การรักษา หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

  1. แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากขึ้น อย่าตรากตรำงานหนัก ควรดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ (วันละ 10-15 แก้ว) เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น  งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองหรือสิ่งกระตุ้นให้ไอ (เช่น ความเย็น น้ำเย็น น้ำแข็ง ของทอด ของมัน ๆ ฝุ่น ควัน อากาศเสีย ลมจากพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น)
  2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาระวับการไอ หรือยาขับเสมหะ ยาลดไข้ ถ้าไอมีเสมหะข้นเหนียว ควรหลีกเลี่ยงยาระงับการไอและยาแก้แพ้ อาจทำให้เสมหะเหนียว ขับออกยาก หรืออุดกั้นหลอดลมเล็ก ทำให้ปอดบางส่วน แฟบได้
  3. ถ้าทีเสียงวี้ดร่วมด้วยให้ยากระตุ้นบีตา 2 สูดหรือกิน
  4. ยาปฏิชีวนะ ถ้าไม่มีโรคประจำตัวและมีเสมหะขาว (อาจเกิดจากไวรัสหรือการระคายเคือง) ไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ จะให้เฉพาะในรายที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง  หืด หรือหลอดลมพอง ร่วมด้วย หรือมีเสมหะเหลืองหรือเขียวเกิน 7 วัน ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้ เช่น อะม็อกชีซิลลิน 
    อีริโทรไมซิน ร็อกซิโทรไมชิน ดอกชีไชคลีน หรือ โคไตรม็อกซาโซล นาน 7-10 วัน
  5.  ถ้าเสมหะยังเป็นสีเหลืองหรือเขียวหลังให้ยาปฏิชีวนะ 1 สัปดาห์ ยังรู้สึกหอบเหนื่อยหลังให้ยาขยายหลอดลม 3 วัน สงสัยปอดอักเสบแทรกซ้อน (ไข้สูงหายใจหอบ) มีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์  น้ำหนักลด ไอออกเป็นเลือด  หรือมีอาการกำเริบมากกว่า 3 ครั้ง/ปี ควรส่งโรงพยาบาล
    อาจต้องเอกชเรย์ปอด ตรวจเสมหะ บางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่งตรวจหลอดลม (bronchoscopy) และให้การรักษาตามสาเหตุ

ถ้าพบว่ามีสาเหตุจากโรคกรดไหลย้อน ก็ให้ยาลดการสร้างกรด และแนะนำการปฏิบัติตัวต่าง ๆ ผลการรักษา  ส่วนใหญ่มักจะหายได้โดยการรักษาตามอาการ ส่วนน้อยที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และน้อยรายที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมา

[Total: 0 Average: 0]