พิษหอยทะเล

พิษหอยทะเล คือ การมีพิษซึ่งมีอยู่ในหอยหลายชนิด เช่น หอยทะเลที่เป็นกาบคู่ เช่น หอยแมลงภู่ หอยแครง  หอยนางรม เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการเป็นพิษ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง ส่วนน้อยอาจรุนแรงถึงตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดจากพิษที่มีชื่อว่า แซกซิท็อกซิน ซึ่งจะมีฤทธิ์ต่อ ระบบประสาทคล้ายพิษปลาปักเป้าและแมงดาถ้วย พิษหอยทะเลทุกชนิดมีความทนต่อความร้อน

อาการ พิษหอยทะเล

ขึ้นกับชนิดและปริมาณพิษที่ได้รับ ดังนี้

1. ถ้าเกิดจากพิษอ่อน ได้แก่ กรดโอคาแดอิก ซึ่งไม่มีพิษต่อระบบประสาท จะมีอาการปวดท้อง อาเจียนและ ท้องเสีย อาการอาหารเป็นพิษทั่วไป อาการเป็นพิษชนิดนี้เรียกว่า “Diarrheal shellfish poisoning/DSP”

2. ถ้าเกิดจากพิษต่อประสาทร้ายแรง ได้แก่ แซกซิท็อกซิน (ซึ่งจะมีความเป็นพิษสูงระหว่างเดือน พฤษภาคมถึงสิงหาคม) มักเกิดอาการหลังกินหอยทะเล ประมาณ 30 นาที ระยะแรกมีอาการชาและรู้สึกเสียวแปลบๆ ที่ริมฝีปาก ลิ้น หน้าแล้วลุกลามรวดเร็วไปที่ แขนและขา อาจมีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดินตามมา ถ้าเป็นมากจะมีอาการปวดหัว รู้สึกตัวลอย เดินเซ กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดลำบาก กลืนลำบาก ชีพจรเต้นช้า ในที่สุดจะหายใจไม่ได้เนื่องจากกล้ามเนื้อหายใจเป็น อัมพาต อาจตายภายใน 2-24 ชั่วโมง ถ้ารอดชีวิตได้เกิน 24 ชั่วโมง ก็มักจะฟื้นหายเป็นปกติได้ดี โดยทั่วไปมัก จะมีอาการอยู่นาน 3-5 วัน เด็กจะเป็นรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ อาการเป็นพิษชนิดนี้เรียกว่า “Paralytic shellfish poisoning/PSP”

3.ถ้าเกิดจากพิษกรดโดโมอิก จะมีอาการเกิด ขึ้นหลังกินหอยทะเลไม่นาน เริ่มต้นด้วยอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน ต่อมาจะมีอาการปวดศีรษะ และสูญ เสียความจำ (smnesy) เล็กน้อย คือมีอาการหลงลืมไป ชั่วคราว (ยกเว้นบางรายอาจรุนแรงจนกระทบต่อการ ดำเนินชีวิตประจำวัน)ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการ ชัก หมดสติ หรือแขนขาอ่อนแรงซีกหนึ่ง หากไม่ได้รับ การรักษา มีอันตรายตายประมาณร้อยละ 3 อาการเป็นพิษ ชนิดนี้เรียกว่า “Amnestic shellfish poisoning/PSP”

4.ถ้าเกิดจากพิษเบรเวท็อกซิน จะมีพิษตองประสาทคล้ายพิษปลาทะเล  เกิดอาการหลังกินหอยทะเล 15 นาที ถึง 18 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน แสบก้น และรู้สึกเสียวแปลบๆ ที่หน้า ลำตัว และแขนขา การรับรู้อุณหภูมิแบบกลับตาลปัตร ปวดกล้ามเนื้อ เดินเซ เห็นบ้านหมุน อาการอื่น ๆ ที่อาจ พบได้ เช่น อาการสั่น กลืนลำบาก ชีพจรเต้นช้า รูม่านตาขยาย แต่จะไม่เกิดอาการกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต อาการ จะเป็นอยู่นาน 1-72 ชั่วโมงโดยฟื้นหายได้เป็นปกติ (ไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากโรคนี้) อาการเป็นพิษชนิด นี้เรียกว่า “Neurologic shellfish poisoning/NSP”

การป้องกัน พิษหอยทะเล

ควรให้ความรู้แก่คนทั่วไปให้ทราบถึงพิษภัยของ หอยทะเล และแนะนำว่าถ้ามีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเดินหลังกินหอยทะเล ควรสังเกตว่ามีอาการของระบบประสาท เช่นชา และเสียวแปลบๆ ที่ปาก ลิ้น หน้า  แขนขา การรับรู้อุณหภูมิแบบกลับตาลปัตร กล้ามเนื้อ อ่อนแรง มีอาการหลงลืม ถ้าสงสัยควรรีบไปโรงพยาบาล โดยเร็ว                   

1. หลีกเลี่ยงการบริโภคหอยทะเลในช่วงระหว่าง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิ่งหาคม เพราะช่วงนี้มีการแพร่พันธุ์ ของสาหร่ายแดง ทำให้หอยมีพิษมาก

2.ควรบริโภคหอยทะเลในปริมาณพอประมาณ อย่ามากเกิน เพื่อลดปริมาณพิษที่อาจจะได้รับโดยบังเอิญ

การรักษา พิษหอยทะเล

                หากสงสัย ควรให้การปฐมพยาบาล แล้วรีบส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว และเฝ้าระวังอาการหยุด หายใจ ถ้าพบให้ทำการช่วยหายใจจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล

การรักษา ให้การรักษาขั้นพื้นฐาน และแก้ไขตามอาการที่พบเช่นเดียวกับพิษปลาปักเป้า และพิษปลาทะเล เช่น การใช้เครื่องช่วย หายใจ ให้อะโทรฟีน ในรายที่ชีพจรเต้นช้า เป็นต้น

[Total: 0 Average: 0]