ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป (Hyperthermia)

Hyperthermia คือ ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป สภาวะร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนในของร่างกายให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมได้

ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ คือ ลักษณะที่อุณหภูมิร่างกายลดลงจนถึงระดับต่ำอย่างเป็นอันตราย ซึ่งปัญหาของอุณหภูมิร่างกายในลักษณะตรงข้ามนั้น ก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน เรียกว่า ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป

ความหมายของร่างกายเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป คือ เมื่อมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 °C เพราะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติคือต่ำกว่า 35 °C อุณหภูมิของร่างกายโดยเฉลี่ยคือ 37 ° C

สาเหตุ ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป

ผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด หรือสัมผัสกับความร้อนเป็นเวลานาน ๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป

คนงานก่อสร้าง เกษตรกร และผู้ที่ต้องอยู่ในความร้อนเป็นเวลานาน ๆ ควรระมัดระวังตนเองเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป รวมทั้งอาชีพนักดับเพลิง และผู้ทีงานใกล้เตาอบ หรือทำงานในอาคารที่ระบบปรับอากาศทำงานไม่ดี

ภาวะสุขภาพที่มีปัญหา อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปได้ ยารักษาโรคหัวใจ และความดันโลหิตบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะจะลดความสามารถในการขับเหงื่อ การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ จะทำให้การควบคุมความดันโลหิตสูงในภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปทำได้ยากขึ้น

เด็ก และผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสูง เด็ก ๆ มักชอบเล่นกลางแจ้ง โดยไม่รู้จักพัก หรือดื่มน้ำเลย ผู้สูงอายุมักไม่ค่อยรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ พวกเขาจึงไม่สามารถตอบสนองต่ออาการที่ร้อนได้ทัน ยิ่งในบ้านไม่มีอุปกรณ์ปรับอากาศเลยก็ยิ่งเสี่ยงจะเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปได้ง่ายขึ้น

อาการ ภาวะอุณหภูมิสูงเกินไป

ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปเกิดได้หลายอาการ เกิดจากการปรับตัวของภาวะร่างกายกับกิจกรรมต่าง และสภาพแวดล้อม ได้แก่:

  • ภาวะความเครียดจากความร้อน: กรณีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นแต่กลับไม่มีเหงื่อออก แสดงถึงอาการความเครียดจากความร้อน ภาวะความเครียดจากความร้อนจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อย่างอาการอ่อนเพลียจากความร้อน และโรคลมแดด

นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ได้แก่:

  • วิงเวียนศีรษะ
  • อ่อนเพลียไม่มีแรง
  • คลื่นไส้
  • กระหายน้ำ
  • ปวดหัว

หากสงสัยว่า เกิดภาวะอาการเครียดจากความร้อนให้ไปพักในบริเวณที่อากาศเย็นสบาย ดื่มน้ำ หรือของเหลวที่มีเกลือแร่เพื่อคืนความชุ่มชื้น เกลือแร่ เป็นสารที่มีอยู่แล้วในร่างกาย อย่างแคลเซียม โซเดียม และโพแทสเซียม ที่ช่วยลดอาการขาดน้ำ ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของประสาท และความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ แต่หากอาการแย่ลงให้รีบไปพบแพทย์

  • โรคเพลียความร้อน: การเผชิญความร้อนสูงเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และเกิดความเครียด แสดงว่ากำลังเผชิญกับความเหนื่อยล้าจากความร้อน ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อน ๆ หรือสภาพการทำงานที่ร้อนจัดจะเสี่ยงต่อโรคเพลียความร้อนเป็นพิเศษ

นอกเหนือจากรู้สึกร้อน กระหายน้ำ และเหนื่อยล้า แล้วอาจประสบปัญหากับการรวบรวมสมาธิเพื่อการทำงานได้ กรณีพบอาการควรหาทางปรับร่างกายและจิตใจให้เย็นลงด้วยของเหลว

การพยายามปรับตัวให้เข้ากับสภาพอาการที่ร้อนจะช่วยป้องกันโรคเพลียความร้อนได้ในที่สุด

  • เป็นลมแดด: การเป็นลม หมดสติ ที่เกิดขึ้นเมื่อความดันเลือดลดลง หรือการไหลเวียนของเลือดไปสมองลดลงชั่วคราว

เป็นแนวโน้มที่เกิดเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนนาน ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ยาประเภท beta-blocker เพื่อลดความดันโลหิตก็จะยิ่งเสี่ยงที่จะเป็นลมแดดมากขึ้น

การเป็นลมแดดมักมีอาการวิงเวียนหรือเวียนศีรษะ หากรู้สึกคล้ายจะเป็นลม ให้หาทางผ่อนคลายและทำตัวให้เย็นลงเพื่อป้องกันไม่ให้หมดสติ โดยนอนราบแล้วยกขาขึ้น

