COVID-19: ยาตัวไหนบ้างสามารถทานได้หลังจากฉีดวัคซีน (Moderna)

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

สถานการณ์ตอนนี้ หลายคนได้เริ่มทยอยฉีดวัคซีนกันเรียบร้อยแล้ว💉 บางคนเตรียมพร้อมมาอย่างดี
ศึกษาข้อมูลเรื่องวัคซีนมากมาย แต่สำหรับบางคนอาจจะไม่มีเวลา และรู้ข้อมูลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อีกทั้งบางคนยังไม่ทราบเรื่องการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน โดยเฉพาะเรื่องยาต่างๆ ที่ทานได้และทานไม่ได้

บ้างก็ว่ายาชนิดนี้กินได้ ยาชนิดนั้นห้ามกิน ผู้คนนำข่าวมาวิเคราะห์ถกเถียงกันเป็นอย่างวงกว้าง แต่ภายหลังสถาบันที่เกี่ยวกับการแพทย์ของโรคนั้นๆ 👩‍⚕️ก็ออกมาชี้แจงว่า ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเอง และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ทางโรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์ ขอรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาประเภทต่างๆ ไว้ เพื่อสร้างความเข้าใจและความถูกต้อง ยาที่สามารถทานได้หลังฉีดวัคซีน Moderna ได้แก่

🔵ยาแก้ปวด ยาพาราเซตามอล
หลังฉีดวัคซีน ถ้ามีไข้สามารถกินยาพาราเซตามอลได้ตามขนาดน้ำหนักตัว 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (500 มิลลิกรัม/ 50 กิโลกรัม) ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ห้ามรับประทานยาจำพวก Brufen , Arcoxia และ Celebrex เด็ดขาด
🔵ยาไมเกรน
สำหรับผู้ป่วยไมเกรน สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ‘ไม่จำเป็นต้องหยุดยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน’ ซึ่งรวมถึงยากลุ่มเอ็นเสด หรือยากลุ่มอื่นๆ ที่กินอยู่เป็นประจำ (เพราะมีการแชร์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับยารักษาโรคนี้ในสังคมออนไลน์)
🔵ยาคลายกล้ามเนื้อ
ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น มายโดคาล์ม, นอร์จีสิก สามารถรับประทานได้
🔵ยาลดน้ำมูก แก้คัดจมูก
เพราะยาลดน้ำมูก ยาแก้หวัดคัดจมูก กลุ่มที่มีฤทธิ์ทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Sympathomimetic) เช่น Pseudoephedrine มีผลทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวได้ ดังนั้น จึงมีคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้ในวันที่ฉีดวัคซีน และ 14 วัน หลังจากนั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับประทานอยู่เป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อน
🔵ยาแก้แพ้
คนที่เป็นภูมิแพ้และใช้ยาต้านฮิสตามีน หรือยาแก้แพ้ มาอย่างต่อเนื่อง สามารถกินยาได้ตามปกติ ไม่ควรลดหรือหยุดยาก่อนมาฉีดวัคซีน เพราะอาจทำให้โรคกำเริบและมีอาการคล้ายแพ้วัคซีนได้

แต่ถ้าไม่ได้เป็นคนใช้ยาฮิสตามีนอย่างต่อเนื่อง ไม่แนะนำให้กินยาก่อนฉีดวัคซีนโควิด เพื่อป้องกันการแพ้วัคซีน เพราะไม่สามารถป้องกันอาการแพ้รุนแรงได้ และอาจบดบังอาการแพ้ทางผิวหนังที่เกิดขึ้น

CR. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

[Total: 1 Average: 5]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading