อัลตราซาวด์ (Ultrasound)

การตรวจอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจทางการแพทย์ที่อาศัยคลื่นความถี่สูงเกินความสามารถที่หูมนุษย์จะได้ยิน (สูงกว่า 20,000 รอบต่อวินาที) ส่งคลื่นเสียงผ่านหัวตรวจไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ต้องการตรวจ เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อร่างกายต่างชนิดกันจะหักเหสะท้อนกลับมาสู่หัวตรวจต่างกันไปตามแต่ชนิดของเนื้อเยื่อ จากนั้นเครื่องอัลตราซาวด์จะนำคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับนี้แปลงเป็นภาพ 2 มิติ ซึ่งเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตามการเคลื่อนที่ของหัวตรวจในขณะนั้น และสามารถนำมาสร้างภาพเป็น 3 มิติ เหมื่อนการถ่ายรูป เช่น การดูทารกในครรภ์

วิธีการตรวจ อัลตราซาวด์ (Ultrasound)

การตรวจบางแห่งของร่างกายอาจจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าแล้วใส่เสื้อคลุมของทางโรงพยาบาลแทน ส่วนผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาระงับความรู้สึกช่วยให้ผ่อนคลายจะให้ผ่านทางสายน้ำเกลือที่บริเวณหลังมือหรือแขน รวมทั้งอาจได้รับการฉีดสารทึบรังสีซึ่งจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อร่างกายก่อนการตรวจ เพื่อให้ภาพอัลตราซาวด์ชัดเจนขึ้น

การอัลตราซาวด์ส่วนใหญ่ใช้เวลา 15-45 นาที ซึ่งมักจะทำโดยแผนกรังสีวิทยาโดยนักรังสีเทคนิคหรือแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เช่น พยาบาลผดุงครรภ์หรือนักกายภาพบำบัดที่ได้รับการฝึกให้สามารถใช้เครื่องอัลตราซาวด์ ซึ่งการสแกนอัลตราซาวด์ในแต่ละส่วนของร่างกายอาจมีวิธีแตกต่างกันไป ดังนี้

  • การตรวจอัลตราซาวด์ภายนอก วิธีการตรวจโดยวางหัวตรวจไปตามผิวหนัง ใช้บ่อยในการตรวจหัวใจหรือทารกที่อยู่ในครรภ์ นอกจากนี้ยังอาจใช้ตรวจตับ ไต และอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้องและเชิงกราน รวมถึงอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ๆ ก็ตามที่สามารถประเมินความผิดปกติผ่านผิวหนัง เช่น กล้ามเนื้อและข้อต่อ เป็นต้น การตรวจอัลตราซาวด์ภายนอกเริ่มด้วยการทาเจลหล่อลื่นลงบนผิวหนังเพื่อให้หัวตรวจเคลื่อนตัวได้อย่างลื่นไหล เจลนี้ยังช่วยให้แน่ใจได้ว่าหัวตรวจสัมผัสกับผิวหนังอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจึงวางหัวตรวจลงบนผิวหนังแล้วเลื่อนไปรอบ ๆ บริเวณที่ต้องการตรวจ ผู้ที่เข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์จะไม่รู้สึกอะไรนอกจากการสัมผัสได้ถึงตัวเซ็นเซอร์ของอุปกรณ์และเจลบนผิวหนังที่มักให้ความรู้สึกเย็น หากเป็นการตรวจครรภ์หรือตรวจเชิงกรานที่แพทย์มักให้ดื่มน้ำจนเต็มกระเพาะก็อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวขณะตรวจ แต่จะสามารถขับปัสสาวะออกได้เมื่อการตรวจเรียบร้อยแล้ว
  • การตรวจภายในด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ เป็นวิธีการตรวจที่จะช่วยให้แพทย์มองเห็นอวัยวะภายใน เช่น ต่อมลูกหมาก รังไข่ หรือครรภ์ในระยะใกล้ยิ่งขึ้น โดยการสอดอุปกรณ์อัลตราซาวด์เข้าไปทางช่องคลอดหรือทวารหนักระหว่างการตรวจชนิดนี้ คนไข้อาจนอนหงายหรือนอนตะแคงเข่าชันเข้าชิดหน้าอก หรือนอนบนขาหยั่ง จากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องอัลตราซาวด์สำหรับแหย่ขนาดเล็กที่ถูกทำให้ปลอดเชื้อแล้วใส่เข้าไปทางช่องคลอดหรือทวารหนักเบา ๆ เครื่องมือดังกล่าวจะถ่ายทอดภาพไปยังจอมอนิเตอร์ อย่างไรก็ดี การตรวจชนิดนี้อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว แต่ก็ไม่ได้ทำให้เจ็บปวดหรือใช้เวลานานแต่อย่างใด
  • การตรวจส่องกล้องติดอัลตราซาวด์ การตรวจชนิดนี้ หัวตรวจอัลตราซาวด์จะถูกติดไว้กับท่อบาง ๆ ที่มีความยืดหยุ่นส่งเข้าไปสู่ภายในร่างกาย โดยปกติมักใส่ทางปาก เพื่อตรวจดูร่างกายบริเวณต่าง ๆ เช่น ท้อง หรือหลอดอาหาร

แพทย์มักให้นอนตะแคงขณะใส่กล้องลงไปยังท้อง โดยกล้องนี้ประกอบด้วยแสงไฟและอุปกรณ์อัลตราซาวด์ที่ส่วนปลาย และสร้างภาพขึ้นด้วยวิธีเดียวกับการตรวจอัลตราซาวด์ภายนอก

อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ส่วนใดได้บ้าง

ก่อนสอดกล้อง ผู้ป่วยมักจะได้รับยาระงับความรู้สึกเพื่อให้อยู่ในความสงบและฉีดสเปรย์ยาชาเฉพาะส่วนที่ลำคอ เนื่องจากการตรวจวิธีนี้อาจทำให้ไม่สบายตัวหรือเกิดความรู้สึกระคายเคืองในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังอาจจำเป็นต้องใส่ฟันยางเพื่อให้อ้าปากค้างไว้ได้ และป้องกันฟันไม่ให้ไปกัดโดนอุปกรณ์ส่องกล้อง

  1. การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) เป็นการตรวจดูอวัยวะช่องท้องส่วนบน ได้แก่ ตับ, ตับอ่อน, ม้าม, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดี, ไต และช่องท้องทั่วๆ ไป ตลอดจนเส้นเลือดต่างๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ก้อนที่ผิดปกติ หรือถุงน้ำดี นิ่วที่ไตหรือถุงน้ำดี เป็นต้น การตรวจนี้ผู้ป่วยต้องงดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิดประมาณ 4-6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) เพราะถ้ารับประทานอาหาร ถุงน้ำดีจะหดตัว ทำให้เห็นถุงน้ำดีไม่ชัดเจน2. การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
  2. เป็นการตรวจดูอวัยวะของช่องท้องด้านล่าง(Ultrasound Lower Abdomen) ได้แก่ มดลูก, รังไข่ (ในหญิง), ต่อมลูกหมาก (ในชาย), กระเพาะปัสสาวะ, ไส้ติ่ง, และบริเวณช่องท้องส่วนล่างอื่นๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่, ก้อนเนื้อในมดลูก, ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น การตรวจช่องท้องส่วนล่างทำได้ 2 วิธีคือ
    1. การตรวจโดยใช้หัวตรวจ ตรวจบริเวณผิวหน้าท้อง การตรวจวิธีนี้ต้องตรวจขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร ทั้งนี้ เพราะปกติลมในลำไส้จะบังมดลูก และรังไข่ในหญิง หรือบังต่อมลูกหมากในชาย ทำให้ไม่สามารถเห็นภาพอวัยวะได้ชัดเจน เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีน้ำเต็ม ก็จะช่วยดันลำไส้ออกไป ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมากนิ่วใน กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
    2. ตรวจโดยใส่หัวตรวจผ่านไปยังช่องทางเฉพาะ เช่น ใส่หัวตรวจผ่านทางช่องคลอด วิธีนี้ไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะ นอกจากนี้ภาพที่ได้จะชัดเจนกว่า โดยเฉพาะการตรวจดูขนาด และปริมาณไข่สุกในรังไข่ แต่จะทำการตรวจแบบนี้ให้เฉพาะสตรีที่แต่งงานแล้วเท่านั้น
  3. การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Ultrasound KUB system) เป็นการตรวจดูระบบปัสสาวะ อันประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ได้แก่ ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่มีอาการของไตวาย สงสัยมีก้อนที่ไตจากการคลำ หรือจากการตรวจ IVP สงสัยมีนิ่วที่ไต หรือทางเดินปัสสาวะ สงสัยมีการฉีกขาดเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุ ความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ดูไตที่ได้รับการปลูกถ่าย ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะลำบาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตรวจต้องตรวจขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร เพื่อจะได้เห็นกระเพาะปัสสาวะอย่างชัดเจน
  4. การตรวจเต้านม (Ultrasound Breasts) เป็นการตรวจดูพยาธิสภาพของเต้านม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ก้อนที่ตรวจพบใน Mammogram หรือก้อนที่คลำได้เพื่อแยกว่าเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำดี
  5. การตรวจต่อมธัยรอยด์ (Ultrasound of thyroid) เป็นการตรวจเพื่อดูว่าก้อนในต่อมธัยรอยด์และในบริเวณใกล้เคียงที่คลำได้เป็นก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำดี การตรวจนี้สามารถตรวจได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวใดๆ
  6. การตรวจอื่นๆ นอกจากการตรวจต่างๆ ข้างต้นแล้ว อัลตราซาวด์ยังสามารถตรวจส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อีก เช่น การตรวจอัลตราซาวด์เส้นเลือด (Ultrasound Doppler) อัลตราซาวด์ศีรษะเด็กแรกเกิด ถึง 1 ขวบ อัลตราซาวด์ก้อนที่ผิดปกติ อัลตราซาวด์เพื่อเป็น Guide Aspiration Procedure เป็นต้น

ผลข้างเคียงจากการตรวจ อัลตราซาวด์ (Ultrasound)

คลื่นเสียงที่ใช้ในการอัลตราซาวด์นั้นไม่พบว่ามีอันตรายใด ๆ ต่างจากการตรวจซีทีสแกน ที่ผู้ป่วยต้องเผชิญกับรังสีเอกซเรย์ ทั้งนี้การอัลตราซาวด์ภายนอกและตรวจภายในด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ยังไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือความเจ็บปวด แม้จะรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อเครื่องมือแนบลงบนผิวหนังหรือถูกสอดเข้าสู่ร่างกายทางช่องคลอดหรือทวารหนัก

การตรวจอัลตราซาวด์ภายใน หากผู้ป่วยเคยมีอาการแพ้น้ำยางที่ใช้เคลือบหัวตรวจควรแจ้งให้แพทย์หรือผู้ที่ทำการตรวจทราบก่อน โดยจะสามารถเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่ไม่เคลือบด้วยน้ำยางชนิดนี้ได้

ส่วนการอัลตราซาวด์แบบส่องกล้องอาจทำให้ไม่สบายเนื้อสบายตัวหรือเกิดผลข้างเคียงชั่วคราวตามมา เช่น อาการเจ็บคอหรือท้องอืด และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอย่างการมีเลือดออกภายใน แต่พบได้ไม่บ่อย

[Total: 1 Average: 4]