การรักษา ตาได้รับบาดเจ็บรุนแรง

  1. ถ้าพบว่ามีของเหลวไหลออกจากลูกตา ซึ่งสงสัย ว่ากระจกตาหรือตาขาวทะลุ ควรใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดปิดตาแล้วส่งโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด่วน แพทย์จะให้การรักษาตามลักษณะและความรุนแรงของบาดแผล ถ้ารูไม่ใหญ่และยังไม่มีการติดเชื้อ (ได้รับบาดเจ็บนานไม่เกิน 6 ชั่วโมง) ก็อาจทำการเย็บซ่อนแซม หรือลักษณะบาดแผลยังมีทางแก้ไขให้สามารถ มองเห็นได้ ก็จะทำการซ่อมแซมดวงตาและตามผล อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเห็นว่าดวงตามีความเสียหายรุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขให้มองเห็นได้ ก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัด ควักลูกตาออก หรืออาจต้องให้ยาเกิดภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เพร็ดนิโซโลนโดยให้ผู้ป่วยกินในขนาดสูง เพื่อป้องกัน การอักเสบของผนังลูกตาชั้นกลาง (uveitis) ของตาข้าง ที่ไม่ได้รับบาดเจ็บอีกข้างตามมา ซึ่งเรียกว่า ตาอักเสบรุนแรงแบบเป็นร่วม (sympathetic ophthalmia)* ทำให้อาจต้องสูญเสียตา 2 ข้าง 
  2. ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง หรือตามืดมัวลงทันที หลังได้รับบาดเจ็บ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าสงสัยมี แผลกระจกตา ควรใช้ยาป้ายตาปฏิชีวนะ  เช่นโทบราไมซิน แล้วใช้ผ้าก๊อชปิดตาก่อนส่งโรงพยาบาล
  3. ในรายที่มีเลือดออกในช่องลูกตาหน้า ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว เวลาใช้ไฟส่องจะเห็นบริเวณหลังกระจกตามีลักษณะขุ่น หรือมีตะกอนเม็ดเลือดแดงลอยมาอยู่ ในน้ำเลี้ยงลูกตาในช่องลูกตาหน้า อาการเลือดออกอาจ เกิดขึ้นทันทีหรือหลังได้รับแรงกระแทรก 2-5 วันก็ได้อาการดังกล่าวเรียกว่า “Hyphema”

หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีเลือด ออกมากควรให้นอนพักในโรงพยาบาล ทำการปิดตาให้ นอนพักบนเตียงเป็นเวลา 6-7 เพื่อรอให้เลือดค่อยๆ ดูดซึมออกไป

ถ้ามีอาการปวดตามาก หรือความดันลูกตาสูงควรให้อะเซตาโซลาไมด์ (เช่น ไดอะม็อกซ์) ลดความดันลูกตา เพื่อป้องกันมิให้กลายเป็นต้อหิน ถ้าจำเป็น อาจต้องผ่าตัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้เป็นต้อหินตามมาได้

[Total: 0 Average: 0]