กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน

โรค | สาเหตุ | อาการ | การรักษา


กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน คือ ภาวะที่มีอาการหายใจผิดปกติร่วม กับอาการแสดงทางกายหลายระบบ ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ โดยไม่มีความผิดปกติทาง กายแต่อย่างใด และเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจหอบและเจ็บหน้าอกอย่างฉับพลัน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นภาวะร้ายแรง ซึ่งมักจะพาผู้ป่วยไปตรวจที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล

โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 6 -10 ของคนทั่วไป พบได้ในคนทุกวัย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 7 เท่า พบมากในช่วงอายุ 15-55 ปี และพบว่าพ่อแม่ หรือบุตรของผู้ป่วยมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป โดยยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางกรรม-พันธุ์ โรคนี้อาจพบร่วมกับโรคแพนิก

สาเหตุ กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดพบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก (แทนกะบังลม และกล้ามเนื้อท้อง) ซึ่งทำให้การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ และมักมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ ที่สำคัญ ได้แก่ความเครียดทางจิตใจและอารมณ์ (เช่น ความกลัว วิตกกังวล โกรธ ขัดใจ น้อยใจ เสียใจ เป็นต้น) บาง ครั้งก็อาจถูกกระตุ้นด้วยอาการเจ็บปวดรุนแรง (เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบหายใจลึกหรือหายใจเร็ว ส่งผลให้ร่างกายขับก๊าชคาร์บอนได้ออกไซด์ออกมากเกิน เกิดภาวะเลือดเป็นด่าง (alkalosis) และภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดอาการผิดปกติของร่างกายหลายระบบพร้อม ๆ กัน

อาการ กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน

ในรายที่เป็นเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการระบาย ลมหายใจเกิน เช่น หายใจลึก หายใจถี่ หรือทั้งลึกและทั้งถี่ ซึ่งมักเกิดขึ้นทันทีหลังจากมีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจหรือมีความเครียดทางอารมณ์ บางรายอาจเกิดหลัง จากอาการเจ็บปวดรุนแรง

อาจบ่นปวดศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น เจ็บหน้าอก แน่นอึดอัดในหน้าอก ชารอบปาก ชาปลาย มือปลายเท้า หรือมีลมในท้อง ท้องอึดเฟ้อ อาจมีอาการร้องเอะอะโวยวาย ดิ้นไปมา สับสน ประสาทหลอน หรือนอนแน่นิ่งเหมือนเป็นลม บางรายมีอาการหลับตามิดและขมิบ หนังตาแน่น

ผู้ป่วยมักมีอาการมือและเท้าจีบเกร็งทั้ง 2 ข้าง คล้ายเป็นตะคริว ทั้งนี้เนื่องจากเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยา ลูกโซ่จากการระบายลมหายใจเกิน จึงเกิดอาการชักเกร็ง (tetany) หรือ carpopedal  spasm ของมือเท้า อาการเหล่านี้ อาจทุเลาได้เองถ้าผู้ป่วยสามารถ ควบคุมตังเองให้กลับมาหายใจแบบปกติ แต่ถ้ายังมีการ หายใจผิดปกติ อาการเหล่านี้ก็จะเป็นต่อเนื่อง อาจนานเป็นชั่วโมง ๆ ทำให้ญาติตกใจกลัว จนต้องรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

ในรายที่เป็นเรื้อรัง  มักไม่มีอาการหายใจผิดปกติ และมือเท้าจีบเกร็งให้เห็นเด่นชัด ผู้ป่วยมักบ่อว่ามีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก รู้สึกหายใจไม่อิ่มหรือแน่นอึดอัดในหน้าอก นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เวียนศีรษะ ศีรษะโหวง ๆ หรือรู้สึกโคลงเคลง ชาหรือ เสียว ๆ  บริเวณรอบปากหรือปลายมือปลายเท้า มีลมในท้อง คลื่นไส้  และมักมีอาการถอนหายใจหรือหาวบ่อย ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ มีความรู้สึกกลัวอย่างไม่มีเหตุผล มีปมด้อยขาดความอบอุ่นทางจิตใจหรือมีปัญหาในการปรับตัว

การป้องกัน กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน

1. ควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงสาเหตุและการปฏิบัติตัว เพื่อลดความวิตกกังวลและความเข้าใจ ผิดว่าเป็นโรคร้ายแรง และไม่ควรบอกว่า “ผู้ป่วยแกล้งทำ” หรือ“ไม่เป็นอะไร” อาจทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่พอใจและย้ายที่รักษาไปเรื่อย ๆ

