โรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผมตัวเอง Trichotillomania (TTM) คือ ความผิดปกติทางจิตใจ ที่เมื่อคน ๆ นึงเกิดความเครียดหรือวิตกกังวล เขาจะดึงผมของตัวเองออก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 0.5 – 2 เปอร์เซนต์ของมนุษย์เป็นโรคนี้

ผู้ที่มีโรคนี้ในวัยเด็กมักจะดึงผมจากศีรษะตัวเองในหนึ่งถึงสองจุด อย่างไรก็ตามผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ไม่เพียงแต่จะดึงผมออกจากศีรษะเท่านั้น พวกเขายังดึงขนจากส่วนอื่นของร่างกายด้วยเช่นกัน เช่น ขนคิ้ว ขนตา และส่วนอื่น ๆ ที่มีขน เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะทำให้ขนในส่วนต่าง ๆ หายไปและบางลง

โรคนี้มักจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่น แต่มักเกิดขึ้นในวัยเด็กเช่นกัน และเมื่อมันเริ่มขึ้นแล้วอาจเกิดต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โรคนี้เกิดขึ้นในผู้หญิงและผู้ชายในสัดส่วนที่เท่า ๆ กันในวัยเด็ก แต่พบในผู้หญิงมากกว่าในวัยผู้ใหญ่

สาเหตุ โรคดึงผมตัวเอง

นักวิจัยยังไม่สามารถหาเหตุผลที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลมาจากพันธุกรรมหรือปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดก็เป็นได้

จากงานวิจัยในปี 2016, ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 10-13 ปี อาการมักเริ่มจากการดึงผมจากหนังศีรษะ ซึ่งการทำแบบนั้นทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวลหรือเครียดน้อยลง

ผู้ป่วยบางคนไม่รู้ตัวว่าดึงผมตัวเอง การได้รับรู้ว่าตัวเองดึงผมของตัวเองนั้นสามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลและความอับอาย ซึ่งทำให้เกิดวังวนแห่งความวิตกกังวล เพราะเมื่อดึงผม จะรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด จากนั้นก็จะรู้สึกอับอายที่ดึงผมตัวเอง แล้วสุดท้ายก็กลับมาดึงผมอีก

โรคดึงผมตัวเองนั้นเป็นปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งในบางครั้งสามารถเกี่ยวโยงกับโรคอื่นได้ดังนี้:

แต่ก็ใช่ว่าทุกคนที่เป็นโรคเหล่านี้จะเป็นโรคดึงผมตัวเอง อาการนี้อาจเริ่มจากสาเหตุหลาย ๆ อย่าง เช่น:

  • มีความสุขกับความรู้สึกที่ได้จับเส้นผม
  • มีความสุขกับความรู้สึกที่ดึงผมจากหนังศีรษะ
  • ภาวะอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความโกรธ ความอับอาย หรือ ความเครียด

อาการ โรคดึงผมตัวเองมีอะไรบ้าง

อาการของโรคนี้มีดังนี้:

  • ดึงผมอย่างรวดเร็ว
  • ดึงผมให้เป็นชิ้น ๆ
  • กินผม (ราพันเซลซินโดรม)
  • รู้สึกปลดปล่อยเมื่อได้ดึงผม

การรักษา โรคดึงผมตัวเอง

การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอาจแนะนำวิธีการเหล่านี้:

พฤติกรรมบำบัด

จากงานวิจัยปี 2012 พฤติกรรมบำบัดมีประโยชน์หลายด้าน ดังนี้:

  • ช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักถึงอาการและสิ่งกระตุ้นของโรคดึงผมตัวเองเพิ่มขึ้น
  • เปลี่ยนจากพฤติกรรมการดึงผมเป็นพฤติกรรมอื่นแทน
  • สร้างแรงบันดาลใจในการหยุดดึงผม
  • เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ จากสถานะการณ์ต่าง ๆ

ยารักษา

จากการศึกษาในปี 2013 มียา 3 ชนิดที่ช่วยรักษาโรคดึงผมตัวเอง

  • เอ็น-อะเซทิลซิสเทอิน
  • โอแลนซาปีน
  • โคลมิพรามีน

นักวิจัยกล่าวว่า ตัวอย่างกลุ่มวิจัยที่ได้รับยาเหล่านี้ยังมีน้อยมาก

[Total: 0 Average: 0]