5 พฤติกรรมที่ทำให้การมองเห็นมีปัญหา

ดวงตาเราถือเป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ ซึ่งเราก็ควรที่จะดูแลดวงตาของเราให้ดี แต่เชื่อว่าบางครั้ง หลายๆ คนก็เผลอทำพฤติกรรมทำร้ายดวงตาโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะคิดว่า เรื่องเล็กๆ แค่นี้เอง! วันนี้ Paris Miki เลยรวม 5 พฤติกรรมที่ทำให้การมองเห็นของคุณมีปัญหา รู้ไว้จะได้ระวังตัวเอง ใครที่อยากรู้แล้ว ก็ตามไปดูกันได้เลยครับ

เชื่อเลยว่าสิ่งนี้เป็นพฤติกรรมที่เกือบทุกคนทำซึ่งไม่ควรทำเลยอย่างยิ่ง เพราะการขยี้ตาอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตาเข้าไปลึกขึ้น และทำให้กระจกตามีรอยขีดข่วนหรือถลอกได้ จนทำให้เกิดอาการตาแดง เคืองตา และตาไวต่อแสง แถมการขยี้ตาแรงๆ ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้เส้นใย
คอลลาเจนในกระจกตาฉีกขาด ทำให้กระจกตาของเราบางลง

การใส่คอนแทคเลนส์ มักจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง และอักเสบได้ง่ายอยู่แล้ว แต่ถ้าหากไม่ดูแลรักษาความสะอาดให้ดี อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ กระจกตาเป็นแผลอักเสบ ถึงขั้นสูญเสียดวงตาได้ เพราะฉะนั้นใครที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ จะต้องดูแลรักษาความสะอาด เปลี่ยนน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ทุกวัน หรือเลือกแบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ เช่น รายวัน หรือรายปี และควรเปลี่ยนมาใส่แว่นแทนบ้าง

การใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไปเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางสายตาได้แก่ โรคสายตาสั้นเทียม โรคตาแห้ง โรคจอประสาทตาเสื่อม และโรค CVS ซึ่งเราสามารป้องกันได้หลายวิธี เช่น การใส่แว่นที่สามารถกรองแสงสีน้ำเงินได้ การใช้กฎ 20-20-20 คือการที่ต้องพักสายตาทุกๆ 20 นาที
พักสายตาครั้งละ 20 วินาที และมองสิ่งที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต หรือใช้การฝึกกล้ามเนื้อตา เพื่อลดอาการตาล้า หรือปวดตาได้

แดดธรรมดาๆ ทำร้ายดวงตามากกว่าที่คิด! ปริมาณแสง UVA UVB
ที่มากเกินไป อาจทำให้เสี่ยง โรคตาอย่าง ต้อกระจก ต้อลม หรือต้อเนื้อ แบบไม่ทันระวังตัว และยังอาจทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลันของกระจกตาอีกด้วย

การใส่แว่นกันแดดก็เหมือนใส่เกราะป้องกันรังสี UVA UVB แถมยังช่วยปกป้องดวงตาจากฝุ่นควัน ลม และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ อีกด้วย

การตรวจสุขภาพสายตาถือเป็นสิ่งสำคัญ พอๆ กับการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะบางครั้งปัญหา หรือภาวะเสี่ยงของโรคทางสายตาก็จะมาแบบแอบๆ ไม่แสดงอาการ ถ้าตรวจตาเป็นประจำก็อาจพบได้แต่เนิ่นๆ ดวงตาคู่นี่ก็ปลอดภัย อยู่ด้วยกันไปอีกนาน

[Total: 1 Average: 5]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading