หูด (Warts)

โรคหูด (Warts) คือโรคติดต่อทางผิวหนังประเภทหนึ่ง โดยผิวหนังจะเกิดเป็นตุ่มหรือติ่งเนื้อเกิดจากเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) หูดอยู่กับมนุษย์ มายาวนาน โดยมีการค้นพบเชื้อหูดในมัมมี่ที่มีอายุกว่า 3000 ปี  หูดเป็นโรคทางผิวหนังที่คนทุกเพศทุกวัยมีโอากาศที่จะรับเชื้อไวรัสนี้ได้ บางครั้งในบางคนเมื่อรับเชื้อไวรัสมาแล้วก็ยังอาจจะไม่แสดงอาการ หูดสามารถติดต่อกันได้ทางการสัมผัสและการมีเพศสัมพันธ์ หูดมีหลายประเภท และหลายชนิด

หูด มีกี่ประเภท

หูดแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ แต่ละประเภทจะเกิดตามบริเวณร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

หูดธรรมดา

เป็นหูดที่พบบ่อยมักเกิดบริเวณบนนิ้วมือและนิ้วเท้า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้บริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเช่นกัน หูดประเภทนี้มีลักษณะหยาบ ด้าน 

หูดที่ฝ่าเท้าและฝ่ามือ

หูดที่ฝ่าเท้า และหูดที่มือ หรือที่เรียกว่าหูดตาปลา จะเป็นปื้นหนาอยู่ด้านในของเนื้อฝ่าเท้าหรือฝ่ามือ เมื่อโดนกดทับจะเจ็บ 

หูดผิวเรียบ

หูดจะมีลักษณะเรียบแบน อาจจะเกิดขึ้นได้บริเวณหน้า ขา หรือแขน มีขนาดเล็กและเรียบ อาจจะเป็นสีเนื้อ หรือสึชมพู บางครั้งอาจจะมีสีน้ำตาลอ่อน

หูดหงอนไก่ 

จะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูหรือขาว ผิวขรุขระคล้ายหงอนไก่ มักจะเกิดขึ้นบริเวณ ปากช่องคลอด ในผนังช่องคลอด ปากมดลูก รอบทวารหนัก แคมคลิตอริส อาจจะมีเลือดออกร่วมด้วย จากบริเวณหูด เกิดอาการคัน หูดในปาก หูดที่ลิ้น หูดที่คอ อาจจะเป็นหูดหงอนไก่ได้เช่นกัน

หูดติ่งเนื้อ

หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระแต่ยาวคล้ายนิ้วมือเล็กๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ

หูดข้าวสุก

เกิดเป็นหูดเล็ก ๆ คล้ายสิวอยู่บริเวณผิวหนังชั้นนอก หูดข้าวสุกพบได้ตั้งแต่ทารก เด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ บางครั้งเกิดใกล้บริเวณอวัยวะเพศ 

สาเหตุ หูด

หูดเกิดจากอะไร? หูดเกิดจากการที่ร่างกายติดเชื้อไวรัส HPV และเชื้อไวรัส HPV นี้มีมากกว่า 100 ชนิดที่ทำให้เกิดหูด

โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อันตราย โดยทั่วไปหูดจะเกิดขึ้นบนมือหรือเท้าของผู้ป่วย แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หูดสามารถเกิดได้หลายที่ เช่น

  • หูดที่นิ้วมือ
  • หูดที่เท้า
  • หูดที่มือ
  • หูดที่นิ้ว
  • หูดที่ลิ้น
  • หูดที่หน้า
  • หูดที่อวัยวะเพศ
  • หูดในปาก
  • หูดที่คอ

อาการ หูด

หูดชนิดทั่วไป (Common warts) เป็นหูดที่พบได้บ่อยที่สุด มีลักษณะนูนเป็นตุ่มกลมแข็ง ผิวหยาบ ขรุขระ ออกเป็นสีเทา ๆ เหลือง ๆ หรือสีน้ำตาล มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-10 มิลลิเมตร มักขึ้นบริเวณที่ถูกเสียดสีได้ง่าย เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อศอก ข้อเข่า ใบหน้า หนังศีรษะ เป็นต้น และอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ (หูดชนิดนี้เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 2 และ 4 ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนชนิดอื่น ๆ ที่อาจพบได้ก็เช่น เอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 1, 3, 26, 27, 29, 41, 57, 65, และ 77)

การรักษา หูด

โดยทั่วไปแล้ว 65% ของผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ โรคนี้ จะหายไปได้เอง หรือคนที่เป็นหูดไม่มาก อาจจะเลือกใช้วิธี หายาทาแก้หูดมารักษาเองก่อนเบื้องต้น

การจี้ด้วยไนโตรเจนเหลว 

การใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลวจี้หูด เป็นวิธีกำจัดหูดได้แต่อาจจะต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อจะกำจัดหูดออกไป ใครที่เป็นหูดที่นิ้วมือ มักจะใช้วิธีนี้รักษา

การจี้หูดด้วยไฟฟ้า

การจี้หูดด้วยไฟฟ้า หรือจี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Laser ablation) หลังจากนั้นจะมีการ
คีบรากหูดออกไป

การผ่าตัด

ทางเลือกนี้จะเกิดขึ้นเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่หาย

การใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของกรดบางชนิด

การใช้กรดบางชนิดในรูปแบบยาทา เช่น กรดไตรคลออะซิติก กรดแลคติก กรดซาลิซิลิก สามารถนำมาเป็นทางเลือกหนึ่งได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลานาน อาจจะเป็นเดือน และข้อควรระวังคือในการเลือกใช้กรดมาทารักษาหูด (Warts) ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยาทาหูดมารักษาเอง และเป็นวิธีรักษาหูดหงอนไก่ที่แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ก่อนการผ่าตัดหากไม่ได้ผล โรงพยาบาลรักษาหูดหงอนไก่มีหลายที่ เช่น โรงพยาบาลพญาไท

คุณสามารถซื้อยาบางชนิดที่มีความปลอดภัยมาทาเองได้ที่บ้าน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนในการจะใช้ยาแต่ละชนิด 

ยาพ่นหูดชนิดเย็น

เป็นยาที่ขายตามร้านขายยาซึ่งจะมีส่วนผสมของ Dimethyl ether และโพรเพน ที่เข้มข้น สามารถใช้ได้กับหูดที่เป็นไม่มาก 

[Total: 0 Average: 0]