การสูญเสียของเหลวจากร่างกายจนเป็นอันตราย มีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วย เสียเหงื่อ หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ
ภาวะขาดน้ำอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากโรคพื้นเดิม ตัวอย่างเช่น ความร้อน การทำกิจกรรมมากเกินไป การดื่มน้ำไม่พอ เหงื่อออก หรือผลข้างเคียงของยา
กระหายน้ำ เป็นสัญญาณหรืออาการแรก ๆ ที่ร่างกายแสดงออกเพื่อพยายามเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย ทารกและเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำได้มากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าหิวน้ำเมื่อไหร่ อาจพบอาการปากและลิ้นแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ผ้าอ้อมเปียกปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะมีสีเข้ม ตาโหล แก้มตอบ กระหม่อมบุ๋ม ง่วงซึม หงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว มือและเท้าเย็น เป็นต้น
ผู้ใหญ่จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปตามระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ และพบอาการอื่น ๆ ได้ ดังต่อไปนี้
อาการนี้เป็นอาการพื้นฐาน เลยเราจะทราบได้จากในปากของเราไม่มีน้ำลาย แม้ขณะที่ดื่มน้ำ ร่างกายเราอาจยังรู้สึกว่าน้ำไม่เพียงพออาการเหมือนดื่มน้ำไม่อิ่ม เมื่อร่างกายรู้สึกว่าดื่มพอแล้ว ก็ต่อเมื่อระดับของเหลวในร่างกายคืนสู่สภาวะปกติ
เป็นอาการต่อเนื่องจากอาการกระหายน้ำ จะรู้สึกว่าริมฝีปากแห้ง รู้สึกคอแห้ง การดื่มน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุภายในช่องปากและลำคอ ทำให้ริมฝีปากชุ่มชื้นไม่แห้ง
สังเกตได้จากการที่ผิวตามแขนหรือขา เมื่อสัมผัสไม่รู้สึกชุ่มชื้น ผิวสากๆ หรือ แลดูผิวแห้ง ควรหาน้ำดื่มให้เพียงพอกับร่างกาย บางกรณีเมื่อร่างกายมีการขาดน้ำเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ ผิวแตก ผิวแห้งกร้าน
เวลาร่างกายเราขาดน้ำท่อน้ำตาก็จะแห้งไปด้วย ส่งผลให้ตามีสีแดงก่ำ เนื่องจากเส้นเลือดฝอยในตาแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ ภาวะร่างกายการขาดน้ำจะส่งผลอันตรายมากกว่าคนปกติทั่วไป
เมื่อร่างกายขาดน้ำ ร่างกายก็จะไปยืมน้ำจากอวัยวะส่วนอื่นภายในร่างกาย เช่น เลือดในร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย การขาดออกซิเจน จะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ง่วงนอน และ ซึมตามมาได้ด้วย
หากร่างกายขาดน้ำจะทำให้เกิดปัญหาลุกลาม จนทำให้มีอาการท้องผูก ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ และ รับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีด้วย
ภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90 – 50 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งพบมากในผู้หญิงที่ร่างกายอ่อนแอ หรือผู้สูงอายุที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน และหากใครที่มีความดันโลหิตต่ำมากๆ จะส่งผลให้เลือดในร่างกายเกิดการไหลเวียนช้าลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายทำให้บริเวณหลอดเลือดเกิดการอุดตันขึ้น
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ และปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ และในกรณีอาการหนักอาจเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วยควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตรต่อวัน คำนวณอย่างไร… = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 2.2 = (?) × 30 ÷ 2 = ปริมมาณที่ควรดื่มในแต่ละวัน (มิลิลิตร)ยกตัวอย่าง เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม = (50 × 2.2 × 30)÷2 = 1,650 มิลลิลิตร
หากพบหรือสงสัยว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอาการป่วยหนักจากโรคอื่น ๆ มีอาการหรือเข้าข่ายของภาวะขาดน้ำ ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน
การรักษาด้วยตนเองการดื่มน้ำ ของเหลวทดแทนโดยการรับประทาน (Oral Rehydration Solution หรือ ORS) หรือเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อทดแทนของเหลวที่เสียไปอาจช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้ การพักในที่ร่มอาจช่วยได้เช่นกัน