ไข้ไทฟอยด์

โรคไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ร้ายแรงซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านน้ำ และอาหารที่ปนเปื้อน โดยทำให้เกิดไข้สูง ปวดท้องและเบื่ออาหาร กรณีที่ผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของไข้ไทฟอยด์

ไข้ไทฟอยด์เกิดจากเชื้อ Salmonella typhi (S. typhi). แต่ไม่ใช้แบคทีเรียทีทำให้เกิดโรค Salmonella จากอาหาร

การติดต่อของเชื้อคือช่องทางปาก – อุจจาระ โดยแพร่กระจายในน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ติดเชื้อ

ผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์บางคนแม้ไม่แสดงอาการแล้ว แต่ยังมีเชื้ออยู่ สามารถแพร่เชื้อให้กับคนอื่นๆ ได้ โดยจำนวนผู้ป่วยไข้ไทฟอยด์ทั่วโลกมีมากกว่า 26 ล้านคนต่อปี

อาการของไข้ไทฟอยด์

ไข้ไทฟอนด์อาการจะปรากฏหลังได้รับเชื้อ 1-2 สัปดาห์ โดยมีดังต่อไปนี้

  • ไข้สูง
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดท้อง
  • ปวดศีรษะ
  • เบื่ออาหาร
  • ผื่น
  • ความเหนื่อยล้า
  • มึนงง สับสน
  • ท้องผูก หรือท้องเสีย

ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงนั้นไม่ค่อยพบ แต่สามารถพบได้คือ เลือดออกในลำไส้ หรือลำไส้ทะลุ โดยสิ่งนี้สามารถนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต อาการอื่นๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องอย่างรุนแรง

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แก่

  • โรคปอดอักเสบ
  • การติดเชื้อในไต หรือกระเพาะปัสสาวะ
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เพ้อ ภาพหลอน หวาดระแวง

การรักษาไข้ไทฟอยด์

การรักษาหลักของโรคไทฟอยด์ คือการให้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีทั้งรูปแบบกินและแบบฉีด ปัจจุบันพบเชื้อดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ การจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดก็ต้องดูผลการทดสอบการดื้อยาของเชื้อด้วยการรักษาแบบประคับประคองก็จะทำควบคู่ไปกับการรักษาหลัก เช่น การให้ยาลดไข้พาราเซตามอล (Paracetamol) ยาแก้ปวด การให้กินน้ำเกลือแร่ หรือให้ทางหลอดเลือด

นอกจากนี้ ก็เป็นการรักษาตามภาวะแทรกซ้อน(ผลข้างเคียง) ที่เกิดขึ้น เช่น ถ้ามีลำไส้แตกทะลุ ก็ต้องผ่าตัดรักษา เป็นต้น

[Total: 0 Average: 0]