่ามีหัวใจโตหรือน้ำท่วมปอดหรือไม่
  • ตรวจดูสาเหตุร่วม เช่นเจาะเลือดตรวจหาไทรอยด์
  • ตรวจวัดความดัน ตรวจคลื่นหัวใจ หรือทำอัลตราซาวน์หัวใจ

การรักษาภาวะน้ำท่วมปอดนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องพยายามขับน้ำออกจากปอดให้มากที่สุด

ซึ่งส่วนมากจะใช้วิธีรักษา คือ ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อขับน้ำที่ค้างออกมาทางปัสสวะ โดยจะต้องเฝ้าระวัง เพราะการขับออกทางปัสสาวะอาจทำให้เสียเกลือแร่ออกจากร่างกายไปพร้อมกับปัสสาวะที่ขับออก

โดยแพทย์จะทำการควบคุมด้วยการเจาะเลือดตรวจดูว่า ถ้าดีขึ้นแล้วก็จะค่อยๆ ลดยาลงตามขนาด ถ้าสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบ แพทย์จะทำการฉีดยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ดีมากขึ้น


[Total: 137 Average: 4.9]