โรคลมชักชนิดเหม่อ

โรคลมชักชนิดเหม่อ (Absence Epliepsy) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองชั่วคราว แพทย์ได้จัดหมวดหมู่และทำรักษาโรคลมชักตามประเภทของอาการชักที่เกิดขึ้น ซึ่งอาการของโรคลมชักชนิดนี้จะไม่มีอาการชักแต่จะเป็นอาการชักแบบ petit mal (เป็นอาการชักแบบเหม่อลอย มีการกระพริบตาถี่ หรืออาจจะมีการเลียริมฝีปาก)  เป็นช่วงสั้นๆ โดยปกติจะใช้เวลาน้อยกว่า 15 วินาที และแทบจะสังเกตอาการไม่พบ อย่างไรก็ตามการชักหมดสติแบบนี้ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถทำให้อาการชักเป็นอันตรายได้

สาเหตุของโรคลมชักชนิดเหม่อ

สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อน และร่างกายของเราต้องอาศัยสมองในการทำงานหลายอย่าง  เช่น รักษาการเต้นของหัวใจและการหายใจ เป็นต้น เซลล์ประสาทในสมองจะส่งสัญญาณไฟฟ้าและสัญญาณเคมีถึงกันเพื่อสื่อสารซึ่งกันและกัน  อาการชักอาจจะเกิดจากการทำงานของไฟฟ้าในสมองถูกรบกวน ซึ่งทำให้สัญญาณไฟฟ้าในสมองทำงานอย่างเดิมซ้ำๆ ทำให้เกิดอาการชัก คนที่เป็นโรคนี้ ระดับของสารสื่อประสาทอาจจะมีปัญหา ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้คือสารเคมีที่ช่วยให้เซลล์ในสมองสามารถสื่อสารถึงกันได้

นักวิจัยไม่ยังทราบสาเหตุที่เจาะจงต่อการเกิดอาการชัก ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นจากพันธุกรรมและอาจสามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ การเป็น Hyperventilation (การหายใจหอบลึก นานๆ จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด) หรือการส่งสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่องของเซลล์ในสมองอาจจะเป็นสาเหตุบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการชัก ซึ่งในขณะนี้แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุอย่างอื่นที่การทำให้เกิดอาการชักนี้

อาการของโรคลมชักชนิดเหม่อ

โรคลมชักแบบเหม่อลอยส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็กอายุตั้งแต่ 5- 9 ปี แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นกับในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เด็กที่เป็นโรคลมชัก(ลมบ้าหมู)อาจมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัวให้เห็นหรือไม่มีอาการชักให้เห็น หากมีอาการชักแสดงให้เห็น อาการจะเกิดนานและรุนแรงกว่าแบบไม่มีอาการ

อาการที่แสดงกำลังชักแบบเหม่อลอย สังเกตได้ดังนี้ :

  • จ้องมองออกไปในอากาศ
  • เม้มริมฝีปากเข้าหากัน
  • กระพริบตาถี่
  • การหยุดพูดกลางประโยคกระทันหัน
  • มือกระตุก
  • เอนตัวไปข้างหน้าหรือข้างหลัง
  • นิ่ง หยุดการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน

ผู้ใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเด็กที่กำลังชัก ไม่ได้เป็นอะไร แต่จะคิดไปว่าเด็กกำลังทำตัวแย่ ครูมักจะเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นว่าเด็กเป็นโรคลมชักชนิดนี้ ซึ่งเด็กจะมีอาการดูเหมือนว่ากำลังเหม่อ และไม่รู้ตัวไปชั่วขณะ

การรักษาโรคลมชักชนิดเหม่อ

การใช้ยาต้านอาการชักสามารถรักษาอาการชักได้ โดยแพทย์จะให้ยาต้านการชักตามความรุนแรงของอาการ ซึ่งแพทย์จะมีการปรับยาจากน้อยไปมากจนกระทั่งได้ปริมาณที่เหมาะสมกับอาการที่เกิดขึ้น

ตัวอย่างยาที่ใช้ในการรักษาอาการชักคือ:

  • ethosuximide (Zarontin)
  • ลาโมทริกซีน (Lamictal)
  • กรด valproic (Depakene, Stavzor)
[Total: 1 Average: 1]