โปลิโอ

โปลิโอ คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของประสาทไขสันหลังซึ่งพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เป็นสาเหตุให้แขนขาพิการไปจนตลอดชีวิต ปัจจุบันพบได้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากมีการให้วัคซีนป้องกันได้อย่างทั่วถึง

สาเหตุ โปลิโอ

โรคโปลิโอเกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ที่จะอาศัยอยู่แต่ภายในร่างกายของมนุษย์เท่านั้น โดยไวรัสชนิดนี้ติดออกมากับอุจจาระของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโปลิโอ หรือเมื่อไอ จาม และแพร่กระจายผ่านการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมาในอาหารหรือน้ำที่รับประทานเข้าไป นอกจากนี้การสัมผัสกับผู้ป่วยโรคนี้โดยตรงก็มีโอกาสได้รับเชื้อเช่นกัน

ไวรัสโปลิโอจะเดินทางเข้าไปภายในปาก ผ่านลำคอ ลำไส้ แล้วจึงเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น หรือในบางกรณียังสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังระบบประสาทในที่สุด โดยสามารถแพร่กระจายจากผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนเริ่มแสดงอาการไปจนถึงหลายสัปดาห์ถัดไป นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏเลยก็ยังสามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อโปลิโอได้

การให้วัคซีนเป็นวิธีช่วยป้องกันโรคโปลิโอ แม้ในประเทศไทยจะไม่พบผู้ป่วยโรคนี้แล้วก็ตาม ผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโปลิโอนั้นจะยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อยิ่งขึ้นหากอยู่ในภาวะต่อไปนี้

  • หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเด็กเล็กซึ่งจะมีความไวต่อการได้รับเชื้อโปลิโอ
  • เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโปลิโอหรือเพิ่งเกิดการระบาดของโรคเมื่อไม่นานมานี้
  • เป็นผู้ดูแลหรืออาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อโรคโปลิโอ
  • ทำงานในห้องปฏิบัติการที่สัมผัสใกล้ชิดกับเชื้อไวรัส
  • ผู้ที่ผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออกไป
  • มีความเครียดมากเกินหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงหนักหลังมีการสัมผัสกับไวรัส ซึ่งจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง

อาการ โปลิโอ

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะกลุ่มที่มีอาการแขนขาเป็นอัมพาต

แรกเริ่มจะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือ

เต้นกระตุกและอ่อนปวกเปียกในเวลารวดเร็ว ส่วนมากพบที่ขาเพียงข้างเดียว อาการเหล่านี้เกิดขึ้นขณะที่ยังมีไข้

ในทารกอาจมีอาการแขนขาอ่อนปวกเปียก โดยไม่มีอาการไข้นำมาก่อนก็ได้

ถ้าเป็นรุนแรง อาจมีอาการอัมพาตของแขนขาทั้งหมดถ้ากล้ามเนื้อหายใจ(กะบังลมและกล้ามเนื้อหน้าอก) เป็นอัมพาต จะทำให้หายใจไม่ได้ มีอันตรายถึงเสียชีวิตได้

วิธีรักษาโรคโปลิโอ

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่จำเพาะต่อเชื้อโปลิโอ ซึ่งการรักษาหลักของโรคนี้เท่าที่ทำได้ก็คือ การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ได้แก่

  1. ในช่วง 2 สัปดาห์แรกต้องให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด (เพื่อลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ) ยานอนหลับ และให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตามกล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดอาการเจ็บ และภายหลังจาก 2 สัปดาห์ไปแล้วจึงค่อยประเมินความสูญเสียและจึงเริ่มทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนที่เหลือทำงานชดเชยส่วนที่เสียไปได้
  2. หากกล้ามเนื้อแขนขาหรือลำตัวของผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงจนไม่สามารถขยับได้ ก็ให้จับพลิกตัวยกแขนขาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
  3. การใส่สายปัสสาวะ หากผู้ป่วยมีปัสสาวะมาก
  4. การให้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูกหรือสวนทวารหนัก หากผู้ป่วยอุจจาระไม่ออกหรือมีอาการท้องผูกมาก
  5. การใช้เครื่องช่วยหายใจ หากผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากหรือระบบการหายใจล้มเหลว
[Total: 0 Average: 0]