ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน

ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน คือ โรคที่พบในทารกแรกเกิดที่ติดเชื้อหนองใน (gonococcus) จากช่องคลอดของมารดาขณะที่คลอด

อาการ ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน

หลังคลอดได้ 1 - 4 วัน ทารกจะมีอาการตาอักเสบหนังตาบวมแดง ลืมตาไม่ได้ และมีขี้ตาแฉะลักษณะ เป็นหนองสีเหลืองหรือสีเขียว

ข้อแนะนำ ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน

ถ้าพบทารกแรกเกิด มีอาการตาบวมตาแฉะซึ่ง เกิดขึ้นภายใน 4 วันแรกหลังคลอด ควรนึกถึงการติด เชื้อหนองในและควรส่งโรงพยาบาลทุกราย

  1. ทารกหลังคลอดทุกราย ควรใช้ยาหยอดตา เช่น ซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ชนิด 1% หรือยาป้ายตาเตตราไซคลีน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้
  2. ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นหนองในขณะคลอด ควรป้องกันโดยการฉีดเซฟทริอะโชนในขนาดเดียวกับที่ใช้รักษา

การรักษา ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน

 หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน อาจต้องนำหนองที่ตาไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะพบเชื้อหนองใน (Neisseria gonorrheae)

การรักษา แพทย์จะให้การรักษาด้วยการฉีดเซฟทริอะโซน (ceftriaxone) เข้ากล้ามในขนาด 50 มก./กก (เต็มที่ไม่เกิน 125 มก.) ครั้งเดียว และล้างตาด้วยน้ำเกลือ หรือยาล้างตาทุกชั่วโมง จนกว่าหนองจะแห้ง ยานี้ควรให้ด้วยความระมัดระวังในทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการตัวเหลือง (ดีซ่าน)

[Total: 1 Average: 5]