อ่อนเพลีย (Fatigue) คือ ความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือขาดพลังงานของร่างกาย แต่ไม่ใช่ความรู้สึกง่วงนอน การง่วงนอนอาจเป็นอาการของความเหนื่อยล้า แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเหนื่อยล้า
อาการอ่อนเพลียเป็นอาการทั่วไปของปัญหาสุขภาพที่อาจจะไม่ส่งผลมาก ไปจนถึงกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ส่วนมากเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์
สาเหตุ อ่อนเพลีย
สาเหตุของอาการอ่อนเพลีย สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ปัจจัยการดำเนินชีวิต ภาวะทางสุขภาพ และปัญหาสุขภาพจิต
- ปัจจัยการดำเนินชีวิต
- ดื่มเครืองดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาเสพติดเป็นประจำ
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
- ออกกำลังกายหนักเกินไป
- ทำงานหนักเกินไป
- ขาดการออกกำลังกาย
- ขาดการนอนหลับ
- อาการเจ็ตแล็ก (Jet lag)
- มีนิสัยรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์
- มีน้ำหนักตัวมากเกินหรือเป็นโรคอ้วน
- ใช้ยารักษาโรคบางอย่าง เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ไอ ยารักษาอาการซึมเศร้า และยากล่อมประสาท
- อยู่ในช่วงเวลาที่มีความเครียด
- เบื่อหน่าย หรือกำลังเศร้าโศก
- ภาวะทางสุขภาพ อาการอ่อนเพลียที่เป็นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นผลกระทบจากการใช้ยารักษาโรค หรือวิธีบำบัดรักษาโรค หรือเป็นสัญญาณของภาวะทางสุขภาพ ได้แก่
- อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
- การติดเชื้อหรือการอักเสบเรื้อรัง
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- โรคถุงลมโป่งพอง
- ภาวะโลหิตจาง
- ภาวะตับวายเฉียบพลัน
- โรคไตเรื้อรัง
- โรคเมราลเจีย พาเรสเธทิคา (Meralgia Paresthetica)
- โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจ
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
- ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- โรคอ้วน
- โรคมะเร็ง
- การตั้งครรภ์
- มีอาการเจ็บปวดนานต่อเนื่อง
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- การกินสารพิษเข้าไป
- การใช้ยารักษาและการรักษาโรค เช่น เคมีบำบัด ฉายรังสี ยาแก้ปวด ยาโรคหัวใจ และยารักษาอาการซึมเศร้า
- ปัญหาสุขภาพจิต อาการอ่อนเพลียเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจิตได้ ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของโรคทางจิต เช่น
- โรควิตกกังวล
- โรคเครียด
- โรคซึมเศร้า
- โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Depression)
อาการ อ่อนเพลีย
- นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนเป็นการที่ร่างกายทำการเสริมสร้าง และซ่อมแซมร่างกาย ดังนั้นการที่นอนไม่พอจะทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเลือด และสร้างชี่ ได้
- พันธุกรรม ในผู้ป่วยบางรายมีความผิดปกติทางพันธุกรรม มีความผิดปกติของร่างกายในระบบการสร้างเลือด และชี่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเลือด และชี่ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- การเสียเลือด ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดอุบัติเหตุ ผ่าตัด คลอดบุตร หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถทำการสร้างเลือดขึ้นมาชดเชยเลือดที่เสียไปจาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้เกิดอาการเลือดพร่อง
- การทำงานของระบบเลือด เช่น ม้าม กระเพาะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร และดูดซึมอาหารแปลงเป็นเลือด รวมถึงการทำงานของปอดที่ทำหน้าที่ฟอกเลือดเสียเป็นเลือดดี ซึ่งหากอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้เกิดความผิดปกติทำให้ระบบเลือดผิดปกติไปด้วย
การรักษา อ่อนเพลีย
แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่สอดคล้องกับสาเหตุของความอ่อนเพลียดังนี้
- เวลาที่เริ่มมีอาการและเวลาที่อาการดีขึ้น
- อาการอื่น ๆ ที่คุณเคยพบ
- ปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ
- ที่มาของความเครียด
- ยาที่ใช้
หากแพทย์สงสัยว่า มีอาการป่วยที่เป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า จำเป็นจะต้องทดสอบทางการแพทย์บางอย่างเพิ่ม เช่น การตรวจเลือดหรือปัสสาวะ
[Total: 1 Average: 4]