2. ผู้ป่วยควรติดตามรักษากับแพทย์ตามนัดและ ควรฝึกวิธีหายใจด้วยท้อง ฝึกสมาธิออกกำลังกาย และ ฝึกวิธีผ่อนคลายความเครียด รวมทั้งรู้จักการดูแลตนเองเมื่อมีอาการกำเริบเฉียบพลัน เช่น หายใจในกรวยกระดาษ หรือหายใจในผ้าห่มที่คลุมโปง

3. เนื่องจากโรคนี้มักมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันและแสดงอาการประหลาด ๆ ที่คนทั่วไปหาเหตุผลอธิบายไม่ได้ คนบางกลุ่มจึงเชื่อว่าเกิดจาก “ผีเข้า” และพาผู้ป่วยไปรักษาทางไสยศาสตร์หรือทำพิธีกรรมตามความเชื่อแบบดั้งเดิม ซึ่งบางครั้งอาการก็อาจทุเลาได้ ทั้งนี้เนื่องจาก วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ป่วยหายเครียดและกลับมาหายใจ เป็นปกติ อย่างไรก็ตามก็ควรอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจในธรรมชาติของโรค และความหลีกเลี่ยงพิธีกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

4. อาการมือจีบเกร็ง อาจมีสาเหตุจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำเนื่องจากภาวะขาดพาราไทรอยด์ (hypoparathyroidism) ซึ่งอาจพบในผู้ป่วยที่มีประวัติการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (สังเกตเห็นรอบแผลผ่าตัดที่คอ) ในกรณีนี้แพทย์อาจให้ผู้ป่วยกินแคลเซียมหรือฮอล์โมนพาราไทรรอยด์ทดแทน

การรักษา กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน

1.ในรายที่มีอาการเฉียบพลัน มีอาการหายใจเกิน และมือเท้าจีบ  เมื่อชักถามอาการและตรวจร่างกาย แล้วแน่ใจว่าไม่ใช่เกิดจากสาเหตุทางกายก็ให้การรักษาโดยการพูดจาปลอบผู้ป่วยแนะนำให้ผู้ป่วยหายใจช้าลง หรือให้กินยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพม ขนาด 5 มก.เม็ด

ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนอง หรือกินยาไม่ได้ ให้ฉีดไดอะซีแพม 5-10 มก.เข้าหลอดเลือดดำช้า ๆ หรือให้ใช้กระดาษทำเป็นรูปกรวยมีรู 0.5 – 1 ซม.ตรงปลายกรวย (หรือใช้ถุงกระดาษเจาะรูตรงกลาง) ครอบปากและจมูกผู้ป่วยพอแน่นให้ผู้ป่วยหายใจภายในกรวยหรือถุงกระดาษ เพื่อสูดเอาก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะมีฤทธิ์เป็นกรด) เข้าไปแก้ภาวะเลือด เป็นด่าง ซึ่งจะแก้ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้มือเท้าหายจีบเกร็ง  และอาการต่างๆ ทุเลาได้ ปกติมักจะได้ผลภายใน 10 -15 นาที

ควรหลีกเลี่ยงวิธีให้ผู้ป่วยหายใจในกรวยหรือ ถุงกระดาษนี้ถ้าหากสงสัยมีสาเหตุจากโรคทางกาย (เช่น โรคหัวใจ โรคหืด เบาหวาน โลหิตจาง มีไข้ เป็นต้น) หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เช่น อายุมากกว่า 55 ปี หรือเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติสูบบุหรี่

ถ้าอาการดีขึ้น ควรให้ยากล่อมประสามไปกินต่อที่บ้าน ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหรือสงสัยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ

2.ในรายที่เป็นเรื้อรังถ้าทำการทดสอบแล้วมั่นใจว่าเป็นโรคนี้ ก็ให้ยาทางจิตประสาท ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจด้วยท้อง (เวลาหายใจท้องจะป่องเวลาหายใจออกท้องจะแฟบ) และฝึกให้รู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียดหากติดตามผลการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือสงสัยมีสาเหตุ จากโรคทางกาย ก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ

ในรายที่อาการไม่ชัดเจน หรือสงสัยมีสาเหตุจากโรคทางกาย แพทย์อาจต้องทำการตรวจคลื่นหัวใจเอกซเรย์ปอด และตรวจพิเศษอื่น ๆ 

ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้จริง ก็จะปรับเปลี่ยนยาทางจิตประสาทให้เหมาะสม และถ้าพบว่ามีโรคแพนิก ภาวะวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า ก็จะให้การรักษาพร้อมกันไปในบางรายอาจำเป็นต้องปรึกษาจิตแพทย์


[Total: 12 Average: 5]