เช่นเดียวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อนอื่น ๆ การดื่มน้ำคือสิ่งสำคัญ หรือของเหลวทุกชนิด ยิ่งเป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา หรือเกลือแร่ก็จะยิ่งดี

  • ตะคริวจากความร้อน: ตะคริวจากความร้อนเป็นอาการปวดแสบปวดร้อนที่เกิดเมื่อใช้แรงมาก ๆ หรือการออกกำลังกายอย่างหนักในอากาศที่ร้อน โดยปกติเป็นอาการที่เกิดจากความไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย โดยจะเกิดอาการบริเวณหน้าท้อง ขา หรือกล้ามเนื้อแขน อาการนี้สามารถบรรเทาได้ด้วยการนอนพักในที่เย็น และดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่เสียไปในขณะที่เหงื่อออก
  • บวมจากความร้อน: อาการบวมจะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณร้อน ๆ เป็นเวลานาน ๆ หรือในผู้ที่ไม่คุ้นกับอุณหภูมิที่ร้อน โดยมีการบวมที่มือ ขาส่วนล่าง หรือข้อเท้า เกิดจากการสะสมของของเหลวบริเวณแขนขาของคุณ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองเกี่ยวกับการดูดซึมโซเดียมเข้าสู่เลือดผ่านทางไต ที่กระตุ้นโดย Aaldosterone

โดยปกติอาการบวมนี้จะหายไปเองเมื่อผู็ป่วยเกิดความคุ้นเคยต่อสภาพแวดล้อม หรือทำการระบายความร้อน หรือยกเท้าให้สูงขึ้น และเติมน้ำและเกลือแร่ให้ร่างกาย

  • ผดร้อน: บางครั้งการอยู่ในที่ร้อน ๆ เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดตุ่มแดงคล้ายสิวขึ้นบนผิวหนัง มักเกิดเมื่อเสื้อผ้าเปียกชุ่มไปด้วยเหงื่อ ผดร้อนหายเองได้ เมื่อตัวเย็นลงหรือทำการเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่หากติดเชื้อ ก็อาจทำให้ผดเกิดได้นานขึ้น

เมื่อเหงื่อไม่สามารถขับออกมาได้ จะเกิดอาการดังนี้:

  • วิงเวียนศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • กระหายน้ำ
  • การทำงานของร่างกายส่วนต่าง ๆ เกิดปัญหา
  • ไม่มีสมาธิ
  • ผิวหนังเย็นและชื้น
  • ชีพจรเต้นเร็ว

นับเป็นอาการสุดท้ายก่อนเกิดฮีทสโตรก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยจะต้องพักผ่อน และดื่มน้ำทันทีที่รู้สึกว่าร่างกายผิดปกติ และหากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ทันที

การรักษา ภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป

แม้ว่าภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปจะหายได้เมื่อพักให้คลายร้อนและดื่มน้ำ แต่ก็อาจมีอาการที่รุนแรงจนต้องไปพบแพทย์ ซึ่งต้องพิจารณาเมื่อเกิดอาการดังต่อไปนี้:

อาการที่ร้ายแรงที่สุดของภาวะอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป คือ ช่วงที่อุณหภูมิร่างกายสูงจนถึงแก่ชีวิตได้ เกิดเมื่ออาการต่าง ๆ ที่เกิดจากความร้อนอย่างลมแดดไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ระดับความร้อนที่เป็นอันตรายคือ เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงกว่า  40° C  ทำให้เป็นลมหมดสติ

อาจมีอาการอื่น ๆ เป็นสัญญาณร่วมด้วยได้แก่ :

  • ฉุนเฉียว โกรธง่าย
  • ความสับสน มึนงง
  • การประสานงานระหว่างอวัยวะส่วนต่าง ๆ มีปัญหา
  • ผดแดง
  • เหงื่อไม่ออก
  • ชีพจรเต็นอ่อนหรือเร็วผิดปกติ

เมื่อเกิดสัญญาณเหล่านี้ให้ผู้ป่วยรีบแก้ไขอาการ ดังนี้:

  • พยายามไปยังบริเวณที่มีอากาศเย็น หรือบริเวณที่มีเครื่องปรับอากาศ
  • ดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่
  • อาบน้ำเย็น หรือรดน้ำเพื่อช่วยเร่งการฟื้นตัว
  • วางถุงน้ำแข็งไว้ใต้แขน และบริเวณขาหนีบ

หากอาการยังไม่ดีขึ้น เมื่อพยายามแก้ไขอาการแล้ว ให้รีบติดต่อแพทย์ทันที

[Total: 0 Average: 0]