อาหาร 4 ชนิดที่ไม่ควรกินดิบเพราะอันตราย

  1. ไก่ดิบ ไก่ดิบที่ปรุง ไม่สุก มีเชื้อซาโมเนลล่า ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในกรณีอาหารเป็นพิษภายใน 4 วัน หลังได้รับเชื้อเข้าไป จะมีอาการปวดท้องบิดและอาเจียน  มีไข้  ท้องเสีย ซึ่งหากอาการหนักก็อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้ ควรปรุงสุกโดยให้เนื้อไก่มีอุณหภูมิข้างในอย่างน้อย 165 องศาฟาเรนไฮห์  ซึ่งจะช่วยฆ่าเชื้อซาโมเนลล่าได้ และให้ระมัดระวังเรื่องการใช้ผ้าเช็ดมือเวลาปรุงอาหารที่มีไก่ดิบ
  2. ปลาทูน่า ปลายิ่งตัวใหญ่เท่าไหร่ยิ่งมีสารตะกั่วสะสมมากเท่านั้น  นั่นเพราะปลาตัวใหญ่มักกินปลาตัวที่เล็กกว่าเป็นอาหารและปลาตัวเล็กกว่าพวกนี้ก็ไปกินปลาที่ตัวเล็กกว่ามาอีกที  ที่เราคุ้นกันก็เป็นซูซิทูน่า  ทูน่าสเต็ก ไม่ว่าจะดิบหรือทูน่ากระป๋อง ก็ล้วนแต่มีสารตะกั่วทั้งสิ้น   อาหารบริโภคในปริมาณมากและเป็นเวลายาวนานก็อาจส่งผลให้เกิดอาการสารตะกั่วเป็นพิษ ได้แก่ อาการ ความดันโลหิตสูง  เยื่อบุมดลูกอักเสบ  ปวดศีรษะ  อาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก  สูญการประสานของร่างกาย  อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อลีบ  ระบบประสาทความจำเสื่อม ดังนั้นแนะนำให้บริโภคสัตว์ประเภทปลาและสัตว์ที่มีเปลือแกแข็ง เช่น  กุ้ง  ทูน่าไล์กระป๋อง  ปลาเซลม่อน  ปลาแคทฟิชซึ่งมีปริมาณสารตะกั่วที่น้อยกว่า ไม่เกิน 12  ออนซ์ต่อสัปดาห์  ถ้าบริโภคปลาทูน่าอัลบาคอร์หรือทูน่าขาวก็ไม่ควรเกิน 6  ออนซ์
  3. คุกกี้โดหรือคุกกี้ที่ยังไม่ได้อบ เสี่ยงติดเชื้ออีโคลายได้  เมื่อปี 2013  มีรายงานว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งที่สหรัฐอเมริกากินคุกกี้โดของเนสท์เล่เข้าไปเพียง 2 – 3 คำเท่านั้นทำให้เธอเสียชีวิตลงจากการติดเชื้อดังกล่าว
  4. ถั่วแดง ถั่วแดงถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากมีทั้ง แมกนีเซียม  ไยอาหาร ธาตุเหล็กโพแทสเซียม และ โปรตีน  สารอาหารเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรรอลในเลือดได้  ป้องกันโรคหัวใจ  และยังทำให้อิ่มท้องนานด้วย  ถั่วแดงมีสารฟีโตเฮแมกโกตินิน  เป็นเลคตินซึ่งเป็นสารพิษธรรมชาติ  องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่า  สารนี้สามารถทำให้เกิดคลื่นไส้อย่างหนัก  และอาการอาเจียนอย่างรุนแรง  ท้องเสียและปวดท้อง  ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นนานหลายชั่วโมง  ถั่วฟาวา  ถั่วปิ่นโต  และถั่วฝักยาวก็มีสารนี้ด้วย ดังนั้นควรปรุงให้สุกก่อนกิน
[Total: 2 Average: 5]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading