ลิ้นเป็นฝ้า (White Tongue)

ลิ้นเป็นฝ้า (White Tongue) คือ การมีสีขาวบนลิ้นของคุณ ทั้งลิ้นของคุณอาจเป็นสีขาวหรือเป็นแค่บางจุดเท่านั้น สิ่งนี้อาจดูน่ากลัวเมื่อส่องกระจก แต่มันไม่ได้สร้างอันตรายใดๆ

ลิ้นเป็นฝ้าขาวไม่ใช่ความผิดปกติที่น่ากังวลใจ แต่ก็สามารถเป็นสัญญาณบ่งบอกการติดเชื้อ และระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็งได้ หากฝ้าบนลิ้นไม่หายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ ควรรีบพบแพทย์

สาเหตุ ลิ้นเป็นฝ้า

ลิ้นเป็นฝ้าขาวเป็นผลมาจากเรื่องความสะอาดในช่องปาก รวมทั้งสามารถเกิดได้เมื่อลิ้นได้รับการกระแทกจนทำให้เกิดอาการอักเสบและบวม

แบคทีเรีย เชื้อรา สิ่งสกปรก อาหารและเซลล์ที่ตายแล้วจะติดอยู่ในซอกเซลล์เล็กๆ บนลิ้น เศษของสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ลิ้นของคุณเกิดเป็นฝ้าขาวได้

นี่คือสาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้าขาวที่ลิ้น:

  • การแปรงฟัน และการทำความสะอาดช่องปากไม่ดี
  • ปากแห้ง
  • หายใจทางปาก
  • การสูญเสียน้ำ
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ
  • การระคายเคือง เช่น จากคมฟัน หรือเครื่องมือทันตกรรม
  • มีไข้
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มแอลกอฮอล์

อาการ ลิ้นเป็นฝ้า

ผู้ป่วยสังเกตอาการลิ้นเป็นฝ้าได้ด้วยตนเอง บนผิวลิ้นจะปรากฏเป็นปื้นหรือรอยสีขาว อาจมีอาการเจ็บ หรือลักษณะอื่น ๆ ของลิ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

การรักษา ลิ้นเป็นฝ้า

ลิ้นเป็นฝ้าอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพราะอาการเหล่านี้มักจะหายไปได้เอง

ฝ้าสีขาวบนลิ้นสามารถกำจัดได้ด้วยการแปรงเบาๆ และขูดทั่วลิ้น  การดื่มน้ำมาก ๆ ก็สามารถช่วยล้างแบคทีเรีย และเศษต่างๆออกจากปากได้

การรักษาโดยทั่วไปขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้าขาวที่ลิ้น:

  • Leukoplakia สามารถหายได้เอง แต่อย่างไรก็ตามคุณควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ การเลิกสูบบุหรี่และหยุดดื่มแอลกอฮอล์ช่วยให้ฝ้าหายไปได้
  • ไลเคนพลานัสในช่องปากไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่หากอาการรุนแรง แพทย์จะฉีดสเตียรอยด์ หรือยาล้างปากที่ทำจากยาสเตียรอยด์ให้ผู้ป่วย
  • เชื้อราในช่องปากรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อรา ยามีหลายรูปแบบ เช่น เจลหรือของเหลว หรือยาอม
  • ซิฟิลิสรักษาได้ด้วยเพนิซิลลินเพียงครั้งเดียว ยาปฏิชีวนะนี้ฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดซิฟิลิส

เมื่อไรที่ควรพบทันตแพทย์

อาการลิ้นเป็นฝ้าไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ ยกเว้นว่าอาการนี้ไม่หายไปใน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์ทันที และควรไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • เจ็บลิ้นหรือแสบร้อนที่ลิ้น
  • มีแผลในช่องปาก
  • พบปัญหาในการเคี้ยวหรือพูดคุย
  • น้ำหนักลด หรือพบผื่นที่ผิวหนัง
[Total: 0 Average: 0]