ท้องอืด

การสะสมแก๊สในท้องและลำไส้

สาเหตุ ท้องอืด

ท้องอืดอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น การดื่มเครื่องดื่มอัดลม การรับประทานอาหารปริมาณมาก การมีประจำเดือน ท้องผูก หรือมีแก๊ส

สาเหตุที่อาจทำให้คุณท้องอืดและท้องเฟ้อมีมากมาย แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยก็คือแก๊สในกระเพาะอาหาร โดยแก๊สอาจจะถูกกักไว้ในร่างกายทำให้เรามีอาการท้องอืดหรือร่างกายอาจขับลมออกมาทางทวารหนัก (อาการแน่นท้อง) อาการท้องอืดเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (ไอบีเอส)

การมีแก๊สในลำไส้เป็นเรื่องปกติ แต่ละวัน ร่างกายของเราทุกคนผลิตแก๊สหลายลิตรผ่านกระบวนการย่อยอาหารตามปกติ แก๊สบางส่วนจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและหายใจออกมา แก๊สที่เหลือจะถูกขับออกมาจากร่างกายผ่านการผายลม

หนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เกิดแก๊สส่วนเกินในร่างกายก็คือ การกลืนอากาศเข้าไปมากเกินไประหว่างรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือพูดคุย (การกลืนอากาศ) อาหารบางชนิดและน้ำอัดลมอาจทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังทำให้คุณต้องกลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ ส่วนบางคนจะกลืนอากาศมากขึ้นเมื่อเกิดความเครียด

แก๊สส่วนเกินอาจเกิดจากการที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ผลิตแก๊สมาย่อยอาหารมากเกินไป การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ผักประเภทถั่ว กะหล่ำปลี และกะหล่ำดาว ซึ่งเป็นพืชที่ร่างกายของมนุษย์ย่อยยาก ดังนั้น แบคทีเรียที่ผลิตแก๊สจึงต้องทำหน้าที่่ย่อยแทน อาหารที่มีส่วนผสมของซอร์บิตอลซึ่งเป็นสารให้ความหวานสังเคราะห์อาจทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน

ภาวะไม่สามารถรับแล็คโตสได้ (ร่างกายไม่สามารถย่อยแล็คโตสซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมได้) ยังอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการท้องอืดและการมีแก๊สในระบบย่อยอาหารมากเกินไป คุณจะไม่สามารถรับแล็คโตสได้หากร่างกายไม่มีเอ็นไซม์แล็คเตส และเมื่อร่างกายของคุณไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ แล็คโตสจะถูกหมักโดยแบคทีเรียที่ผลิตแก๊สในลำไส้แทน

อาการท้องอืด

อาการท้องอืด เป็นอาการที่ระบุลักษณะได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการท้องอืดมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง รู้สึกแน่น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวด และมีลมในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก จนทำให้เรอ หรือผายลมบ่อย บ้างก็มีอาจได้ยินเสียงโครกครากภายในท้อง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

ทั้งนี้หากมีอาการผิดปกติที่รุนแรงเช่น

ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะนั่นคือความผิดปกติที่อาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

การรักษา ท้องอืด

การรักษาด้วยตนเอง

การหลีกเลี่ยงหรือการลดการบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่ว หัวหอม อาหารที่มีแล็กโทส และเครื่องดื่มอัดลมอาจช่วยป้องกันท้องอืดได้

มองหาการดูแลทางการแพทย์ ไปพบแพทย์ในกรณีต่อไปนี้

ท้องร่วงรู้สึกปวดท้องรุนแรงหรือต่อเนื่องสังเกตเห็นว่ามีเลือดในอุจจาระสังเกตเห็นว่าสีอุจจาระหรือความถี่ในการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปน้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ

ความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้อง ท้องอืด

อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน
กลุ่มอาการที่พบในผู้หญิง มักเกิดระหว่างการตกไข่และช่วงมีประจำเดือน

โรคอ้วน
โรคที่เกิดจากไขมันส่วนเกินในร่างกายที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ

การแพ้นม
ภาวะที่ไม่สามารถย่อยน้ำตาล (แล็กโทส) ในผลิตภัณฑ์จากนมได้อย่างเต็มที่
การแสดงอาการ
ท้องอืด

ท้องผูก
เมื่อบุคคลหนึ่งถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือถ่ายยาก

ตับแข็ง
ความเสียหายเรื้อรังในตับจากหลายสาเหตุซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลเป็นและตับล้มเหลว

[Total: 0 Average: 0]