โปรเจสเตอโรนในพลาสม่า (Plasma progesterone)

โปรเจสเตอโรนในพลาสม่า (Plasma  progesterone) เป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนของรังไข่ที่ผลิตจากคอร์ปัส  ลูเทียม (corpus   luteum) หรือฟอลลิเคิลในรังไข่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  มีช่องว่างและสะสมสารที่มีสีเหลือง  หลังจากไข่ตกแล้ว  ฮอร์โมนนี้จะช่วยให้มี การตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์แบบและรักษาครรภ์จนให้กำเนิดบุตรอย่างเรียบร้อย  หรือเป็น ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ผนังมดลูกคงอยู่ได้เพื่อเตรียมรับการฝังตัวของตัวอ่อน  ระดับของโปรเจสเตอโรนจะสูงขึ้นระหว่างวงกลางของระยะลูเทียม (Midluteal  phase) ของรอบประจำเดือน หากไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อน  ระดับโปรเจสเตอโรน  และเอสโตรเจน

ระหว่างการตั้งครรภ์  รกจะหลั่งโปรเจสเตอโรนออกมาประมาณ 10 เท่าของปกติในแต่ละเดือน  เพื่อให้มีการตั้งครรภ์คงไว้ โดยเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์  (First  trimester) และจนกระทั่งคลอด โปรเจสเตอโรนป้องกันการแท้โดย ลดการบีบตัวของมดลูก ทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะช่วยเตรียมเต้านมสำหรับการให้นมลูก

การตรวจวิเคราะห์ปริมาณของระดับโปรเจสเตอโรนในพลาสม่าด้วย Radioimmunassay และหาข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ของคอร์ปัสลูเทียมเพื่อศึกษาการเจริญพันธุ์และหน้าที่ของรกในระยะตั้งครรภ์  อย่างไรก็ตามโปรเจสเตอโรนสามารถตรวจวัดได้ในปัสสาวะ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อช่วยประเมินหน้าที่ของคอร์ปัสลูเทียมในการหาสาเหตุของการมีบุตรยาก
2.เพื่อประเมินหน้าที่ของรกระหว่างตั้งครรภ์
3.เพื่อช่วยประเมินการตกไข่ที่แน่นอนและช่วยสนับสนุนโดยการวัดอุณหภูมิของร่างกายประกอบกัน

ผลการตรวจที่เป็นปกติ

ระหว่างมีประจำเดือน
      ค่าปกติของโปรเจสเตอโรน มีดังนี้
1) ขั้นการเตรียมถุงในรังไข่     (Follicular  phase)    <    150              ng / dl
2) ขั้นภายหลังการตกไข่       (Luteal  phase)          =   300-1,200    ng / dl
ระหว่างการตั้งครรภ์
ค่าปกติของโปรเจสเตอโรน มีดังนี้
ไตรมาสที่ 1                              =             1,500-5,000      ng / dl
ไตรมาสที่ 2 และ 3                      =             8,00020,000     ng / dl
สตรีวัยหมดประจำเดือน            =             10-22                ng / dl

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

ค่าโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น   อางบ่งชี้ถึงการตกไข่ (Ovulation) โรคถุงน้ำในรังไข่ (Ovarian) ที่ผลิตโปรเจสเตอโรน  หรือกลุ่มอาการผิดปกติที่เกิดจากต่อมหมวกไต  และเนื้องอกต่อมหมวกไตที่ผลิตโปรเจสเตอโรนพร้อมกับฮอร์โมนสเตียรอยด์ตัวอื่น
ค่าโปรเจสเตอโรนต่ำร่วมกับประจำเดือนขาด  เนื่องจากสาเหตุหลายอย่าง  เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior  pituitary) มากกว่า 80 % (Panhypopituitarism) ต่อมเพศไม่ทำงาน (Gonadal  dysfunction) ภาวะที่มีการชัก   (Eclampsia)  การแท้คุกคาม (Threatened  abortion) ทารกในครรภ์เสียชีวิต (Fetal  death) เป็นต้น

[Total: 2 Average: 4.5]